อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (7) : การโบ้ยมั่วให้แก่คณะกรรมการถาวร กรณีบิกแบง

มีคนบางคนที่คัดค้านเรื่องบิกแบงได้อ้างว่า คณะกรรมการถาวรหรือลัจนะฮฺอัดดาอิมะฮฺ ได้ฟัตวาห้ามการนำแนวคิดบิกแบงเข้ามาอธิบายอัลกุรอาน ซึ่งข้อความที่ได้ถูกนำมาอ้างนั้นคือข้อความต่อไปนี้

السؤال: ماحكم الشرع في التفاسير التي تسمى بالتفاسير العلمية؟ وما مدى مشروعية ربط آيات القرآن ببعض الأمور العلمية التجريبية فقد كثر الجدل حول هذه المسائل ؟
الجواب : إذا كانت من جنس التفاسير التي تفسر قوله تعالى: {أو لم ير الذين كفروا أن السماوات والأرض كانتا رتقاً ففتقناهما وجعلنا من الماء كل شيء حي} بأن الأرض كانت متصلة بالشمس وجزءً منها ومن شدة دوران الشمس انفصلت عنها الأرض ثم برد سطحها وبقي جوفها حاراً وصارت من الكواكب التي تدور حول الشمس – إذا كانت التفاسير من هذا النوع فلا ينبغي التعويل ولا الاعتماد عليها. وكذلك التفاسير التي يستدل مؤلفوها بقوله تعالى: {وترى الجبال تحسبها جامدة وهي تمر مر السحاب} على دوران الأرض وذلك أن هذه التفاسير تحرف الكلم عن مواضعه وتخضع القران الكريم لما يسمونه نظريات علمية وإنما هي ظنيات أو وهميات وخيالات. وهكذا جميع التفاسير التي تعتمد على آراء جديدة ليس لها أصل في الكتاب والسنة ولا في كلام سلف الأمة لما فيها من القول على الله بلا علم. و بالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد واله وصحبه وسلم.
فتاوى اللجنة الدائمة 145/4

คำถาม: อะไรคือข้อตัดสินเรื่องอธิบายอัลกุรอ่านแบบวิทยาศาตร์ และระดับความสอดคล้องตามนัยแห่งบัญญัติเกี่ยวกับการโยงอายาตอัลกุรอ่านกับการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งปมปัญหาเหล่านี้มีการถกเถียงกันมากมาย

คำตอบ: หากการอธิบายอัลกุรอ่านเป็นในลักษณะการอธิบายอายะห์ที่ว่า “บรรดาผู้ปฏิเสธมิได้มองดูหรือว่า ฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเคยติดกัน แล้วเราได้แยกมันออกจากกัน และเราได้ให้ทุกชีวิตมาจากน้ำ” (อัลอัมบิยาอ์/30-ผู้แปล)

โดยอธิบายว่าเดิมนั้นโลกติดอยู่กับดวงอาทิตย์โดยเป็นส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ จากการเหวี่ยงอย่างรุนแรงของมันทำให้โลกหลุดออกมา ต่อมาผิวนอกเย็นลงแต่คงความร้อนในใจกลางและกลายเป็นหนึ่งจากดาวบริวาลของอาทิตย์ที่โคจรรอบอาทิตย์ในที่สุด

หากเป็นการอธิบายลักษณะนี้แล้ว ก็ไม่สมควรจะอ้างอิงและยึดถือได้ ทำนองเดียวกันกับการอธิบาบอายะห์ที่ว่า “เจ้าเห็นขุนเขาโดยคิดว่ามันหยุดนิ่ง (ตามจริงแล้ว) มันเคลื่อนตัวดุจการเคลื่อนตัวของเมฆ” (อัลนัมล์/87-ผู้แปล) โดยเอามาอ้างอิงการมุนโคจรของโลก

การอธิบายทำนองนี้คือการบิดเบือนคำพูดให้ออกไปจากความเดิมของมัน และทำให้อัลกุรอ่านต้องมาสยบอยู่ภายใต้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ อันว่าทฤษฎีมันก็แค่การคาดการณ์ คาดเดา และการจิตณาการเท่านั้น

และการอธิบายใดๆ ที่อิงความเห็นใหม่ๆ โดยมิได้มีพื้นฐานมาจากกิตาบุลลอฮ์ ซุนนะห์ และคำอธิบายของสะลัฟ ในนั้นคือการกล่าวถึงอัลลอฮ์โดยปราศจากความรู้

วะบิลลาฮิตเตาฟีก วะศ้อลลัลลอฮุอะลานบียินามุฮัมหมัด วะอะลาอาลิฮิ วะเศาะห์บิฮี วะซัลลัม
ฟัตวาคณะกรรมการถาวรฯ (4/145)

วิพากษ์

ประการแรก ถ้าท่านผู้อ่านได้อ่านบทความของเราในตอนที่ผ่านมา คือตอนที่ 6 ท่านผู้อ่านจะเห็นเลยว่า มาตรฐานของคนที่คัดค้านข้อเขียนของเราในตอนที่ 6 นั้นคือ พวกเขาถือว่า การที่นักวิชาการเพียงแต่พูดว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้สอดคล้องกับอัลกุรอานที่ระบุถึงกำเนิดจักรวาลนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่านักวิชาการท่านนั้นหมายถึงบิกแบง เพราะตัวบทความไม่ใช้คำว่า “บิกแบง” ตรงๆ นี่คือมาตรฐานของฝ่ายคัดค้าน

แต่ไปๆ มาๆ ในการอ้างฟัตวาของคณะกรรมการถาวรข้างต้นมาคัดค้านบิกแบง เราเองก็กลับไม่พบการใช้คำว่า บิกแบง แม้แต่คำเดียวในฟัตวา แล้วแบบนี้ทำไมทางผู้คัดค้านถึงสองมาตรฐานยัดคำว่าบิกแบงลงไปในฟัตวาแทนได้เล่า??? ในเมื่อไม่มีคำว่าบิกแบงปรากฏ แล้วไฉนถึงยัดคำว่าบิกแบงลงไปเองได้? นี่คือมาตรฐานขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของทางผู้คัดค้าน

ประการที่สอง ทางผู้คัดค้านแยกไม่ออกระหว่างบิกแบงที่อธิบายว่าเอกภพกำเนิดมาจากจุดเดียวที่ทุกอย่างติดรวมกันเป็นมวลเดียวกันแล้วเกิดการขยายของเอกภพที่ทำให้ทุกอย่างแยกออกจากกัน กับทฤษฎีพลาเนตติซิมัล (planetesimal hypothesis) ที่อธิบายว่าโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์ โปรดสังเกตว่าทางคณะกรรมการถาวรได้ระบุว่า

“โดยอธิบายว่าเดิมนั้นโลกติดอยู่กับดวงอาทิตย์โดยเป็นส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ จากการเหวี่ยงอย่างรุนแรงของมันทำให้โลกหลุดออกมา ต่อมาผิวนอกเย็นลงแต่คงความร้อนในใจกลางและกลายเป็นหนึ่งจากดาวบริวาลของอาทิตย์ที่โคจรรอบอาทิตย์ในที่สุดหากเป็นการอธิบายลักษณะนี้แล้ว ก็ไม่สมควรจะอ้างอิงและยึดถือได้”

ซึ่งคำพูดดังกล่าวของทางคณะกรรมการถาวรได้คัดค้านการโยงอัลกุรอานในซูเราะฮฺ อัลอัมบิยาอ์/30 เข้ากับทฤษฎีที่บอกว่าโลกเคยเป็นส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์และแยกตัวออกมา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับบิกแบงที่บอกว่าโลกเคยรวมติดกับจักรวาลทั้งหมดในรูปของมวลเดียวกัน

ผมขอให้ท่านผู้อ่านได้อ่านข้อเท็จจริงของทฤษฎีนี้จากเว็ปของม.มหิดลดังนี้

“การกำเนิดโลก ความคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของโลกมีมากมายแต่สามารถแบ่งเป็น 2 ทฤษฎีหลักๆ ได้แก่ ทฤษฎีเนบูลา (nebular) และต่อมาได้พัฒนาเป็นทฤษฎีโปรโตแพลเนต (protoplanet) และทฤษฎีพลาเนตติซิมัล (planetesimal) (ภาพที่ 2 และ 3)

1. ทฤษฎีเนบูลา (nebular hypothesis) /ทฤษฎีโปรโตแพลเนต (protoplanet) อธิบายว่าสารที่เป็นต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์เป็นกลุ่มของเนบูลาซึ่งประกอบด้วยแก๊สและฝุ่นในท้องฟ้า ต่อมากลุ่มเนบูลาเหล่านี้ได้หดตัวและเกิดการหมุนขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก และทวีความเร็วขึ้นในระยะหลังทำให้เกิดจุดศูนย์กลางและมีวงแหวนหมุนรอบจุดศูนย์กลางได้มวลสารรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงจุดศูนย์กลาง การหดตัวเนื่องจากแรงดึงดูดนี้ทำให้เกิดความร้อนขึ้น กลุ่มแก๊สแต่ละกลุ่ม แต่ละวงแหวนได้ก่อกำเนิดเป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ กรณีนี้โลกอายุเท่ากับดวงอาทิตย์

การกำเนิดโลกตามทฤษฎีเนบูลา (nebular hypothesis) ทฤษฎีโปรโตแพลเนต กล่าวว่าในอวกาศมีกลุ่มหมอก ฝุ่นละออง และแก๊ส ลอยอยู่ ซึ่งต่อมาเกิดการหดตัวด้วยแรงดึงดูดของมวลของตัวเอง เกิดการรวมตัวกันเข้าสู่ศูนย์กลางหลายจุดซึ่งเป็นอิสระต่อกัน แต่ในที่สุดจุดศูนย์กลางเหล่านั้นถูกบีบอัดเข้าด้วยกันจนกลายเป็นดวงอาทิตย์ และมีสสารแยกตัวออกเป็นแผ่นบางๆ เหมือนจานลอยอยู่โดยรอบดวงอาทิตย์ แรงเสียดทานภายในจานดังกล่าวทำให้เกิดการไหลคล้ายกระแสน้ำวนในจาน ทำให้จานแตกแยกตัวออกเป็นมวลที่อัดแน่น เรียกว่าโปรโตแพลเนต (protoplanet) หลายๆ ชิ้น ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ รวมทั้งโลกด้วย สำหรับส่วนที่หลุดออกไปนอกวงโคจรจะกลายเป็น ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์น้อย

2. ทฤษฎีพลาเนตติซิมัล (planetesimal hypothesis) อธิบายว่าโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์ โดยเกิดจากการโคจรผ่านเข้ามาของดาวขนาดใหญ่มากดวงหนึ่ง แรงดึงดูดของดาวดวงนี้ได้ดึงเอาส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์แยกออกไปเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ ขึ้น กรณีนี้โลกของเรามีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์”
(ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/earth-science/chapter_intro.html)

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ทฤษฎีดังกล่าวเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกำเนิดโลกโดยระบุว่าโลกแยกตัวออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับบิกแบงที่พุดถึงกำเนิดจักรวาล!

ฉะนั้นการโยงฟัตวาคณะกรรมการถาวรไปหาบิกแบงจึงถือว่ามั่วนิ่ม

ประการที่สาม สาเหตุที่นักวิชาการตำหนิการอธิบายอัลกุรอานว่าโลกได้แยกตัวจากดวงอาทิตย์นั้น เพราะว่ามันเป็นการพูดในสิ่งที่ไม่มีจุดใดในอัลกุรอานสื่อถึง ชัยฺอับดุลอะซี้ส อัรรอญิฮีย์ระบุว่า

(أن السموات والأرض) وليس فيها أن الشمس والأرض كانتا رتقاً، ومع ذلك فهم في علومهم وفي النشرات يقولون: إن معنى الآية: أن الأرض جزء من الشمس ثم انفصلت وبردت، فصارت هذه أرض، وهذه شمس، وهذا من أبطل الباطل؛ لأن الآية صريحة في أن السموات والأرض وما فيها كانتا رتقاً، فيستدلون بهذه الآية ويفسرونها بأن الأرض كانت جزءاًً من الشمس فانفصلت، وقالوا هذا معنى قوله: أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا [الأنبياء:30]، وهذا موجود الآن في المؤلفات، وفي العلوم، وفي النشرات، ويقرره بعض علماء العلوم وغيرهم.

อัลกุรอานได้ใช้สำนวนว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลาย (จักรวาล) และแผ่นดิน (โลก) เคยรวมติดกัน ไม่ได้แปลว่าดวงอาทิตย์และโลกเคยติดกัน และควบคู่ไปกับสิ่งนั้น พวกเขาได้อธิบายว่า ความหมายของโองการนี้หมายถึงโลกเป็นส่วนหนึ่งจากดวงอาทิตย์ต่อมาได้เกิดการแยกตัวออกจากดวงอาทิตย์และก็ได้เย็นลง จนกระทั่งกลายเป็นโลกของเราและกลายเป็นดวงอาทิตย์ นี่คือที่สุดแห่งบรรดาความเท็จ เนื่องจากโองการดังกล่าวสื่อชัดเจนว่าชั้นฟ้าและโลกตลอดจนสิ่งที่อยู่ในมันได้ติดกัน ทว่าพวกเขาได้อ้างโองการนี้เป็นหลักฐานแล้วไปอธิบายว่าหมายถึงโลกเคยเป็นส่วนหนึ่งจากดวงอาทิตย์และแยกตัวออกมา และก็อ้างว่านี่คือความหมายของโองการนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่แพร่หลายอยู่ในข้อเขียนและวงวิชาการของพวกเขา

إذاً فهم يقولون: إنها جزء من الشمس، لكن هذا يحتاج إلى الدليل، والآية لا تدل على قولهم بأن الأرض جزء من الشمس، ثم انفصلت وبردت، وصارت أرضاً، ويقولون: إن هذا هو معنى قوله تعالى: أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا [الأنبياء:30] والله تعالى يقول: أَنَّ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضَ [الأنبياء:30]، وما قال: الشمس والأرض.

พวกเขาจึงได้อธิบายว่า แท้จริงแล้วโลกเป็นส่วนหนึ่งจากดวงอาทิตย์ แต่ทว่าเรื่องนี้ต้องการหลักฐานมาสนับสนุน และตัวของโองการเองไม่ได้สนับสนุนคำกล่าวของพวกเขาที่ว่าโลกมาจากดวงอาทิตย์และต่อมาก็แยกตัวออกและเย็นตัวลงจนกลายเป็นโลกอย่างที่เห็น พวกเขาอ้างว่านี่แหละคือความหมายของโอกงารที่กล่าวว่า บรรดาผู้ปฏิเสธมิได้มองดูหรือว่า ฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเคยติดกัน แล้วเราได้แยกมันออกจากกัน ทั้งที่อัลลอฮฺใช้สำวนว่า ชั้นฟ้าทั้งหลายและโลก โดยที่พระองค์ไม่ได้ใช้คำว่า ดวงอาทิตย์และโลก”

ที่มา : http://audio.islamweb.net/audio/index.php?page=FullContent&audioid=188288

โดยสรุปก็คือการคัดค้านของคณะกรรมการถาวรนั้นอยู่บนฐานที่ว่าตัวอัลกุรอานไม่ได้สื่อความหมายว่า โลกแยกจากดวงอาทิตย์ เขาจึงห้ามอธิบายด้วยแนวคิดนี้ซึ่งคนละเรื่องกับบิกแบง

ประการที่สี่ การที่คณะกรรมการถาวรได้ปิดท้ายว่า ห้ามนำอัลกุรอานไปอธิบายโยงกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ สำนวนนี้จะเอามาโมเมเหมาเข่งว่าหมายถึง บิกแบงไม่ได้ เพราะตัวคำอธิบายแบบบิกแบงมีความสอดคล้องกับพื้นฐานของตัฟซีรอยู่แล้ว (โปรดอ่านคำชี้แจงเบื้องต้นก่อนได้ที่ตอน 2 ที่ : https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2024987460850160&set=a.330383853643871.103944.100000167762885&type=3&theater) ซึ่งเราจะได้ชี้แจงอีกครั้งในอนาคตระหว่างความคล้ายคลึงของบิกแบงกับตัฟซีรของนักตัฟซีร อินชาอัลลอฮฺ

ฉะนั้นจะเอาข้อความในฟัตวาเพียงเท่านั้นมาคัดค้านบิกแบงจึงเป็นเรื่องโมเมลอยลม ยิ่งไปกว่านั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงการอ่านหนังสือไม่เข้าใจความต่างระหว่างเรื่อง كتلة واحدة ที่หมายถึง การที่จักรวาลเคยเป็นมวลเดียวกันตามคำอธิบายของบิกแบง กับเรื่อง الأرض جزء من الشمس โลกเป็นส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นการอ้างอิงแบบสุกเอาเผากินผมให้ทางออกไว้สามทางถึงการกระทำครั้งนี้ ท่านเลือกเอาเองนะครับ ด้วยความนับถือ

  • อ่อนด้อยทางภาษา จึงไม่เข้าใจความแตกต่างของสองคำนี้ ดังนั้นจึงเข้าใจพลาดไป
  • รู้ดีทุกอย่าง แต่หมกเม็ดเพื่อดึงเอามาสนับสนุนความคิดความเชื่อของตน
  • โง่วิทยาศาสตร์ แล้วเกะกะเกเรมาโชว์ภูมิรู้ของตนเอง

โปรดติดตามตอนต่อไป อินชาอัลลอฮฺ