องค์กรรอบิเฏาะฮฺคือใคร?
สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) หรือ รอบิเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2505 (1962) โดยรัฐบาลซาอุดีฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) เพื่อให้เป็นองค์กรเผยแผ่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก
บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรนี้และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์กรรอบิเฏาะฮฺในอดีตคนสำคัญคนหนึ่งคือท่านชัยคฺอับดุลอะซีส บินบาซ (โปรดดูมัจมูอฺฟะตาวาย์ เล่ม 6 หน้า 147)
ภายใต้การทำงานขององค์กรรอบิเฏาะฮฺนั้น ยังมีแผนกย่อยลงไปเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงานทางวิชาการต่างกัน เช่น มีแผนก อัลมัจมะฮ์ อัลฟิกฮีย์ อัลอิสลามีย์ (المجمع الفقهي الإسلامي) ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ)
เช่นเดียวกันองค์กรรอบิเฏาะฮฺยังมีแผนกที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกค้นคว้าประเด็นเรื่องความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺซึ่งใช้ชื่อแผนกกันในภาษาอาหรับว่า
(الهيئة العالمية للإعجاز العلمي في القرآن والسنة) อัลฮัยอะฮ์ อัลอาละมียะฮ์ ลิลอิอ์ญาซ อัลอิลมีย์ ฟีลกุรอาน วัซซุนนะฮ์
ซึ่งจัดตั้งขึ้นที่นครมักะฮฺโดยมีสมาชิกของแผนกนี้ที่เป็นนักวิชาการอาวุโสคนสำคัญๆ หลายท่าน เช่น ท่านชัยคฺอับดุลเลาะฮฺ อัลบัซซาม, และท่านชัยคฺอับดุลลอฮฺ บินอับดิลอะซี้ส อัลมัศละฮฺ
ที่มาข้อมูล :
https://ar.wikipedia.org/wiki/رابطة_العالم_الإسلامي
https://ar.wikipedia.org/wiki/الهيئة_العالمية_للإعجاز_العلمي_في_القرآن_والسنة
แผนกศึกษาวิทยาศาสตร์ในอัลกุรอานและอัลหะดีษ มีผลงานด้านวิชาการออกมามากมาย ซึ่งแผนกดังกล่าวนี้ได้เปิดเว็ปไซต์ขึ้น ใช้ชื่อว่า https://www.eajaz.org โดยเว็ปไซต์ดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบและจัดการของท่านชัยคฺอับดุลลอฮฺ บินอับดิลอะซี้ส อัลมัศละฮฺ
โปรดอ่านถ้อยแถลงของเชคได้ที่
كلمة فضيلة الأستاذ الدكتور / عبد الله بن عبد العزيز المصلح
http://eajaz.org/index.php/component/content/article/1048
สำหรับใครที่ไม่รู้จักชัยคฺอับดุลลอฮฺ บินอับดิลอะซี้ส อัลมัศละฮฺ แนะนำให้อ่านประวัติและผลงานของท่านได้ที่ http://shamela.ws/index.php/author/1580
ซึ่งท่านมีผลงานด้านวิชาการทั้งในทางฟิก,ตัฟซีรหลายๆ เล่ม เช่น
الإمام الطبري منهجه في التفسير (แนวทางของอิมามเตาะบะรีย์ในการตัฟซีรอัลกุรอาน)
الإعجاز العلمي في القرآن والسنة تاريخه وضوابطه (ความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺความเป็นมาและกฏเกฏณ์ในการอธิบายมัน) ซึ่งเล่มนี้เป็นเล่มที่ท่านศึกษาถึงการตัฟซีรอัลกุรอานแบบวิทยาศาสตร์ว่ามีตรงไหนสอดคล้องและตรงไหนคือมาตรฐานในการใช้
และหนังสืออีกหลายเล่ม
ข้อเขียนของรอบิเฏาะฮฺเรื่องบิกแบง
องค์กรรอบิเฏาะฮฺได้เขียนชี้แจงเรื่องบิกแบงในอัลกุรอานภายใต้เอกสารยาว 34 หน้า A4 ในชื่อที่ว่า อินการ อิอ์ญาซ อัลกุรอาน อัลอิลมีย์ ฟี อิคบารีฮี อัรร็อต อัสสะมาวาต วัลอัรฎ์ วะฟัตกิฮิมา (إنكار إعجاز القرآن العلمي في إخباره عن رتق السموات والأرض وفتقهما)
ซึ่งเป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อตอบโต้ผู้ที่ไม่ยอมรับว่าอัลกุรอานกล่าวถึงกำเนิดจักรวาลโดยสอดคล้องกับบิกแบงไว้ซึ่งเราจะขอสรุปคร่าวๆ ของเนื้อหาดังนี้
1. ในทางดาราศาสตร์ มีการต่อสู้กันอยู่ 2 ความคิดใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ สำนักแรกมีความเชื่อว่าจักรวาลไม่มีจุดเริ่มต้น มีแบบนี้มาแต่เดิม ซึ่งสำนักนี้ค้านกับหลักการอิสลามและเป็นปฏิปักษ์กับสำนักที่ถือว่าจักรวาลมีจุดกำเนิดแบบบิกแบง
2. มีหลักฐานที่เข้ามาสนับสนุนบิกแบงหลายๆ เรื่อง เช่น การตรวจสอบของนักดาราศาสตร์ว่าจักรวาลขยายตัว ซึ่งบ่งชี้ถึงการที่ในอดีตจักรวาลได้ขยายตัวมาจากจุดที่เชื่อมติดกันหมด หรือการที่นักดาราศาสตร์ได้ตรวจสอบพบว่าหมู่ดาวหรือเทหวัตถุในเอกภพได้เคลื่อนที่วิ่งห่างออกจากกันอย่างไม่หยุดซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวของจักรวาล
3. คำอธิบายแบบบิกแบงที่ระบุว่าจักรวาลมีจุดกำเนิดนั้น ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งยอมรับถึงการมีอยู่ของพระเจ้า เนื่องจากการศึกษาถึงกำเนิดจักรวาลทำให้เราไม่อาจยอมรับได้ว่าจักรวาลจะบังเกิดโดยไร้ผู้สร้าง หนึ่งในเอทิสต์ที่หันมาน้อมรับการมีอยู่ของพระเจ้าจากการศึกษาเรื่องบิกแบง คือ ดร.แอนโทนี่ ฟลิว
4. บิกแบงมีสิ่งที่สอดรับกับอัลกุรอาน คือ บิกแบงได้อธิบายว่าจักรวาลกำเนิดขึ้นในลำดับสองขั้นตอนใหญ่คือ ขั้นตอนของการรวมติดเป็นเนื้อเดียวกัน กับขั้นตอนของการแยกทุกสิ่งในจักรวาลออกจากกัน
5. ตามภาษาอาหรับ คำในอัลกุรอานที่ระบุว่า ฟ้าและแผ่นดินเคยรวมติดกัน ใช้คำว่า ร็อตกฺ ซึ่งหมายถึงการผสมรวมทับถมเป็นอันเดียวกัน ส่วนคำที่อัลกุรอานใช้ในการระบุถึงการแยก ได้ใช้คำว่า ฟัตกฺ ที่หมายความว่าการแตกออกจากกัน
6. องค์กรรอบิเฏาะฮฺพิจารณาว่า คำอธิบายแบบบิกแบงได้สอดคล้องกับคำอธิบายของนักตัฟซีรหลายๆ ท่านที่มีต่อโองการนี้ เช่น อิมามเตาะบะรีย์, อิมามกุรฏุบีย์ที่ได้ระบุว่าตอนนั้นชั้นฟ้าและดินผสมรวมกันโดยท่านอ้างคำอธิบายของอิบนุอับบาซและสะลัฟท่านอื่นที่ระบุว่า ก่อนหน้านี้ฟ้าและแผ่นดินเคยเป็นสิ่งเดียวกันที่เชื่อมติดกันและพระองค์ได้แยกมันออกโดยให้อากาศขั้นกลาง
7. ทางองค์กรรอบิเฏาะฮฺเห็นว่าคำอธิบายแบบบิกแบงยังสอดรับกับคำอธิบายของท่านอิบนุกะษีรที่ระบุว่าทั้งหมดในจักรวาลได้เชื่อมติดทับถมและหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกันในตอนเริ่มแรกของการสร้างและต่อมาพระองค์ได้แยกมันออกจากกันโดยให้อากาศขั้นกลาง
ทั้งหมดที่กล่าวไปเป็นการสรุปโดยคร่าวๆ จากการศึกษาของคณะนักวิชาการในองค์กรรอบิเฏาะฮฺแผนกวิทยาศาสตร์ในอัลกุรอาน ซึ่งเราหวังว่าคงไม่มีใครทะลึ่งพูดว่าซาอุดิอารเบียและนครมักกะฮฺโดนบะลาอ์จากงานเขียนชิ้นนี้ขององค์กรรอบิเฏาะฮฺนะครับ