อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (6) : คำยืนยันของ ดร.นาญีย์ ดาวูด ซะลามะฮฺ เรื่องความสอดคล้องระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับกำเนิดจักรวาลในอัลกุรอาน

ก่อนที่เราจะเข้าไปคุยเรื่องนี้กันนั้น ในเบื้องต้นผมอยากจะปูพื้นฐานแก่ผู้อ่านก่อนว่า เวลาเราจะคุยถึงความรู้เกี่ยวกับกำเนิดจักรวาล เราจะเรียกความรู้ชนิดนี้ว่าความรู้ทางดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีนักวิทยาศาสตร์สายนี้ทำการศึกษาถึงเรื่องข้อเท็จจริงในจักรวาลตามแต่ละสำนักไป สิ่งที่เราต้องเข้าใจในเบื้องต้นคือ นักดาราศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาและผลิตคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลนั้น จะมีอยู่ 2 สำนักหลักๆ คือ

สำนักแรก นักวิทยาศาสตร์สายจักรวาลเป็นอนันต์ พวกนี้เชื่อว่าจักรวาลชั้นฟ้าที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีมาแบบนี้ตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ถูกสร้าง ไม่มีจุดกำเนิด ซึ่งความเชื่อของสำนักนี้เป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการอิสลามอย่างชัดเจน

สำนักที่สอง นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น โดยกำเนิดตามขั้นตอนของ บิกแบง

บทความในเว็ปไซต์อิสลามเว็ปได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

في أوائل القرن العشرين انقسم علماء الفيزياء الكونية
(cosmology) إلي فريقين مختلفين حول طبيعة نشوء هذا الكون : فذهب فريق إلي أن هذا الكون هو في هذه الحالة التي نعرفها منذ القدم , وتعرف هذه النظرية باسم نظرية الحالةالثابتة StateTheorySeady أما الفريق الثاني فكان يعتقد أن الكون كان مادة واحدة مضغوطة انفجرت محدثة انفجار كبيرا وطاقة هائلة أطلق عليه اسم Big bang

“ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องจักรวาลวิทยาได้แตกออกเป็นสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับหัวข้อการกำเนิดของจักรวาล กลุ่มแรกเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยึดถือความคิดที่ว่าจักรวาลของเรามีสภาพเช่นนี้มาแต่เดิม (ไม่มีจุดเริ่มต้นใดๆ ) ทฤษฎีนี้ได้รับการรู้จักกันในนาม ทฤษฎีจักรวาลอันคงที่ Steady-State Theory ส่วนสำนักที่สอง คือทฤษฎีที่อธิบายว่าจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสสารเดียวที่เรียกกันว่า บิกแบง”

ที่มา: أسرار نشوء الكون في القرآن (http://articles.islamweb.net/media/index.php?page=article&lang=A&id=4292)

สรุปแล้ว เรื่องนี้นักวิชาการมีสองสำนักใหญ่ ตามที่กล่าวไป

ข้อเขียนของ ดร.นาญีย์ ดาวูด ซะลามะฮฺ

ที่ประเทศซาอุดิอารเบียภายใต้การเผยแพร่ของกลุ่มสะละฟียะฮฺ มีวารสารหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า

مجلة البحوث الإسلامية

วารสารฉบับนี้เป็นวารสารที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของนักวิชาการสะละฟีย์อาวุโส โดยเรื่องบิกแบงที่เราจะกล่าวถึงนั้นอยู่ในวารสารลำดับที่ 30 ซึ่งเราจะขออธิบายให้เข้าใจถึงโครงสร้างของวารสารก่อน

ได้มีการชี้แจงไว้ในตอนต้นของวารสาร (หน้า 2) ลำดับที่ 30 นี้ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ใน ปี ฮ.ศ. 1411 ไว้ว่า

المشرف العام
سماحة الشيخ
عَبْد العَزيز بْن عبد الله بن بَاز
الرئيس العام لإدارات البحوث العلمية والإفتاء والدعوة والإرشاد
لجنة الإشراف
الدكتور
عَبد العَزيز بْن محمّد العَبد المنِعم
الدكتور
عَبْد الله بْن عبْد الرّحمَن بْن جبرِين
الشّيخ
أحْمد بْن عَبْد الرزّاق الدويش
الدّكتور
محمّد بْن سَعد الشّويعر

ผู้อำนวยการสูงสุดของวารสาร คือ ชัยคฺบินบาซ ส่วนคณะนักวิชาการที่รับผิดชอบ (หรือกองบรรณาธิการ) ประกอบไปด้วย ดร.อับดุลอะซี้ส บินมุฮัมมัด อับดุลมุนอิม, ชัยคฺญิบรีน, ชัยคฺอะฮฺมัด บินอับดิรเราะซาก อัดดุวัยชฺ, ชัยคฺมุฮัมมัด บินซะอฺดฺ อัชชุวัยอิร และในหน้าที่ 3 ต่อมาได้มีระบุอีกว่า

مَجلّة البُحوثِ الإسْلاَميّةِ
مجلة دورية تصدر عن الرئاسة العامة لإدارات البحوث العلمية والإفتاء والدعوة والإرشاد – الرياض
الأمانة العامة لهيئة كبار العلماء
رئيس التحرير
محَمّد بن سَعْد الشويْعِر
مجلّة فصْلية تعنى بالبحوث الإسلاميّة
تصْدُر كل أربعة أشهُر مؤقّتًا

วารสารฉบับนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสภาอุละมาอ์อาวุโสของซาอุฯ และมีหัวหน้ากองบรรณาธิการคือ ชัยคฺมุฮัมมัด บินซะอฺดฺ อัชชุวัยอิร

หมายเหตุ ชัยคฺมุฮัมมัด บินซะอฺดฺ อัชชุวัยอิร ผู้นี้คือคนเดียวกันกับที่รวบรวมจัดพิมพ์หนังสือรวมฟัตวาของชัยคฺบินบาซอันโด่งดังนั่นเอง

อ่านวารสารได้ในเว็ปรวมฟัตวากิบารที่นี่
http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?languagename=ar&View=Page&PageID=4125&PageNo=1&BookID=2

บทความหนึ่งที่ถูกเขียนลงในฉบับที่ 30 ตั้งแต่หน้าที่ 223 เป็นต้นไป มีชื่อว่า

الآيات والبراهين على صدق نبوة خاتم المرسلين

“บรรดาโองการและหลักฐานที่ยืนยันถึงความสัตย์จริงของตำแหน่งนบีของท่านนบีมุฮัมมัดผู้เป็นนบีท่านสุดท้าย” ซึ่งเขียนโดย ดร.นาญีย์ ดาวูด ซะลามะฮฺ

ดู: http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?languagename=ar&View=Page&PageID=4246&PageNo=1&BookID=2

ในหน้าที่ 230-231 ภายใต้หัวข้อที่มีชื่อว่า

وجوه إعجاز القرآن الكريم > الوجه الثالث انطباق آيات على ما جاء به العلم الحديث

“ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานในมิติต่างๆ : มิติที่สามความสอดคล้องกันระหว่างโองการต่างๆ ในอัลกุรอานกับวิทยาการสมัยใหม่ที่ได้มีมา”

ซึ่งท่านได้กล่าวดังนี้
الوجه الثالث : انطباق آيات على ما جاء به العلم الحديث : أنزل الله تعالى كتابه ليكون دستورا للناس ونبراسا يهتدون به ، ويحكمونه فيما بينهم ، وأقام الحجة به عليهم . (الجزء رقم : 30، الصفحة رقم: 231) وهذا الكتاب الكريم لم يكن من مقاصده تقرير حقائق علمية تتعلق بالإنسان والكون ، لكنه سبحانه أثناء سوقه الأدلة على وجوده ووحدانيته ، وتذكير الناس بنعمه وآلائه التي لا تحصى ، ولفت الأنظار إلى قدرته الباهرة – أثناء ذلك كله – ذكر سبحانه آيات لفتت النظر إلى حقائق علمية لم تعرف إلا بعد عصر التنزيل بقرون كثيرة . فكلما كشف البحث العلمي سنة كونية أو حقيقة علمية وظهر أن آية في القرآن الكريم أشارت إلى تلك السنة أو الحقيقة قام برهان جديد على أن القرآن من عند الله .

ความหมายโดยสรุปคือ ท่านบอกว่าพระองค์อัลลอฮฺได้ประทานอัลกุรอานลงมาแก่มนุษยชาติเพื่อเป็นธรรมนูญแก่พวกเขา และยังถือว่าการประทานอัลกุรอานลงมานั้นเป็นหลักฐานที่ได้ถูกพิสูจน์เชิงประจักษ์แก่มวลมนุษย์อีกด้วย แม้ว่าเป้าหมายของการประทานอัลกุรอานลงมาจะมิใช่เพื่ออภิปรายข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษามนุษย์และจักรวาลก็ตาม แต่ทว่าพระองค์ก็ได้ประทานอัลกุรอานลงมาเป็นหลักฐานที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของพระองค์และการเป็นเจ้าองค์เดียวของพระองค์ด้วย และพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวถึงโองการต่างๆ ที่ทำให้ต้องเหลียวมองพิจารณาไปยังข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รับรู้กันมาก่อนเลยนอกจากเมื่อโลกได้ผ่านพ้นไปหลายศตวรรษแล้วเท่านั้น (คือพึ่งจะรู้กันไม่กี่วันนี้) ดังนั้นเมื่อการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ได้รับการเปิดเผยขึ้นมา และยังปรากฏอีกว่าอัลกุรอานได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงของวิทยาศาสตร์เหล่านั้นไว้ด้วย ดังนั้นหลักฐานชนิดใหม่ที่ได้เข้ามาพิสูจน์ว่าอัลกุรอานคือวะฮีย์ที่มาจากอัลลอฮฺจึงได้ปรากฏขึ้นมา จากนั้นท่านได้ยกตัวอย่างความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ว่า

– 2 قال سبحانه : أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلا يُؤْمِنُونَ . تقرر هذه الآية أن السماوات والأرض كانتا متصلتين ثم وقع الانفصال بينهما بمشيئة الله وقدرته وقد أثبت العلم الحديث ما قالت به الآية قبل أربعة عشر قرنا .

“พระองค์ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้น ไม่เห็นดอกหรือว่าแท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้น แต่ก่อนนี้รวมติดเป็นผืนเดียวกันแล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน เราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตจากน้ำ ดังนั้น พวกเขายังไม่ศรัทธาอีกหรือ” (อัลกุรอาน 21:30) อัลกุรอานโองการนี้ได้ยืนยันชัดเจนว่า ชั้นฟ้าและแผ่นดินเคยเชื่อมติดกัน ต่อมาจึงเกิดการแยกทั้งสองออกจากกันด้วยพระประสงค์และอำนาจของอัลลอฮฺ ซึ่งวิทยาการสมัยใหม่ (วิทยาศาสตร์) ได้เข้ามายืนยันความจริงที่อัลกุรอานโองการนี้ได้กล่าวไว้ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ได้ถูกกล่าวไว้แล้วพันสี่ร้อยกว่าปี” (หน้า 233)

อ่านวารสารได้: http://www.alifta.net/Fatawa/fatawaDetails.aspx?languagename=ar&View=Page&PageID=4251&PageNo=1&BookID=2

จากข้อเขียนข้างต้นทำให้เราทราบได้อย่างชัดเจนว่า ท่าน ดร.นาญีย์ เห็นว่า อัลกุรอานโองการข้างต้นสอดคล้องกันเป็นอย่างดีกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งก็คือบิกแบงนั่นเอง

ข้อโต้แย้ง: มีบางท่านอาจจะโต้แย้งด้วยสองข้ออ้างต่อไปนี้

ข้ออ้างแรก มีคนอ้างว่าบทความดังกล่าวมิได้ใช้คำว่าบิกแบง จึงไม่ชัดเจนพอที่จะยืนยันว่าข้อเขียนดังกล่าวพูดถึงบิกแบง เราขอโต้แย้งกลับว่า การไม่พูดคำว่าบิกแบงมิได้แปลว่าจะไม่ได้หมายถึงบิกแบงเพราะในบทความดังกล่าวยังพูดถึงข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องอื่นๆ ที่ก็ไม่ได้ใช้ชื่อของศัพท์เทคนิคตรงๆ เช่น การพูดถึงข้อเท็จจริงว่าเวลาขึ้นที่สูงแล้วจะหายใจไม่ออก เป็นต้น บทความดังกล่าวพูดถึงความสอดคล้องของอัลกุรอานที่พูดถึงกำเนิดจักรวาลกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แน่นอนว่าไม่มีทฤษฎีในทางจักรวาลใดจากสองทฤษฎีที่มีมาจะสอดคล้องกับอายะฮฺนี้นอกจากบิกแบง จะบอกว่าบทความมีเป้าหมายที่จะกล่าวถึงทฤษฎีจักรวาลเป็นอนันต์ไม่มีจุดเริ่มต้นก็ดูจะสิ้นคิดไป

ข้ออ้างที่สอง บางคนบอกว่า ข้อเขียนดังกล่าวมิได้ถูกเขียนขึ้นจากอุละมาอ์อาวุโสของสะละฟีย์ ซึ่งเราขอแย้งว่า ใช่แม้บทความดังกล่าวจะมิได้เขียนขึ้นจากกิบารอาวุโส แต่ทว่าบทความดังกล่าวถูกตีพิมพ์ลงในวารสารที่อยู่ในความรับผิดชอบของอุละมาอ์สะละฟีย์อาวุโส ซึ่งแน่นอนว่าท่านเหล่านั้นจะต้องตรวจทานผ่านตามาแล้วโดยเฉพาะหัวหน้ากองบรรณาธิการอย่างชัยคฺชุวัยอิรนั้นจะต้องตรวจทานก่อนตีพิมพ์แล้วแน่นอน เป็นเรื่องดูแคลนอุละมาอ์อย่างมากถ้าใครจะคิดว่าวารสารของโลกสะละฟีย์ทำงานกันแบบไร้อะมานะฮฺ แม้กระทั่งหัวหน้ากองบรรณาธิการก็ไม่ได้ตรวจทานบทความในการจัดพิมพ์เลย ทั้งที่วารสารในโลกกาฟิรฺจะพิมพ์ทีเขายังมีคณะกรรมการตรวจทาน คิดว่ากิบารจะเอาชื่อตัวเองไปรับประกันโดยชุ่ยๆ เช่นนั้นเราคิดไม่ลงครับ ใครคิดลงก็เชิญ!

ผู้โต้แย้งรายหนึ่งพยายามจะแก้เกี้ยวให้ได้ว่า บทความดังกล่าวเพียงแต่ปรากฏในวารสารอัลบุฮูษเท่านั้น โดยที่กิบารไม่รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น โดยไปเอาเงื่อนไขการส่งบทความที่ระบุในอีกเว็ปซึ่งมีข้อความว่า

تنبيه:البحوث المنشورة عبر المجلة تعبر عن وجهة نظر أصحابها.

“คำเตือน..บทวิเคราะห์ที่ได้รับการสงเผยแพร่ในวารสารฯ ถือเป็นความเห็นของผู้เขียน (เท่านั้น)”

จากนั้นก็มาทึกทักว่า กิบารไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรจากข้อความดังกล่าว ซึ่งเราขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการรับสมัครการส่งบทความในยุคหลังๆ ซึ่งถูกเอามาเผยแพร่ในเว็ปไซต์ http://www.ssa.gov.sa/طلب-نشر-بحث/

ดังจะพบได้จากวรรคที่กล่าวว่า البحث بصيغة pdf หมายถึงให้ส่งบทความมาในไฟล์พีดีเอฟได้ หมายความว่าเป็นการเปิดรับบทความทางอีเมลซึ่งเป็นระบบสมัยใหม่ในยุคหลัง โดยตรงนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับบทความที่เรากำลังพูดถึงซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 1411 หรือ ค.ศ. 1990 ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีพีดีเอฟอะไรทั้งสิ้น (พีดีเอฟผลิตครั้งแรก 1993) ฉะนั้นตรงนี้เป็นคนละเรื่องคนละเงื่อนไขไม่เกี่ยวข้องกับบทความที่เรานำเสนอไป จึงขอให้ผู้นำเสนอรอบคอบกว่านี้

ส่วนข้อความที่ผู้คัดค้านยกมาซึ่งปรากฏอยู่ในบทความดังนี้

إنه يجب على من يتصدى لتفسير آيات القرآن الكريم وفقا لما جاء به العلم الحديث أن يتحرى حقائق العلم التي أثبت العلماء أنها حقائق لا مجال للرجوع عنها تاركا الفرضيات والنظريات التي لم تصبح حقائق بعد . كما عليه أيضا أن يتجنب النصوص القرآنية ما لا تحتمل .

“ความจริงแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเสนอตัวอธิบายโองการอัลกุรอ่านนุลกะรีมด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ต้องตรจสอบให้รอบคอบก่อนว่าวิทยาการสมัยใหม่นั้นคือข้อเท็จจริงที่ไม่มีโอกาสเปลี่ยเป็นอื่นได้แล้ว (พิสูจน์แล้วว่าจริงทุกประการ) และต้องละทิ้งที่เป็นเรื่องคาดเดาหรือที่ยังเป็นแค่ทฤษฎีที่ยังมิได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง ทำนองเดียวกันต้องเว้นห่างจากเรื่องที่ตัวบทอัลกุรอ่านไม่ครอบคลุมถึงด้วย”

แล้วผู้คัดค้านก็เขียนว่า

“ข้อความนี้มิได้อยู่ไกลจากข้อความที่ผู้กล่าวอ้างยกมาเลย มันเป็นข้อความที่อยู่ถัดขึ้นไปด้านบนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มันสะท้อนอะไร มันสะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่อ้างถึงบทความนี้ไม่ได้ต้องการจะนำเสนอความจริงทุกแง่ทุกมุม หากแต่ต้องการจะตัดส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้ จากหนังสือหรือบทความหนึ่งบทความใดก็ได้ ที่เห็นว่าสนับสนุนความคิดความเชื่อของตน โดยไม่ใส่ใจในเนื้อหาสาระทั้งหมดของหนังสือหรือบทความนั้นๆ”

เราขอชี้แจงว่า

ตัวผู้คัดค้านนะงงและมึนเสียเอง คำพูดดังกล่าวเป็นคำพูดของเจ้าของบทความที่เตือนกำชับว่าถ้าจะใช้ความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาตัฟซีรอัลกุรอานก็จะต้องใช้ความรู้ที่เป็นความจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งมันขัดกันตรงไหนกับที่ท่านเจ้าของบทความเสียเองนี่แหละเป็นผู้ยกบิกแบงมาอธิบายอัลกุรอาน? มันไม่ขัดแย้งกันไงครับ มันแปลว่าเจ้าของบทความเขาพิจารณาว่าความรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่อธิบายถึงกำเนิดจักรวาลมันสอดคล้องกับอัลกุรอาน เขาจึงเอามาใช้ แต่ทางผู้คัดค้านไม่รู้มึนอะไรมาไปเอาการเตือนกว้างๆ ของเขามาเป็นหลักฐานค้านงานเขียนของเขาเสียเองว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่อธิบายกำเนิดจักรวาลไม่มีหรอกที่ตรงกับอัลกุรอาน งงไหมล่ะครับ!! ฉะนั้นใครกันแน่ล่ะครับที่ “ต้องการจะตัดส่วนหนึ่งส่วนใดก็ได้ จากหนังสือหรือบทความหนึ่งบทความใดก็ได้ ที่เห็นว่าสนับสนุนความคิดความเชื่อของตน โดยไม่ใส่ใจในเนื้อหาสาระทั้งหมดของหนังสือหรือบทความนั้นๆ”

ส่วนเรื่องที่มีคนอ้างฟัตวาของลัจนะฮฺหรือคณะกรรมถาวรเพื่อการฟัตวาของซาอุดี้ฯ แล้วโบ้ยอ้างว่า ลัจนะฮฺไม่เอาบิกแบง เราจะชี้แจงเรื่องนี้กันในโอกาสต่อไป อินชาอัลลอฮฺ