ความหมายของประเด็นอิจติฮาด

ประเด็นเรื่องการเห็นต่างในศาสนาแบ่งออกเป็น สองประเภท คือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาตให้เห็นต่างได้ และประเด็นที่ไม่อนุญาตให้เห็นต่าง และสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการ “อิจติฮาด” (ย้ำไม่ใช่ประเด็นคิลาฟียะห์ที่บรรดาอุละมาอ์ไม่รับพิจารณา หรือ ที่เรียกว่า คิลาฟฎออีฟ) ซึ่งในภาษาอาหรับอุละมาอ์ใช้คำว่า “คิลาฟ ซาอิฆ” หรือ “คิลาฟกอวีย์” หรือ “คิลาฟมุอฺตะบัร” และผมจะพยายามเขียนให้สั้นๆ เพื่อพี่น้องจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ อินชาอัลลอฮ และความหมายของประเด็นอิจติฮาดนั้น ท่านชัยคฺ ดร. สุไลมาน อัรรุฮัยลีย์ (ท่านเป็นอุละมาอ์สะละฟีย์ ในยุคปัจจุบัน นักเรียนมะดีนะห์ หรือ คนที่จบมาจากมหาลัยมะดีนะห์ คงรู้จักกันดี โดยท่านได้สอนอยู่ที่มัสยิดนบี) ฮะฟิเศาะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเอาไว้ว่า : المسألةُ الاجتِهاديَّة: هي الَّتي تتقاربُ فيها الأدِلَّة، يعني يكون لكُلِّ قول دليل لهُ قُوَّة؛ فتتقاربُ الأدِلَّة، حتَّى […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561

การเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท และท่าทีของชาวสะลัฟที่มีต่อผู้เห็นต่าง

เรายอมรับหรือไม่ว่าในศาสนามีเรื่องเห็นต่าง? ถ้ายอมรับว่ามี แล้วการเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท? และคำตอบคือ มี สองประเภท คือ : หนึ่ง : เรื่องที่ศาสนาไม่อนุญาตให้เห็นต่างได้ (خلاف غير سائغ ) นั่นก็คือ เรื่องที่เป็นอุศู้ลของศาสนา เป็นเรื่องอะกีดะฮฺหลักความเชื่อ เป็นเรื่องที่มีอิจมาอ์ (มติเอกฉันท์) ที่ถูกต้องยืนยันเอาไว้ ซึ่ง การเห็นต่างนี้จะใช้ชี้วัดว่า ใครหลงผิด หรือ ไม่หลงผิด สอง : เรื่องที่ศาสนาอนุญาตให้มีการเห็นต่างได้ (خلاف سائغ ) เช่น ในเรื่องปลีกย่อย เรื่องที่ไม่มีอิจมาอ์มายืนยัน เรื่องที่ชาวสะลัฟมีการเห็นต่าง หรือเรื่องที่เป็นการอิจติฮาด (การวินิจฉัยของปราชญ์) ซึ่งมีหลักฐานชุดเดียวกัน คือ ต่างมีหลักฐานทั้งคู่แต่ได้ข้อสรุปต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้ บรรดาชาวสะลัฟฟุศอและฮฺตลอดจนอุละมาอ์สะละฟีย์ในยุคปัจจุบันจะไม่เอาเป็นเอาตายกัน และจะไม่เอาเรื่องนี้มาตัดสินอีกฝ่ายว่าหลงผิด ไม่ยอมยืนหยัด หรือ ไม่ใช่อะลิสซุนนะห์ หรือ ดูถูกเหน็บแนมกัน ส่วนตัวอย่างจากชาวสะลัฟมีมากมายถ้ามีโอกาสจะนำมาเสนอกัน อินชาอัลลอฮ ผมเชื่อว่าหลายคนพอจะรู้และเข้าใจในประเด็นนี้กันดีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่าการปฏิบัติของเรา การวางตัว การมีท่าทีของเรา […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561