อิจญ์มาอ์ห้ามล้มผู้นำชั่วเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องหรือ ? (ตอนที่ 1)

บทความโดย ดร.อะหมัด มุฮัมมัด อัศศอดิก อันนัจญาร อิจญ์มาอ์ที่รายงานเกี่ยวกับการห้ามล้มผู้นำชั่วถือเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ ? (ตอนที่ 1) เริ่มแรกเราต้องพิจารณาก่อน ว่าใครเป็นผู้รายงานอิจญ์มาอ์นี้ แล้วพวกเขารายงานมันไว้ที่ไหน ? ส่วนหนึ่งของผู้ที่รายงานอิจญ์มาอ์ดังกล่าว ได้แก่ อัลอัษรอม ได้อ้างว่าเรื่องนี้มีตัวบทรายงานเอาไว้อย่างต่อเนื่องมากมาย ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ “นาซิคุลหะดีษ วะมันซูคุฮู” ว่า “หลังจากนั้น หะดีษต่าง ๆ จากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้มีรายงานเอาไว้อย่างต่อเนื่อง มีรายงานอย่างมากมายจากท่าน จากเศาะฮาบะฮ์ และจากอะอิมมะฮ์ (บรรดานักวิชาการเบอร์ต้น ๆ — ผู้แปล) ภายหลังจากบรรดาเศาะฮาบะฮ์ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ที่พวกเขาสั่งให้งดเว้น, พวกเขารังเกียจการล้มผู้นำ, พวกเขาถือว่าผู้ที่ค้านพวกเขาได้แยกตัวออกจากญะมาอะฮ์ ได้ถือแนวทางของพวกฮะรูรียะฮ์ (คือ พวกเคาะวาริจญ์ — ผู้แปล) และได้ละทิ้งซุนนะฮ์” อิบนุตัยมิยะฮ์ ได้อ้างถึงไว้ว่านี่คือ “แนวทางของอะฮ์ลุลหะดีษ” หากอะอิมมะฮ์เหล่านี้เป็นผู้รายงานอิจญ์มาอ์ และตัดสินบรรดาผู้ที่คัดค้านว่าเป็นพวกบิดอะฮ์ อย่างการตัดสินแบบมุฏลัก (คือ ข้อตัดสินทั่วไป ไม่ได้เจาะจงตัวบุคคล — ผู้แปล) […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

18/02/2567

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (16) : ตอบโต้การแก้เกี้ยวเรื่องชัยคฺมุนัจญิดกรณีบิกแบง

เราได้เคยโพสต์จุดยืนของเชคมุนัดญิดเรื่องบิกแบงไปแล้ว (ตอนที่ 4) แนะนำว่าก่อนจะอ่านบทความนี้ไปอ่านตามลิงค์ข้างบนให้หมด ผู้คัดค้านบิกแบงอ้างว่าชัยคฺมุนัจญิดไม่เอาบิกแบงเพียงเพราะไปอ้างคำพูดทื่อๆ มาที่ตนอ่านไม่เข้าใจมานำเสนอดังนี้ “บิกแบงตามที่พวกเขาอ้างกันมันทำให้เกิดจักรวาลที่เป็นระเบียบตามวิธีการนี้ได้ด้วยหรือ หรือเป็นไปได้ไหมว่าแรงระเบิดจะทำให้พิมพ์บทกลอนออกมาได้ อย่างนั้นหรือ มันเป็นไปไม่ได้แน่นอนที่จะก่อเกิดความเป็นระเบียบที่สัมพันกันแบบนี้” هل يوجد هذا الانفجار العظيم كما يقولون كونًا مرتبًا بهذه الطريقة؟ وهل يمكن أن يوجد انفجار في مطبعة قصيدة؟ لا يمكن، بهذا الترتيب؟ بهذا التنسيق วิพากษ์ เราได้เสนอไปในบทความก่อนแล้วว่า หนึ่ง ชัยคฺมุนัจญิดขึ้นต้นข้อบรรยายของท่านมาด้วยหัวข้อว่า ความมหัศจรรย์ตลอดกาลของอัลกุรอาน معجزة القرآن الخالدة จากนั้นก็ยกเรื่องบิกแบงมากล่าวต่อ ถามว่าแบบนี้ชัยคฺมุนัดญิดยังไม่ได้รับรองอีกหรืออย่างไร แค่เล่าเฉยๆ หามิได้นี่คือการแก้ตัวที่น่าเวทนามาก สอง หลังจากชัยคฺมุนัจญิดเล่าให้ฟังว่าพวกกาฟิรค้นพบบิกแบงแล้ว ชัยคฺก็ได้กล่าวว่า هذا عين ما في القرآن “และนี่คือสาระที่อยู่ในอัลกุรอาน” […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (15) : ตอบโต้การแก้เกี้ยวใส่คำพูดสะลัฟเรื่อง กานะตา ชัยอัน วาฮิดัน มุลตะซิก่อตัยนิ (ฟ้ากับแผ่นดินได้เคยรวมติดเป็นสิ่งเดียวกัน)

หลังจากที่เราได้เสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในลิงค์นี้ (ตอนที่ 12) ก็ปรากฏว่าครูกลอนสยามได้ออกมาแถอีกตามเคยด้วยข้ออ้างดังนี้ ข้ออ้างแรก : คำว่า “คนไทยหัวใจดวงเดียว” การใช้คำนี้ไม่ได้แปลว่า หัวใจคนไทยหลอมละลายรวมกันทางกายภาพ ตอบ หากอ้างประโยคนี้เพื่อจะมาทำลายคำอธิบายของเราแล้วไซร้ เราขอถามว่าท่านไม่อ้างต่อล่ะว่า คำว่า “คนไทยหัวใจดวงเดียว” ก็ไม่ได้ให้ความหมายว่า หัวใจที่เป็นอวัยวะในร่างกายของคนไทยมาติดแนบกันเหมือนกระดาษติดกับลูกบอล!! เออสรุปแล้วยกประโยคนี้มาจะเอาอะไรผมยังไม่เข้าใจเลยครับ ข้ออ้างที่สอง : ผู้คัดค้านยกภาษาอาหรับประโยคหนึ่งที่ระบุว่า لَئِنْ عِشْتُ إِلَى هَذَا الْعَامِ الْمُقْبِلِ لَأُلْحِقَنَّ آخِرَ النَّاسِ بِأَوَّلِهِمْ حَتَّى يَكُونُوا شَيْئًا وَاحِدًا» ซึ่งผู้คัดค้านให้ความหมายว่า ท่านอุมัร กล่าวว่า “หากฉันมีชีวิตอยู่ถึงปีหน้า ฉันจะให้คนมาทีหลังและคนมาก่อนได้เท่าๆ กัน” ให้สังเกตุคำว่า “ฮัตตายะกูนู ชัยอันวาฮิดัน” แปลตรงๆ ได้ว่า “จนกว่าพวกเขาจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน” อันนี้คือแปลตรงๆ สำนวนนี้ไม่แตกต่างจากสำนวนในตัฟสีรของท่านอิหม่ามบะฆ่อวีที่ใช้ว่า “กานะตา ชัยอัน วาฮิดัน” หากตรงนี้ดึงดันจะแปลให้ได้ว่าหมายถึง “หลอมละลายรวมกันเป็นหนึ่ง” รายงานจากท่านอุมัรก็ต้องดึงดันแปลให้ได้ว่าหมายถึงท่านอุมัรจะจับคนทั้งหลายมาหลอมละลายให้กลายเป็นคนเดียว ส่วนวิธีใดนั้นคงต้องตีความกันต่อว่าจะใช้หม้อต้มดี […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (14) : ตอบโต้การดิสเครดิสต์และแก้เกี้ยวต่อข้อเขียนของชัยคฺอบูอัยมันและอิมามบัยฎอวีย์

หลังจากที่เราได้นำเสนอบทความของชัยคฺอบูอัยมัน อัสสะละฟีและท่านอิมามบัยฎอวีย์ย์ตรงนี้ (ตอนที่ 11) ก็ปรากฏว่าผู้คัดค้านเรื่องบิกแบงเจ้าเดิมได้ออกมาคัดค้านตามสไตล์การแถไถแบบเดิมๆ ดังนี้ กรณีชัยคฺอบูอัยมัน ประเด็นที่หนึ่ง อ้างว่าเชคอบูอัยมันเป็นแค่คนเล่นเว็บบอร์ดทั่วๆ ไป ตอบ นี่เป็นการดูถูกนักวิชาการที่น่าเกลียดที่สุด เราได้เสนอไปแล้วว่า ชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์ นั้นเป็นนักวิชาการที่ได้ถูกตัซกียะฮฺรับรองจากนักวิชาการสะละฟีย์อาวุโสอีกท่านคือท่านชัยคฺวาลิดหะซันบินอับดิลวะฮฺฮาบ อัลบันนา ฟังไฟล์เสียง : คลิก  ซึ่งปัจจุบันตัวท่านทำหน้าที่สอนวิชาอะกีดะฮฺแก่พี่น้องสะละฟีย์ในประเทศอียิปต์ไม่ใช่คนธรรมดาๆ แต่อย่างใด ประเด็นที่สอง : ผู้คัดค้านถามมาว่า ในเว็ปซะฮาบที่เราอ้างงานเขียนของชัยคฺอบูอัยมันมา มีคำฟัวาของเชคเฟาซานที่ค้านกับเรื่องนี้อยู่แล้ว ทำไมทางเราถึงไม่อ้างเชคเฟาซานบ้างในเมื่อเชคเฟาซานมีความรู้มากกว่า ตอบ การที่เราไม่อ้างชัยคฺเฟาซานในเรื่องนี้มา เพราะความเห็นและฟัตวาของชัยคฺเฟาซานในเรื่องวิทยาศาสตร์นี้สวนทางกับความเห็นของนักวิชาการท่านอื่นอย่างชัยคฺอุษัยมีนและชัยคฺศอลิฮฺ อาลเชค ชัยคฺเฟาซานนั้นคัดค้านการอธิบายอัลกุรอานด้วยวิทยาศาสตร์ทุกกรณี ซึ่งเราเห็นว่าไม่ถูกต้องและค้านกับความเห็นของชัยคฺอุษัยมีน น่าแปลกว่ามีแต่คนคัดค้านบิกแบงเองยังเคยป่าวประกาศว่าตนเองไม่ได้ปฏิเสธการอธิบายอัลกุรอานด้วยวิทยาศาสตร์ที่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่ไปๆ มาๆ พอจะแย้งคนอื่นกลับขัดแข้งขัดขาตนเอง ยกชัยคฺเฟาซานที่ค้านกับคำพูดตนเองมานำเสนอ ผมต้องถามท่านมากกว่าท่านจะเอาอะไรกันแน่? ประเด็นที่สาม ชัยคฺอบูอัยมันยังได้เขียนในบทความว่าคำพูดของสะลัฟนั้นตรงกันกับทฤษฎีเนบิวล่า ซึ่งกิบารได้คัดค้านเรื่องนี้ไว้ ตอบ เรายกคำพูดชัยคฺมาในเรื่องบิกแบงนะครับ เรายังไม่ได้คุยเรื่องเนบิวล่า และเราก็ได้เขียนชี้แจงไปแล้วว่าทฤษฎีเนบิวล่าเป็นคนละเรื่องกับบิกแบงและเราก็ได้เขียนไปแล้วว่ากิบารได้ตำหนิว่าแนวคิดเรื่องเนบิวล่าเนคนละเรื่องกับเนื้อหาในซูเราะฮฺอัลอัมบิยาอ์ อ่านได้ที่ (ตอนที่ 7) ประเด็นที่สี่ : ผู้คัดค้านกล่าวหาเราอีกตามเคยว่า อ้างเวปซะฮาบเฉพาะที่ถูกใจ ตอบ […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (13) : คำอธิบายของท่านอัลลามะฮฺมุญีรุดดีน อัลอุลัยมีย์ อัลฮัมบะลีย์ที่ระบุว่าโลกกับชั้นฟ้าเคยรวมเป็นสิ่งเดียวกัน

ผู้ที่คัดค้านเรื่องบิกแบง พยายามจะปฏิเสธความจริงที่ว่า มีนักวิชาการตัฟซีรจำนวนหนึ่งได้อธิบายโองการที่ว่าฟ้ากับแผ่นดินเคยติดกันว่าหมายถึง เคยหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งในบทนี้เราจะขอนำเสนอนักวิชาการที่มีคำอธิบายในทำนองนี้ ท่านอัลลามะฮฺมุญีรุดดีน อัลอุลัยมีย์ อัลฮัมบะลีย์ ได้อธิบายว่า {أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا} قرأ ابن كثير: (أَلَمْ) بغير واو كما هي في المصحف المكي، وقرأ الباقون: بواو قبل اللام كما هي في مصاحفهم (2)، المعنى: ألم يعلم الكافرون. {أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا} أي: جنساهما. {رَتْقًا} شيئًا واحدًا، والرتق: هو الضم والالتحام. {فَفَتَقْنَاهُمَا} فصلنا بينهما بالهواء، […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (12) : ตอบโต้คำแก้เกี้ยวที่มีต่อตัฟซีรบะเฆาะวีย์กรณีบิกแบง

หลังจากที่เราได้เขียนบทความยืนยันเรื่องความสอดคล้องระหว่างบิกแบงกับอัลกุรอานในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 11) ก็ปรากฏว่าฝ่ายคัดค้านได้ออกมาคัดค้านเราอีกตามเคย โดยรอบนี้ได้ออกมาแก้เกี้ยวกับคำพูดอิมามอัลบะเฆาะวีย์ซึ่งเราจะขอแยกประเด็นตอบโต้ดังต่อไปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง ผู้คัดค้านอ้างว่า คำว่า شَيْئًا وَاحِدًا مُلْتَزِقَتَيْنِ ““ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกันโดยติดกันอยู่”” ในคำตัฟซีรนั้น หมายถึง ฟ้าและโลกในสภาพเสร็จสมบูรณ์แล้วได้แนบติดกันเฉย ๆ ไม่ใช่ ไม่ใช่หลอมรวมกันแต่อย่างใด โดยผู้คัดค้านอ้างว่าเนื่องจากมีคำขยายว่า “มุลตะซิก่อตัยนิ” ซึ่งคำนี้ในภาษาอาหรับมิได้หมายถึงการหลอมรวมแต่หมายถึง การติดกันเฉย ๆ วิพากษ์ ข้อแรก คำว่า มุลตะซิก่อตัยนิ ในภาษาอาหรับเราทราบดีครับว่า มันหมายถึงการติดแนบ เช่นปากกาติดชิดกับดินสอ อย่างไรก็ตามคำๆ นี้ มันไม่ได้ถูกใช้ในประโยคนี้เดี่ยวๆ นะครับ แต่มันใช้ขยายคำว่า “ชัยอันวาฮิดัน” ที่แปลว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นการตีมึนโดยยกตัวอย่างภาษาอาหรับในกรณีอื่นมาเทียบงใช้คำว่า “มุลตะซิก่อตัยนิ” แต่เพียงลำพังจึงเป็นการอธิบายทางภาษาที่มั่วนิ่มและคนละกรณีครับ การพูดว่า “น้ำส้มกับน้ำเปล่าถูกเทลงในแก้วจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันที่ติดกัน” กับ “ปากกาและดินสอถูกวางติดกัน” สองประโยคนี้ให้ความหมายคนละอย่าง ประโยคแรกให้ความหมายในเชิงผสมเพราะมีคำว่า “กลายเป็นสิ่งเดียวกันที่ติดกัน” ส่วนตัวอย่างที่สองให้ความหมายว่าติดกันเฉยๆ ซึ่งการอยู่ติดกันของดินสอและปากกาไม่น่าจะเรียกว่าสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นตัวอย่างภาษาอาหรับทั้ง 6 ตัวอย่างที่ผู้คัดค้านยกมาเสนอเป็นตัวอย่างการใช้คำว่า “อิลตะซ่าก่อ” ในประโยคต่างๆ แบบเดี่ยวๆ ไม่ได้ใช้ขยายคำใดที่มีความหมายว่า […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (11) : คำยืนยันของชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์ (นักวิชาการสะละฟีย์) ถึงความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

พี่น้องนักวิชาการที่เคยผ่านการติดตามผลงานทางวิชาการของโลกสะละฟีย์ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงจะเคยผ่านการอ่านบทความที่อยู่ในเว็ปไซต์ www.sahab.net ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเว็ปสะละฟัย์ที่โด่งดังที่สุดเว็ปหนึ่งและได้รับการรับรองจากนักวิชาการหลายๆ ท่าน เช่น ท่านชัยคฺเราะบีอฺ อัลมัดเคาะลีย์เป็นต้น ในเว็ปไซต์ดังกล่าวปรากฏบทความชื่อว่า ذَهَابُ السُّهَادِ لِبَيَانِ خَلْقِ سَبْعِ أَرَضِينَ كَالسَّمَاوَاتِ ซึ่งบทความดังกล่าวนี้เขียนโดยท่านชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์โดยที่ตัวท่านชัยคฺนั้นได้ถูกตัซกียะฮฺรับรองจากนักวิชาการสะละฟีย์อาวุโสอีกท่านคือท่านชัยคฺวาลิด หะซัน บินอับดิลวะฮฺฮาบ อัลบันนา ฟังไฟล์เสียง : คลิก ในบทความของท่านชัยคฺ ท่านชัยคฺได้ยกอายะฮฺอัลกุรอานที่ว่า قَالَ تَعَالَى:{ أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ }[الْأَنْبِيَاءِ:30]، และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ (21:30) หลังจากนั้นท่านชัยคฺก็ได้นำเสนอคำตัฟซีรของสะลัฟมาที่มีความหมายในทิศทางใกล้กัน แล้วท่านก็ยกคำพูดของท่านซะอี้ด […]

กองบรรณาธิการ

28/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (10) : ตอบโต้การดิสต์เครดิคต่อชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวีช

หลังจากที่เราได้เขียนบทความชี้แจงไปแล้วในลิงค์ข้างล่างนี้ (ควรอ่านให้หมดสำหรับคนมาใหม่) ว่าชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวีชได้เขียนอธิบายว่าบิกแบงมีเนื้อหาที่สอดรับกับอัลกุรอาน (ตอนที่ 3) ปรากฏว่ามีคนออกมาใช้ไม้เดิม ๆ คือดิสต์เครดิตว่าเชคซุเฮร ชาวีช เชื่อถือไม่ได้ ไม่ใช่นักวิชาการซึ่งเราสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ตามประเด็นต่อไปนี้ ข้ออ้างที่ 1 : ชัยคฺซุเฮร ไม่มีความรู้อะไรเลยในสายตาของชัยคฺอัลบานีย์ เพราะมีคำพูดที่ชัยคฺอัลบานีย์เคยตำหนิชัยคฺซุเฮรอย่างรุนแรง วิพากษ์ คำพูดดังกล่าวเป็นคำพูดที่ดูถูกนักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคนที่เคยผ่านการอ่านหนังสือศาสนาภาษาอาหรับย่อมทราบดีว่า ชัยคฺซุเฮรชาวีช มีผลงานด้านวิชาการศาสนาในการตีพิมพ์หนังสืออะกีดะฮฺร่วมกับเชคอัลบานีย์มาก็หลายเล่ม หากชัยคฺซุเฮร ชาวีชเป็นเด็กกะโปโลในสายตาชัยคฺอัลบานีย์จริง จะเป็นไปได้หรือที่ชัยคฺอัลบานีย์จะนั่งร่วมจัดทำหนังสือกับเชคซุเฮรหลากหลายเล่ม โดยให้ชัยคฺซุเฮรอยู่ในฐานะมุฮักกิกหนังสือซึ่งหน้าที่เหล่านี้เป็นหน้าที่ของอุละมาอ์ที่เชี่ยวชาญด้านการตีพิมพ์ตำราและวิชาการในตำราที่จะตีพิมพ์ คล้ายๆ กับกองบรรณาธิการในวารสารวิชาการนั่นแหละจะเอาเด็กกะโปโลที่ไหนไปนั่งตำแหน่งกองบรรณาธิการได้เล่า แล้วนี่ระดับมุฮักกิกหนังสือนั้นคนมีความรู้เขาทราบกันดีว่าต้องอาศัยความรู้ในการทำยิ่งกว่าบรรณาธิการวารสารเสียอีก สิ่งที่ผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนก็คือ ชัยคฺอัลบานีย์นั้นได้ร่วมงานช่วยเหลือการเผยแพร่ดะอฺวะฮฺแนวทางสะลัฟกับชัยคฺซุเฮร ชาวีชมาเป็นช่วงเวลานาน แต่ได้เกิดการขัดแย้งและพิพาทอย่างรุนแรงขึ้นในภายหลัง (จะด้วยกับเหตุผลอะไรก็ตามแต่ นั่นเป็นอีกประเด็นนึงที่จะต้องไม่ลากมาโยงกับเรื่องบิกแบงเพราะตอนเขียนเรื่องบิกแบงยังทำงานด้วยกันอยู่) ชัยคฺชาวีชนั้นเดิมทีเป็นผู้ที่ฝักใฝ่แนวทางอิควานแต่เพราะความใกล้ชิดที่มีต่อัยคฺอัลบานีย์และการศึกษาในมหาวิทยาลัยมะดีนะฮฺ เลยทำให้ท่านน้อมรับในการเผยแพร่ของแนวทางสะละฟีย์ ชัยคฺอัลบานีย์ได้กล่าวถึงเชคซุเฮร ชาวีชว่า ه أن كثيرا من إخواننا الإخوان المسلمين تلقوا الدعوة السلفية بكل فرح وسرور ولسنا بحاجة […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (9) : ชี้แจงประเด็นนักวิทยาศาสตร์ประกาศยกเลิกหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง

เมื่อครูกลอนออกมานำเสนอประเด็น “นักวิทยาศาสตร์ประกาศยกเลิกหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง” โดยแปลข้อความบางตอนจาก http://m.youm7.com/story/2015/2/2/العلماء-يتراجعون-عن-أدلة-قيل-إنها-تثبت-الانفجار-الكونى-العظيم/2050662 ดังนี้ : แต่ในการวิจัยใหม่ที่จะนำออกเผยแพร่ (ในไม่ช้า) นายไบรต์ฯ จากมหาวิทยาลัยคาลิฟอเนีย และเป็นสมาชิกทีมวิจัย Bicep 2 กล่าวว่า “เราขอถอนอย่างชัดเจนถึงสมติฐานดังกล่าว(ที่เกี่ยวกับหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีบิกแบง)” เขายังเสริมว่า “มันเป็นเรื่องทำให้ผิดหวังอย่างยิ่ง หลังจากที่องค์การอวกาศยุโรปประกาศผล(วิจัย)ไปแล้ว ซึ่งมันเหมือนการค้นพบว่าสานต้าคร็อสไม่มีอยู่จริง แต่การต้องยอมรับความจริงมันเป็นเรื่องสำคัญมาก” วิพากษ์ ขอเท้าความถึงข่าวเมื่อมีนาคม ปี 2014 ก่อนคือมีการประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงช่วงกำเนิดจักรวาลหลังเกิดบิกแบงเป็นครั้งแรกจากการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ BICEP2 (Background Imaging of Cosmic Extragalactic Polarization 2) ที่ตั้งอยู่ที่ขั้วโลกใต้ คลื่นความโน้มถ่วงช่วงกำเนิดจักรวาลสามารถตรวจพบได้ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบคลื่นแสงจากบิกแบงให้มีระนาบการสั่นระนาบเดียวหรือที่เรียกว่าโพลาไรเซชัน (Polarisation) คลื่นแสงจากบิกแบงต่อมากลายเป็นคลื่นไมโครเวฟหลังจากเดินทางข้ามผ่านอวกาศ รู้จักกันในชื่อเรียกว่ารังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic Microwave Background Radiation : CMB) ซึ่ง BICEP2 มีหน้าที่ตรวจวัดการสั่นระนาบเดียวของคลื่นดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นการพิสูจน์เรื่องการขยายตัวของจักรวาลช่วงเริ่มต้น[1] ต่อมาปี 2015 จากข้อมูลของดาวเทียม Planck ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (8) : ตอบโต้การดิสต์เครดิตต่องานเขียนขององกรณ์รอบิเฏาะฮฺ

หลังจากเราได้นำเสนอบทความขององค์กรอัรรอบิเฏาะฮฺแห่งนครมักกะฮฺแผนกวิทยาศาสตร์ในอัลกุรอานไปในลิงค์นี้ (ตอนที่ 2) ก็ปรากฏว่ามีคนออกมาดิสต์เครดิตทักท้วงว่าองค์กรณ์นี้เชื่อถือไม่ได้ โดยพยายามลบล้างความน่าเชื่อถือขององค์กรนี้ในสองประเด็นดังนี้ (ประเด็นที่หนึ่ง) : อ้างว่าองค์กรนี้เน้นทำงานสังคมและมีบุคลากรในระดับแกนนำหลายคนไม่ได้จบศาสนา วิพากษ์ เราได้ชี้แจงไปแล้วจากบทความในลิงค์ข้างบนที่แนบมาว่า องค์กรนี้มีการทำงานในหลายมิติตั้งแต่ภาคสังคมและศาสนา ในส่วนของภาคสังคมนั้นไม่แปลกอะไรที่จะมีผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ที่ไม่ได้จบศาสนามาเพราะมักเป็นเรื่องการทำงานเชิงการทูตและการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามในแผนกย่อยหรือหน่วยย่อยขององกรณ์รอบิเฏาะฮฺนั้น มีหน่วยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาปัญหาศาสนาจากผู้มีความรู้โดยตรง เช่นหน่วยงานที่มีชื่อ المجمع الفقهي الإسلامي ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ) โดยที่สมาชิกของหน่วยนี้มีกันหลายท่านเช่น ท่านมุฟตีของซาอุดิอารเบีย ชัยคฺอับดุลอะซีส อาลเชค, ท่านชัยคฺอับดุลมุฮฺซิน อัตตุรกีย์ (ถูกกล่าวหาว่าเป็นอิควาน และมีภาพปรากฏกับ ดร.ลุตฟีย์บ่อย ๆ, ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ (มีอะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺ แต่บางคนก็ยกมาอ้างเรื่องธุรกรรม), ชัยคฺมุฮัมมัด บินมุฮัมมัดมุคตาร อัชชังกิฏีย์ (โดนวิจารณ์ว่ามีแนวคิดศูฟีย์), ชัยคฺมุฮัมมัดตะกีย์ อุษมานีย์ (เอียงทางอะชาอิเราะฮฺศูฟีย์เดียวบัน) และ ดร.นัศรฺฟะรีด มุฮัมมัดวาศิล (เอียงทางอะขาอิเราะฮฺ) เป็นต้น โปรดดูรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมได้ที่ http://ar.themwl.org/node/11 นี่คือตัวอย่างขององค์กรณ์ฟัตวาฟิกฮฺที่ทำงานภายใต้ชื่อรอบิเฏาะฮฺและเป็นกลุ่มนักการศาสนา ซึ่งหน่วยงานที่เขียนเรื่องบิกแบงก็มีลักษณะใกล้เคียงกันคือเป็นหน่วยงานที่มีนักวิชาการศาสนาหลากหลายร่วมกันทำงาน ฉะนั้นการสร้างภาพราวกับว่าองค์กรณ์รอบิเฏาะฮฺเชื่อถือในเรื่องศาสนาไม่ได้เลยถือว่าเป็นเรื่องอธรรม (ประเด็นที่สอง) […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561

ชัยคฺวะซียุลลอฮฺกล่าวถึงซากิรไนค์อย่างไร?

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาอย่างทั่วถึง ผู้ทรงเมตตาอย่างเฉพาะเจาะจง การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้อภิบาลแห่งสรรพสิ่ง และขออัลลอฮ์ทรงสรรเสริญ (ท่ามกลางหมู่มลาอิกะ​ฮ์ผู้อยู่เบื้องสูง) มอบความสันติ และความจำเริญ ให้แก่นบีมุฮัมมัดของเรา แก่ครอบครัวของท่าน และแก่สาวกของท่านทั้งหมดทั้งมวลด้วยเถิด اتصلت بالشيخ وصي الله عباس الآن وسألته عن ذاكر نايك فسألته عن تناقل بعض الإخوة التحذير منه وأنه منحرف في العقيدة وأنه ليس بسلفي ، فماذا تعرفون عنه؟! ฉันได้ติดต่อกับชัยคฺวะซียุลลอฮ์ อับบาซ เมื่อครู่นี้ และถามท่านถึงซากิร ไนค์ แล้วก็ถามถึงที่พี่น้องของเราบางคน ถ่ายทอดการเตือนให้ออกห่างจาก ซากิร ไนค์ และที่ซากิร ไนค์เป็นพวกเพี้ยนในเรื่องอะกีดะฮ์ และที่ซากิร ไนค์ไม่ใช่สะละฟีย์! แล้วพวกท่านรู้จักซากิร ไนค์เช่นไร ? […]

กองบรรณาธิการ

22/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (7) : การโบ้ยมั่วให้แก่คณะกรรมการถาวร กรณีบิกแบง

มีคนบางคนที่คัดค้านเรื่องบิกแบงได้อ้างว่า คณะกรรมการถาวรหรือลัจนะฮฺอัดดาอิมะฮฺ ได้ฟัตวาห้ามการนำแนวคิดบิกแบงเข้ามาอธิบายอัลกุรอาน ซึ่งข้อความที่ได้ถูกนำมาอ้างนั้นคือข้อความต่อไปนี้ السؤال: ماحكم الشرع في التفاسير التي تسمى بالتفاسير العلمية؟ وما مدى مشروعية ربط آيات القرآن ببعض الأمور العلمية التجريبية فقد كثر الجدل حول هذه المسائل ؟ الجواب : إذا كانت من جنس التفاسير التي تفسر قوله تعالى: {أو لم ير الذين كفروا أن السماوات والأرض كانتا رتقاً ففتقناهما وجعلنا من الماء […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561
1 2