อิจญ์มาอ์ห้ามล้มผู้นำชั่วเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องหรือ ? (ตอนที่ 1)

บทความโดย ดร.อะหมัด มุฮัมมัด อัศศอดิก อันนัจญาร อิจญ์มาอ์ที่รายงานเกี่ยวกับการห้ามล้มผู้นำชั่วถือเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ ? (ตอนที่ 1) เริ่มแรกเราต้องพิจารณาก่อน ว่าใครเป็นผู้รายงานอิจญ์มาอ์นี้ แล้วพวกเขารายงานมันไว้ที่ไหน ? ส่วนหนึ่งของผู้ที่รายงานอิจญ์มาอ์ดังกล่าว ได้แก่ อัลอัษรอม ได้อ้างว่าเรื่องนี้มีตัวบทรายงานเอาไว้อย่างต่อเนื่องมากมาย ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ “นาซิคุลหะดีษ วะมันซูคุฮู” ว่า “หลังจากนั้น หะดีษต่าง ๆ จากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้มีรายงานเอาไว้อย่างต่อเนื่อง มีรายงานอย่างมากมายจากท่าน จากเศาะฮาบะฮ์ และจากอะอิมมะฮ์ (บรรดานักวิชาการเบอร์ต้น ๆ — ผู้แปล) ภายหลังจากบรรดาเศาะฮาบะฮ์ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ที่พวกเขาสั่งให้งดเว้น, พวกเขารังเกียจการล้มผู้นำ, พวกเขาถือว่าผู้ที่ค้านพวกเขาได้แยกตัวออกจากญะมาอะฮ์ ได้ถือแนวทางของพวกฮะรูรียะฮ์ (คือ พวกเคาะวาริจญ์ — ผู้แปล) และได้ละทิ้งซุนนะฮ์” อิบนุตัยมิยะฮ์ ได้อ้างถึงไว้ว่านี่คือ “แนวทางของอะฮ์ลุลหะดีษ” หากอะอิมมะฮ์เหล่านี้เป็นผู้รายงานอิจญ์มาอ์ และตัดสินบรรดาผู้ที่คัดค้านว่าเป็นพวกบิดอะฮ์ อย่างการตัดสินแบบมุฏลัก (คือ ข้อตัดสินทั่วไป ไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล — ผู้แปล) […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

18/02/2567

บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: การทำลายความน่าเชื่อถือตำราสะลัฟ EP.03

จากที่เราได้ยกหนังสือมะซาอิลของอิมามฮัรบ์เพื่อแสดงให้เห็นว่า มีการรายงานอิจมาอ์เรื่อง “ห้ามล้มผู้นำมุสลิม” มาจากอิมามอะฮ์หมัด แต่ อ.อิบรอเฮม สือแม นั้น ได้เสนอตั้งแต่แรกแล้วว่า เรื่องห้ามล้มผู้นำไม่ใช่อิจมาอ์ จึงต้องทำการปฏิเสธอิจมาอ์จากหนังสือเล่มนี้ โดยพยายามบอกว่า หนังสือมะซาอิลฮัรบ์นั้นขาดความน่าเชื่อถือ (ที่จริงหนังสือสะลัฟเล่มอื่นก็มีอิจมาอ์เรื่องนี้) เมื่ออยากจะบอกว่าหนังสือมะซาอิลฮัรบ์นั้นขาดความน่าเชื่อถือ แต่จะทำอย่างไรดีล่ะ ในเมื่อมีอุละมาอ์อย่างอิบนุก็อยยิม ได้นำเนื้อหาในหนังสือมะซาอิลฮัรบ์มาใส่ไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อ “ฮาดี อัลอัรวาห์” บทว่าด้วยอะกีดะฮ์และอิจมาอ์ บ่งชี้ว่าอิบนุก็อยยิม ได้อ่านและรับรองหนังสือมะซาอิลฮัรบ์ โดยเฉพาะเรื่องอิจมาอ์ แต่เผอิญว่ามีหนังสือที่คล้ายกันอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งอ้างไปยังอิมามอะฮ์หมัดเหมือนกันนั่นคือหนังสือริซาละฮ์ของเชคอัลอิศฏ็อครีย์ ทว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อผิดพลาดจนถูกวิจารณ์ว่า “ขาดความน่าเชื่อถือ” ดังนี้แล้ว เมื่อ อ.อิบรอเฮม ต้องการให้หนังสือมะซาอิลฮัรบ์นั้นขาดความน่าเชื่อถือ จึงพยายามทำให้หนังสือมะซาอิลฮัรบ์นั้นมีราคาเท่ากับ หนังสืออัลอิศฏ็อครีย์ที่ขาดความน่าเชื่อถือจริงๆ ดังข้ออ้างต่อไปนี้ ข้ออ้างที่ 1   “..ทุกคำทุกประเด็นที่มีอยู่ในหนังสือเชคอัลอิศฏ็อครีย์นั้น คือ คำเดียวกันที่มีอยู่ในหนังสือของอิมามฮัรบ์..” (ภาพ 1) ชี้แจงข้ออ้างที่ 1 อ.อิบรอเฮม ใช้คำว่า “ทุกคำ ทุกประเด็น” เพื่อพยายามจะบอกว่าหนังสือ 2 เล่มนี้ก็ไม่ต่างกันหรอก ฉะนั้นถ้าริซาละฮ์อิศฏ็อครีย์ถูกพิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือไม่ได้ มะซาอิลฮัรบ์ก็ย่อมเชื่อถือไม่ได้เช่นกัน ต่อให้อิบนุก็อยยิมรายงานอิจมาอ์มาจากมะซาอิลฮัรบ์ก็รับไม่ได้ […]

Jim Yama

12/08/2561

บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: การทำลายความน่าเชื่อถือตำราสะลัฟ EP.02

สำหรับพี่น้องที่อยากรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น (ไม่ว่าฝ่ายไหน) ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กัน เนื่องจาก อ.อิบรอเฮม สือแม นั้น ได้ดิสเครดิตตำราสะลัฟ ที่เราได้เสนอว่ามีอิจมาอ์ห้ามล้มผู้นำมุสลิม (จริงๆ แล้วเล่มอื่นก็มีแทบทุกเล่ม) เราจึงได้ชี้แจงว่าการดิสเครดิตแบบนี้ไม่ถูกต้องตามลิ้งนี้ (โปรดอ่าน บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: การทำลายความน่าเชื่อถือตำราสะลัฟ EP.01) แล้วก็ได้ถามคำถามสำคัญไป 5 คำถามด้วยกัน ปรากฏว่า อ.อิบรอเฮม ไม่ได้ตอบคำถามแย้งมาเลย แต่ที่แย้งมาคือ การโชว์พลังตรวจสอบสายรายงาน โดยได้ลากสิ่งต่างๆ มากล่าวอย่างมากมาย เพื่อที่จะให้ได้ข้อสรุปว่าหนังสือขาดความน่าเชื่อถือ!!! สิ่งที่ อ.อิบรอเฮม ได้ทำไปนั้นเปรียบได้กับการตรวจสอบ ตัครีจฮะดีษ 1 ต้น โดยได้ลากสิ่งต่างๆ มากล่าวอย่างมากมาย เพื่อที่จะให้ได้ข้อสรุปว่าฮะดีษต้นนี้ฎออีฟ แต่ผู้ที่เชี่ยวชาญในการตรวจโดยตรงกลับสรุปสถานะของฮะดีษบทนี้ว่าเชื่อถือได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่ามีกระแสรายงานอื่นอีกที่จะไปเลื่อนขั้นฮะดีษนี้ให้อยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ ..โปรดฟังอีกครั้ง “ผู้ที่เชี่ยวชาญในการตรวจโดยตรงกลับสรุปสถานะของฮะดีษบทนี้ว่าเชื่อถือได้” แต่ อ.อิบรอเฮม ทำเป็นตรวจนู่นตรวจนี่ แต่สรุปมาไม่ตรงกับผูเชี่ยวชาญ อ.อิบรอเฮม พูดเองว่า “อิบนุตัยมียะฮ์ให้ความสำคัญกับสายรายงาน และหนังสือที่เป็นที่ยอมรับ” (ภาพ 1) ยกมาจะมาโต้ตัวเองหรือยังไง? เพราะผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วนี่ว่าอิบนุตัยมียะฮ์รับรองหนังสือเล่มนี้!!! โปรดฟังอีกครั้ง […]

Jim Yama

24/07/2561

บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: การทำลายความน่าเชื่อถือตำราสะลัฟ EP.01

ผมเคยแสดงความคิดเห็นไปก่อนหน้านี้ว่า Method กระบวนการได้มาซึ่งความรู้สะลัฟของ อ.อิบรอเฮม สือแม นั้น ไม่ต่างอะไรกับอะชาอิเราะห์ กล่าวคือ ไม่ยอมทิ้งการสรุปอิจมาอ์ของคอลัฟที่ขัดแย้งกับสะลัฟ แต่ก็ยังมองในแง่ดีว่ายังมีความต่างกันที่พวกอัชอารีย์นั้น พร้อมจะบอกว่า ตำราสะลัฟนั้นปลอม พร้อมจะทำลายความน่าเชื่อถือของตำราสะลัฟ! มาวันนี้ผมผิดหวังมากเมื่อ อ.อิบรอเฮม สือแม พยายามจะดิสเครดิตหนังสือมะซาอิ้ลของท่านอิมามฮัรบ์ อิบนุอิสมาอีล อัลกิรมานีย์ (ฮ.ศ.280) ซึ่งเป็นอุละมาอ์สะลัฟระดับใหญ่มาก เป็นลูกศิษย์อิมามอะฮ์หมัด หนังสือของท่านนั้นนับเป็นรากฐานสำคัญของอะกีดะฮ์อิสลาม ผมจึงขอชี้แจงการดิสเครดิตดังนี้ การดิสเครดิตชุดที่ 1 อ้างว่าไม่มีสายรายงานต่อเนื่อง เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของหนังสือ (ภาพ 1 แถบแดง ภาพข้างล่าง)   ชี้แจง ประการที่ 1: คนที่ทำหน้าที่ตรวจทาน (ตะห์กีก) หนังสือเล่มนี้โดยตรงซึ่งจะมีความละเอียดละออรอบคอบเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะกี่เจ้าก็ตามที่ได้ทำหน้าที่ตรวจทาน ถามว่ามีสักเจ้าหรือไม่ที่ยืนยันออกมาว่าหนังสือเล่มนี้เชื่อถือไม่ได้ ความจริงแล้ว ไม่ถูกต้องเลยแม้แต่น้อยที่ อ. อิบรอเฮม ที่ไม่ใช่ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจทานโดยตรงจะมาหาเรื่องลดความน่าเชื่อถือของหนังสือเล่มนี้หรือจะมาตั้งข้อสงสัยถึงความน่าเชื่อถือ ทั้งๆ ที่ผู้ที่ได้ทำหน้าที่ตรวจทานโดยตรงไม่รู้กี่เจ้ากลับยืนยันว่าหนังสือเล่มนี้เชื่อถือได้ … แปลกแต่จริงครับ หรือว่า อ.อิบรอเฮม จะเป็นคนแรกของโลกที่ทำแบบนี้ ประการที่ 2: คำพูดของ อ.อิบรอเฮม ความว่า […]

Jim Yama

24/07/2561

บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: ยกชัยค์มุอัลลิมีย์เพื่ออ้างคิลาฟในเรื่องห้ามล้มผู้นำ

เนื่องจาก อ.อิบรอเฮม สือแม ยกเชคมุอัลลิมีย์ ที่อ้างว่าเรื่องห้ามล้มผู้นำมุสลิมมีคิลาฟเป็น 2 ทัศนะ และเชคมุอัลลิมีได้อ้างอีกว่าอิมามอะบูหะนีฟะฮ์มีทัศนะให้ล้มผู้นำมุสลิม ผมขอชี้แจงว่า ประการแรก การที่ อ.อิบรอเฮม อ้างเชคมุอัลลิมีย์นั้นไม่ได้มีอะไรใหม่เลย แค่กระโดดจากท่านอิมามญัศศอศมาหาเชคมุอัลลิมีย์ จึงขอบอกว่าได้มีการโต้แย้ง อ.อิบรอเฮม ไปเรียบร้อยแล้วในส่วนที่ท่านอิมามอัลญัศศอศได้อ้างผิดว่าอิมามอะบูหะนีฟะฮ์มีทัศนะให้ล้มผู้นำมุสลิม และท่านอาจารย์ยังไม่ได้โต้กลับเลย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การโค่นล้มผู้นำไม่มีอิจมาอ์ห้ามจากสะลัฟจริงหรือ? ตอนที่ 2) ซึ่งเราต้องเข้าใจก่อนว่า การที่คนรุ่นหลัง สรุปความเข้าใจของคนรุ่นแรกผิดนั้น มันเป็นเรื่องปกติ และหากเจอคำพูดของคนรุ่นแรกแล้ว จะมาดื้อยึดถือความเห็นของคนรุ่นหลังไม่ได้ ไม่อย่างนั้นเรื่องซิฟัต เรื่องใช้ไสยศาสตร์รักษา เรื่องกอฎอกอดัร ฯลฯ ก็มีหลายทัศนะหมดเลย ผมได้ชี้แจงไปแล้วว่าเราต้องทำอย่างไรในกรณีที่อุละมาอ์รุ่นหลังมีการสรุปความเข้าใจของคนรุ่นแรกไม่เหมือนกัน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การเข้าใจเจตนารมณ์ของชาวสะลัฟศอลิฮ์) การที่ อ.อิบรอเฮม ยกคนรุ่นหลังมานั้น ผมอยากให้พี่น้องลองดูตัวบทที่เป็นคำพูดของคนรุ่นแรกก่อน คืออิมามหะนะฟีย์เองเลย เป็นการรายงานมาจาก ท่านอบูมะติอ์ อัลบัลคีย์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอิมามอะบูหะนีฟะฮ์ โดยท่านอบูมะตีอฺ อัลบัลคีย์ ได้ถามท่านอบูฮะนีฟะฮฺไว้ว่า ما تقول فيمن يأمر بالمعروف وينهى عن المنكر […]

Jim Yama

22/07/2561

บทตอบ อ.อิบรอฮีม สือแม: การตีความที่บิดเบี้ยวต่อคำกล่าวของอิมามนะวะวีย์เรื่องล้มผู้นำ

อิมามนะวะวีย์ได้กล่าวว่า الخروج عليهم وقتالهم فحرام بإجماع “..การก่อกบฏกับบรรดาผู้ปกครอง และการสู้รบกับผู้ปกครอง (มุสลิม) เป็นที่ต้องห้ามตามมติเอกฉันท์..” ทว่ามีคนกล้าที่จะตีความคำพูดนี้ว่าหมายถึง “ห้ามเฉพาะเมื่อเกิดความเสียหายมากกว่า” ถือว่าใจกล้ามากที่เล่นพลิกแพลงกับหลักการศาสนาแบบนี้ โดยเขาอ้างว่า อิมามนะวะวีย์ได้พูดถึงสาเหตุที่ห้ามล้มผู้ปกครองไว้ในตอนท้าย เราลองมาดูคำพูดของอิมามนะวะวีย์กันก่อน โดยท่านได้กล่าวว่า . وأما الخروج عليهم وقتالهم فحرام بإجماع المسلمين ، وإن كانوا فسقة ظالمين . وقد تظاهرت الأحاديث بمعنى ما ذكرته ، وأجمع أهل السنة أنه لا ينعزل السلطان بالفسق ، وأما الوجه المذكور في كتب الفقه لبعض أصحابنا […]

Jim Yama

22/07/2561

การเข้าใจเจตนารมณ์ของชาวสะลัฟศอลิฮ์

หากใครอยากทำความเข้าใจในประเด็น “การเข้าใจเจตนารมณ์ของชาวสะลัฟศอลิฮ์” อย่างละเอียด สามารถรับฟังการบรรยายของอาจารย์อามีน ลอนาในหัวข้อ “เจตนารมณ์ แห่ง อัสสะละฟุศศอและห์” คลิก มีทั้งหมด 37 ตอน) ในโลกวิชาการอิสลามนั้นมีความขัดแย้งเห็นต่างกันมากมายเกี่ยวกับการสรุปความเชื่อของชาวสะลัฟ จนบางเรื่องนั้นดูราวกับไม่รู้จะหาข้อสรุปได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมได้ศึกษาร่ำเรียนมาจากท่าน อ.อามีน ลอนา นั้น มีวิธีการทำความเข้าใจสะลัฟได้ โดยอาจแบ่งรูปแบบของความสับสนในความเข้าใจของสะลัฟได้ดังนี้ 1. มีความสับสนเนื่องจาก “การกระทำสะลัฟ” ก่อนเกิดอิจมาอ์ ในยุคที่ไม่มีท่านนบีคอยชี้ขาดปัญหาศาสนานั้น ใช่ว่าเศาะฮาบะฮ์หรือชาวสะลัฟจะสามารถชี้ขาดได้แบบมะอฺซูม ทันทีทันใดไปเสียทุกเรื่อง แต่หลายเรื่องมันมี process ในการได้มาซึ่งข้อสรุปของหลักการศาสนา ซึ่งข้อสรุปนั้นคืออิจมาอ์ และมีสถานภาพมะอฺซูม ในระหว่าง process นี่แหละที่เราเรียกว่าความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น ในรายงานของท่านอบูฮุร็อยเราะห์ กล่าวถึงตอนที่ท่านอบูบักร์ออกคำสั่งให้สู้รบกับเผ่าที่ปฏิเสธการจ่ายซะกาตหลังจากที่ท่านนบีเสียชีวิต ในตอนแรกนั้นท่านอุมัรได้ค้านพร้อมยกตัวบทหะดีษ โดยกล่าวว่า “เหตุใดท่านจึงสู้รบกับพวกเขา ในเมื่อท่านเราะซูลกล่าวว่า -ฉันถูกบัญชาใช้ให้สู้รบกับมนุษย์จนกว่าเขาจะกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ และผู้ใดที่กล่าวคำนี้ ก็เป็นที่ต้องห้ามแก่ฉันซึ่งทรัพย์สินของพวกเขาและชีวิตของพวกเขานอกจากสิทธิอันชอบธรรม และบัญชีของเขาอยู่ ณ ที่อัลลอฮ์- ”(ref: Ibn Jawzi, Muntazam 4/76; Bukhaari; […]

Jim Yama

15/07/2561

ไขข้อสงสัยประเด็นการห้ามโค่นล้มผู้นำที่อธรรม โดย ชัยค์ฟัรกูส

มีคำถามจากพี่น้องมุสลิมชาวอียิปต์บางท่านได้ส่งมาโดยขอให้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับข้อตัดสินในเรื่องการโค่นล้มผู้นำสูงสุดด้วยกับบทบัญญัติทางหลักการศาสนา ผู้ถาม ชัยค์ผู้เป็นที่รักของเรา คำถามต่างๆ เหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์ที่สำคัญอยู่ ที่เราต้องการคำตอบของคำถามเหล่านี้จากพวกท่าน. ประเด็นแรก : ถูกต้องหรือไม่ ที่นักวิชาการคนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการชาวสะลัฟมีทัศนะว่าอนุญาติให้โค่นล้มผู้นำเมื่อเขาประพฤติชั่ว แต่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ : การประพฤติชั่วของเขานั้น จะต้องเป็นความประพฤติชั่วที่เป็นบาปใหญ่และเป็นเรื่องที่ใหญ่โต การถอดถอนผู้นำนั้นจะต้องมาจากทางด้านของผู้ที่มีสิทธิในการปรับปรุงแก้ไข และผู้ที่มีส่วนร่วมในสนธิสัญญา และผู้ที่มีความพร้อมในด้านความสามารถ และจะต้องไม่ใช่การถอดถอนจากบรรดาคนเอาวาม (สามัญชนทั่วไป) จะต้องไม่ก่อให้เกิดฟิตนะอ์จาก (การดำเนินการ) โค่นล้มผู้นำ ประเด็นที่สอง : มีคำพูดของนักวิชาการชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งได้บอกว่าระหว่างการ ออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และ การถอดถอนผู้นำและการตีตัวออกห่างจากผู้นำ และแท้ที่จริงแล้วการออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และการตีตัวออกห่างจากผู้นำ นั้นเป็นที่ต้องห้ามด้วยกับอิจมาอ์ (มติเอกฉันฑ์) และส่วนการถอดถอนนั้นเป็นที่อนุญาต ตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กล่าวมานี้หรือไม่ ? ประการที่สาม : ถูกต้องหรือไม่สำหรับการพาดพิงเรื่องดังกล่าวนี้ไปยังคนหนึ่งคนใดจากชาวสะลัฟ หรือบอกว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสะลัฟ (หมายถึงประเด็นเรื่องการถอดถอนผู้นำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น) ฉัน (ชัยค์ ฟัรกูซ) จะขอกล่าวถึงคำตอบของคำถามดังนี้ ของอัลลอฮ์ทรงให้การช่วยเหลือ พึงทราบเถิดว่าส่วนหนึ่งจากบรรดาเงื่อนไขต่างๆ ของการเป็นผู้นำสูงสุดนั้น จะไม่มีใครได้รับตำแหน่งนี้ตั้งแต่แรก ยกเว้น ผู้ที่เป็นมุสลิมที่มีคุณธรรม ดังนั้นตำแหน่งผู้นำนั้นจะไม่ถูกแต่งตั้งให้แก่คนชั่ว ยิ่งไปกว่านั้นก็สำหรับกาเฟร และนี่เป็นเงื่อนไขที่บรรดาผู้รู้นั้นเห็นตรงกัน […]

กองบรรณาธิการ

10/07/2561

การโค่นล้มผู้นำไม่มีอิจมาอ์ห้ามจากสะลัฟจริงหรือ? ตอนที่ 3

ในสองตอนแรก (ตอนที่ 1 –คลิกอ่าน– และตอนที่ 2 –คลิกอ่าน-) เราได้วิพากษ์บทความของ ดร.อิบรอฮีม สือแม กันไปแล้ว ซึ่งเรายังมีประเด็นที่ต้องโต้แย้งอีกส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่ ดร.อิบรอฮีม ยกมา ความจริงถ้าท่าน ดร.จะกรุณาเราขอให้ท่านรอเราชี้แจงบทความของท่านให้หมดก่อน แล้วท่านค่อยตอบเรามาก็ได้ จะได้ไม่เป็นการแย้งไปมาแบบคละประเด็นกัน อันนี้เราเสนอไปแล้วแต่ว่าท่านจะยอมรับหรือไม่ ประเด็นที่หนึ่ง : ประเด็นเรื่องของท่านอัซซะฟากุซีย์ ในตอนที่ผ่านมา เราได้ท้วงการยกคำพูดของท่านอัซซะฟากุซีย์ ที่ตัวบทเต็ม ๆ เป็นดังนี้ وقول السفاقسي أجمعوا أن الخليفة إذا دعا إلى كفر أو بدعة يقام عليه تعقب بأن المأمون والمعتصم والواثق كلٌّ منهم دعا إلى بدعة القول بخلق القرآن وعاقبوا العلماء […]

กองบรรณาธิการ

08/07/2561

การโค่นล้มผู้นำไม่มีอิจมาอ์ห้ามจากสะลัฟจริงหรือ? ตอนที่ 2

เราได้นำเสนอบทความเรื่องนี้กันไปก่อนแล้วใน ตอนที่ 1 –คลิกอ่าน– ซึ่งทางเราหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้ในระดับเบื้องต้นกันไปแล้ว ครั้งนี้ตอนที่ 2 เราจะมาเขียนชี้แจงหลักฐานส่วนที่เหลือซึ่ง ดร.อิบรอฮีม สือแม ได้ยกมาเพื่ออ้างว่า “ไม่มีอิจมาอ์” ในเรื่องนี้กัน หลักฐานที่ 1 : ท่านอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะโค่นล้มผู้นำ ท่าน ดร.อิบรอฮีม สือแม ได้อ้างงานเขียนของท่านอัลญัศศอศที่ “อ้าง” ว่าท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะในการโค่นล้มผู้นำ โดยท่านอิมามอัลญัศศอศได้ยกเรื่องราวของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺที่ให้การสนับสนุนไซด์ บินอะลี ที่ต่อต้านรัฐบาลอุมะวียะห์ภายใต้การนำของฮิชาม บินอับดุลมะลิกด้วยอาวุธ ข้อโต้แย้ง : เราไม่ปฏิเสธเลยว่ามีนักวิชาการรุ่นหลังจำนวนหนึ่งกล่าว “อ้าง” ว่าท่านอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะในการโค่นล้มผู้นำ ซึ่งท่านอิมามอัลญัศศอศเองมีความเข้าใจเช่นนี้อยู่ อย่างไรก็ตามแต่สำหรับคนที่แสวงหาความจริงและมีความละเอียดรอบคอบแล้ว เขาไม่ควรจะรีบด่วน “ตักลีด” ตามคำอ้างในทุกกรณี ความจริงคนที่พอจะมีความรู้กันบ้างก็จะทราบกันดีว่า การอ้างของนักวิชาการรุ่นหลังว่า “คนรุ่นสะลัฟ” เชื่อแบบนั้น แบบนี้โดยอาศัย “การเข้าใจ” ที่เขาเหล่านั้นมีอยู่เป็นพื้นฐานคำอธิบาย เป็นสิ่งที่มีเห็นกันได้ตลอด แต่นั่นมิได้หมายความว่า “สิ่งที่ถูกอ้าง” กลับไปใส่คนรุ่นอดีตจะต้องเป็นจริงตามที่อ้างเสมอไป เราคิดว่า ดร.อิบรอฮีม สือแม ก็น่าจะทราบกันดีว่ากรณีการอ้างทัศนะใส่คนรุ่นแรกแบบผิด ๆ มีให้เห็นกันบ่อยมากจากนักวิชาการในรุ่นหลัง เช่น ท่านอิบนุลเญาซีย์อ้างว่าอิมามอะฮฺมัดตีความศิฟัตของพระองค์ หรือท่านอิมามอันนะวะวีย์อ้างว่าชาวสะลัฟได้มีการตีความศิฟัตของอัลลอฮฺแบบนั้นแบบนี้ […]

กองบรรณาธิการ

04/07/2561

การโค่นล้มผู้นำไม่มีอิจมาอ์ห้ามจากสะลัฟจริงหรือ? ตอนที่ 1

ในช่วงนี้เราได้เห็นกระแสทางโซเชี่ยล แสดงความเห็นกันเรื่องการล้มผู้นำไปคนละทางสองทาง บทความนี้มีเจตนาในการวิเคราะห์ข้อเขียนของฝ่ายที่พยายามจะอ้างว่าการห้ามโค่นล้มผู้นำมุสลิม “ไม่มีอิจมาอ์” ในเรื่องนี้ โดยการยกหลักฐานต่าง ๆ มานำเสนอซึ่งเราจะวิเคราะห์กันดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก: สาเหตุของการปลดผู้นำออกจากตำแหน่ง มีการระบุกันว่าสาเหตุที่ผู้นำจะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนั้นมีสี่สาเหตุคือ ผู้นำที่แสดงการกุฟรฺหรือกลายเป็นกาฟิรฺ ผู้นำที่ละทิ้งละหมาดและทิ้งการเรียกร้องสู่การละหมาด ผู้นำที่ไม่ตัดสินด้วยชารีอะห์อิสลาม ผู้นำที่มีความฟาซิก อธรรม และบิดอะห์ วิจารณ์ ข้อเขียนสี่ประการข้างต้นนั้นหากเราไปเสาะแสวงหาดู เราจะพบว่ามันเป็นข้อเขียนของอับดุลลอฮฺ อัดดะมีญีย์ ในหนังสือ الإمامة العظمى عند أهل السنة والجماعة ซึ่งข้อเขียนของเขานั้นไม่ใช่งานเขียนจากยุคสะลัฟ และตัวเขาเองยังไม่ใช่นักวิชาการที่เป็นที่ “อ้างอิง” หลักของวงวิชาการ ฉะนั้นข้อเขียนหรือความเห็นตรงไหนของตัวเขาที่ไม่มี “นักวิชาการในยุคก่อนหน้านี้” พูดมาก่อน เราก็ถือว่าไม่ใช่หลักฐานทางวิชาการในการจะนำเอามานำเสนอกัน ซึ่งจากข้อเขียนของเขาข้างต้น เรามีทั้งข้อที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ข้อแรก ผู้นำที่เป็นกาฟิรฺไปแล้ว แน่นอนว่าฝ่ายสะละฟีย์ทุกคนเห็นพ้องกันอยู่แล้วว่าผู้นำที่เป็นกาฟิรนั้น จะต้องถูกถอดถอนออกและอนุญาตให้ทำการสู้รบโค่นล้มได้ อย่างไรก็ตามแต่นักวิชาการได้อธิบายต่อไปว่าเงื่อนไขของการโค่นล้มผู้นำชนิดที่เป็นกาฟิรฺนี้จะต้องเกิดประโยชน์มากกว่าโทษเท่านั้น หมายความว่าผู้นำกาฟิรฺที่จะถูกปลดออกนั้นจะต้องถูกปลดออกในสภาพที่ไม่เกิดความเสียหายและความชั่วร้ายมากกว่าเดิม แต่หากการสู้รบกับผู้นำประเภทนี้ส่งผลเสียหายกว่าเดิมเช่นนั้นถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำ (มัจมูอฺฟะตาวาย์ อิบนุบาซฺ เล่ม 8 หน้า 202) ส่วนข้อที่สอง คือ ผู้นำที่ละทิ้งละหมาดและทิ้งการเรียกร้องสู่การละหมาด กรณีเช่นนี้ก็อนุญาตให้สู้รบได้ซึ่งไม่มีข้อโต้เถียงในผู้นำประเภทนี้ […]

กองบรรณาธิการ

03/07/2561

เรื่องจริงจากยุคสะลัฟกรณีมีอุละมาอ์คิดโค่นล้มผู้ปกครองมุสลิม

บทความโดย ชัยคฺ บันดัร อัล-มะหฺยานียฺ หะฟิเศาะฮุลลอฮฺ มีคนๆ หนึ่งในยุคสะลัฟ มีความเลื่องลือในเรื่องของความรู้ และการทำอิบาดะฮฺอย่างมากมาย แต่ทว่าบุคคลนี้มีความคิดว่า สามารถอนุญาตให้ออกไปโค่นล้มบรรดาผู้นำมุสลิมได้ ชาวสะลัฟจึงตัดสินเขาผู้นี้ว่าเป็นผู้อุตริกรรม (มุบตะดิอฺ) และเตือนให้ออกห่างจากเขา และพวกเขาก็ไม่ปฎิบัติดีกับบุคคลนี้ ฉันจะขอหยิบยกเรื่องราวที่น่าประหลาดใจเช่นนี้มาให้พวกท่านได้รับรู้ เขาผู้นี้คือ หะซัน บินศอลิหฺ บินหัย อัล-ฮัมดานียฺ เสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 169 เขาเป็นบุคคลร่วมสมัยกับบรรดาอุละมาอ์สะลัฟ ในเรื่องของความรู้ และการทำอิบาดะฮฺ เช่น อิมามซุฟยาน อัษ-เษารียฺ และบุคคลอื่นๆ ท่านหะซัน ผู้นี้เป็นหนึ่งจากผู้รายงานหะดิษ ช่างเป็นตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แม้กระทั่งท่าน อบูฮาติม อัร-รอซียฺ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในเรื่องความเข้มงวดในเรื่องการให้การยอมรับผู้ที่รายงานหะดิษ และการตำหนิผู้ที่รายงานหะดิษ ยังเคยกล่าวถึงเขาว่า บุคคลนี้ (หะซัน บินศอลิหฺ) ว่าเป็นคนที่มีความ ซื่อสัตย์ ความจำดี และเป็นคนที่มีความประณีตในการรายงานหะดีษ ความน่าประหลาดใจของเขาในเรื่องความเกรงกลัว ก็คือ เขาเป็นผู้ที่อ่อนไหวง่าย อีกทั้งยังร้องให้ง่าย ท่าน ยะหฺยา บินอบีบักรฺ กล่าวว่า ฉันเคยกล่าวกับเขาว่า […]

กองบรรณาธิการ

28/06/2561
1 2