[ฟัตวา] การถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าเลยตาตุ่ม เป็นปัญหาเห็นต่างหรือไม่?

คำถาม: เราสามารถนับเรื่องการถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ, การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าให้ลงมาเลยตาตุ่มโดยปราศจากการโอ้อวด ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นปัญหาที่สามารถเห็นต่างได้หรือไม่?

คำตอบ: อัลฮัมดุลิลละฮ์ อันดับแรกคือ ก่อนที่เราจะลงไปตัดสินว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้อยู่ในหมวดของเรื่องที่สามารถเห็นต่างกันได้หรือไม่นั้น เราก็ควรรู้จักกฏเกณฑ์ “การเห็นต่างที่อนุญาตก่อน” ที่เราจะกล่าวคือ ประเด็นปัญหาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในหมู่นักวิชาการ จะถือว่าเป็นปัญหาเห็นต่างที่ได้รับการยอมรับได้นั้น ต้องประมวลไว้ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ก่อน

1. ปัญหาที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกรุอานและฮะดีษหรือมติเอกฉันท์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว (ว่าเป็นเอกฉันท์จริง) คือปัญหาที่ไม่มีตัวบทจากวะฮีหรืออิจมาอฺเกิดขึ้น ฉะนั้นแล้วปัญหานี้จะตั้งอยู่บนฐานของการวิเคราะห์และวินิจฉัย อุละมาอ์มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ แน่นอนว่าอัลลอฮ์ได้ประทานให้กับบางคนในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานให้กับอีกคนในเรื่องของความสามารถในการพิจารณาและการวิเคราะห์ (ประเด็นปัญหา)

ท่านอิมามนะวาวีย์ -ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน- ได้กล่าวว่า: เช่นนั้นแหละพวกเขากล่าวว่า ไม่บังควรแก่ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาหรือผู้พิพากษาที่จะขัดขวางกับผู้ที่เห็นต่างจากเขาในเมื่อคนๆ นั้นยังไม่ได้ค้านกับตัวบทหรืออิจมาอฺหรือการเปรียบเทียบ (กิยาส) ที่มีความชัดเจน [ชะเราะฮ์มุสลิม (24/2)]

ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะกีดะฮ์หรือเรื่องฟิกฮฺ เรื่องที่เกิดการเห็นต่างและได้รับการให้อภัยนั้นโดยส่วนมากเป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ เพราะว่ามติของเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการที่มีต่อเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ท่านชัยคุลอิสลามอิบนิตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า: ไม่ต้องสงสัยเลยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ จะได้รับการให้อภัยกับประชาชาตินี้แม้ว่าความผิดพลาดนั้นจะอยู่ในปัญหาเรื่องวิชาการ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคนดีในประชาชาตินี้ก็ต้องพินาศกันเป็นแน่ [มัจมัวะฟะตาวา (165/20)]

2. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องแต่ไม่มีความชัดเจนในการที่จะถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆได้การเห็นต่างที่เกิดขึ้น ณ ที่นี้คือความเข้าใจซึ่งอัลลอฮ์ได้ทำให้ความเข้าใจนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันในหมู่มนุษย์

3. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่มีความชัดเจนที่จะถูกใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องของความถูกต้องของตัวบท หรือตัวบทนั้นถูกค้านจากสิ่งที่มีน้ำหนักจากหลักฐานตัวอื่น

พร้อมกันนั้นเองสิ่งที่ต้องระวังก็คือการเห็นต่างที่อนุญาตและได้รับการยอมรับนั้น มันจะต้องเป็นการเห็นต่างที่มีแหล่งที่มาจากนักวิชาการและนักการศาสนา ส่วนคนทั่วไปหรืออะไรทำนองนี้ การเห็นต่างของพวกเขาไม่มีประโยชน์อันใด และการชี้ขาด (ปัญหา) ของพวกเขา (ชาวบ้าน,คนทั่วไป) จะไม่ถูกนำมาพิจารณาเป็นบรรทัดฐาน

เมื่อประจักษ์แก่มุสลิมคนหนึ่งแล้วว่าแท้จริงประเด็นปัญหาหนึ่งที่เขาได้ยึดถือและบังคับใช้ฮุก่มอยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นที่สามารถเห็นต่างได้ ดังนั้นสมควรที่เขาจะต้องรับรู้ถึงสิ่งที่สำคัญต่างๆ ต่อไปนี้

1. เขาไม่มีสิทธิที่จะแสดงความไม่พอใจหรือตำหนิต่อผู้เห็นไม่ตรงกับเขา ท่านอิบนุรอญับ อัลฮัมบะลีย์ ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ได้กล่าวว่า ท่านอิสมาอีล บินซะอี้ด อัชชาลินญีย์ ได้กล่าวว่า ฉันได้ถาม อะหมัด คือ อิบนุ ฮัมบัลว่า การที่ชายคนหนึ่งได้ละหมาดสุนัตหลังจากเวลาอัซรฺในขณะที่ดวงอาทิตย์ยังคงส่องแสงและยังคงอยู่เหนือฟากฟ้า ท่านเห็นว่าการกระทำเช่นนี้บาปหรือไม่? ท่านอะหมัดตอบว่าเราจะไม่ทำและเราจะไม่ตำหนิผู้ที่ทำด้วย เขากล่าวว่าและสิ่งนี้คือสิ่งที่อบูฮะนีฟะฮฺได้กล่าวไว้

สิ่งดังกล่าวไม่ได้บ่งบอกว่าอิมามอะหมัดมองว่าเป็นเรื่องอนุญาต ทว่าอิมามอะหมัดนั้นเห็นว่าผู้ที่ทำเช่นนั้นอันเนื่องเกิดจากการตีความ หรือตามผู้ที่ตีความต่ออีกที เช่นนี้จะไม่แสดงความไม่พอใจและจะไม่ตำหนิเขา เพราะประเด็นดังกล่าวนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งจากประเด็นเห็นต่างที่อนุญาติให้เห็นต่างได้ [ฟัตฮุลบารีย์ ลิบนี่ รอญับ เล่ม 4 หน้า 127]

2. และจากประเด็นแรกเราจะไม่ฮุก่มผู้ที่ค้านกับเขาว่าเป็นพวกโง่เขลา พวกหลงทาง หรือพวกบิดอะฮฺ

3. ไม่อนุญาตให้ทะเลาะ แตกแยก ออกห่าง ในประเด็นปัญหาที่อนุญาตให้เห็นต่างได้

ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ขออัลลอฮฺเมตตาท่านได้กล่าวว่า ใครก็ตามที่ยึดถือทัศนะของอุลามาบางท่านในประเด็กปัญหาอิจติฮาดเขาจะไม่ถูกปฏิเสธและจะไม่ถูกละทิ้ง และใครก็ตามที่ยึดถือทัศนะหนึ่งจากสองทัศนะเขาก็จะไม่ถูกปฏิเสธ [มัจมัวะฟะตาวา เล่ม 20 หน้า 207]

ท่านอิบนุก็อยยิม ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ได้กล่าวว่า: และประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการขัดแย้งที่ไม่จำเป็นต้องวางตนเป็นศัตรู หรือแตกแยกกันในคำพูด และไม่จำเป็นต้องให้มันกระจัดกระจาย (เป็นเรื่องใหญ่โต) เพราะบรรดาซอฮาบะฮฺก็เห็นต่างกันในหลายๆ ประเด็นจากประเด็นปลีกย่อย เช่นเรื่องแบ่งมรดกระหว่างปู่ ย่า ตา ยาย กับพี่น้องหรือ แม่ของเด็กจะถูกปล่อยจากการเป็นทาสด้วยกับการตายของนายของนาง [อัซซอวาอิ้ก อัลมุรซะละฮฺ เล่ม 2 หน้า 517]

4. ประเด็นต่างๆ นี้จะวนอยู่กับเรื่องของผลบุญของผู้ที่วินิจฉัยผิดจะได้หนึ่งความดี และผู้ที่วินิจฉัยถูกจะได้สองความดี

จากท่านอัมรว์ บินอาซ แท้จริงเขาได้ยิน เราะซูลลุลลอฮฺได้กล่าวว่า เมื่อผู้พิพากษาได้ตัดสินและทำการวินิจฉัยจากนั้นหากเขาวินิจฉัยถูกเขาก็จะได้รับสองผลบุญ และหากว่าเขาวินิจฉัยผิดเขาจะได้หนึ่งผลบุญ [รายงานโดย บุคอรี 6919 มุสลิม 1716]

5. การที่ประเด็นหนึ่งเป็นประเด็นเห็นต่างที่เป็นที่อนุญาตให้เห็นต่างได้ ไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้ค้นคว้าวิชาการในประเด็นนั้นนะ ทว่าการค้นคว้าดังกล่าวนั้นเป็นความบากบั่น ณ ที่อุลามา ที่จะค้นคว้าวิชาการเช่นในหลายๆปัญหา และพวกเขาก็ได้แต่งหนังสือในเรื่องนั้น และทำการถกวิชาการกับผู้ที่เห็นไม่ตรงกับเขา หรือตอบโต้ในสิ่งที่พวกเขายึดถืออยู่ด้วยกับหลักฐาน และเป้าหมายของพวกเขาที่ทำเช่นนี้เพื่อในรับสองผลบุญ และพวกเขาก็รู้ว่าสัจธรรมนั้นจะอยู่ในทัศนะหนึ่งทัศนะใดจากบรรดาทัศนะต่างๆ ดังนั้นทุกๆ ท่านจึงแสวงหาที่จะประสบกับสัจธรรมในประเด็นปัญหาหนึ่ง

ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ได้กล่าวว่า แท้จริงแล้วดังเช่นประเด็นปัญหาที่ต้องการการวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกปฏิเสธด้วยกับมือและคนหนึ่งคนใดไม่มีสิทธิที่จะบังคับเขาในเรื่องดังกล่าว ทว่าจะพูดคุยกันด้วยหลักฐานทางวิชาการ ฉะนั้นใครก็ตามที่ทัศนะหนึ่งจากสองทัศนะชัดเจนซึ่งความถูกต้องแก่เขาแล้วก็จงยึดทัศนะนั้น และหากใครจะตามอุละมาอ์ที่ยึดทัศนะอื่นจากนั้นเขาก็จะไม่ถูกปฏิเสธ [มัจมูอฺ ฟะตาวา เล่ม 30 หน้า 80]

หลังจากนี้ เราขอกล่าวว่า:

1. ประเด็นปัญหา เรื่องการถ่ายรูป ตามฐานของมันนั้น เป็นการขัดแย้งที่อนุญาต; เพราะว่าการถ่ายรูปนั้นเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งไม่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ฉะนั้น โดยแน่นอน มันจึงไม่มีหลักฐานจากกุรอ่านซุนนะฮ์ หรืออิจมาอฺ และจุดของการขัดแย้ง อยู่ที่ว่า หลักฐานที่เป็นหะดีษ ครอบคลุมมัน หรือไม่ครอบคลุม และนี่คือจุดที่ใช้การอิจติฮาดแบบไม่เป็นที่สงสัย และด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่ต้องตื่นตระหนก ที่เกิดการขัดแย้งกันของปรวงปราชญ์ในยุคสมัยนี้ ในประเด็น ปัญหาดังกล่าว และโปรดดู สิ่งที่เราได้เขียนมัน ถึงหุก่มของการถ่ายรูป ใน (22660) และ (8954)

2. และส่วนประเด็นปัญหาเรื่องการละหมาดญะมาอะฮ์: แท้จริงนั้น มีหลักฐานที่ชัดเจนมากมายที่บ่งชี้ว่า มันเป็นวาญิบ ในกุรอ่านและซุนนะห์, อัลเลาะห์ตะอาลา ได้สั่งใช้ให้ทำการละหมาด ญะมาอะห์ ระหว่างที่กำลังญิฮาดอยู่, และท่านนบี ตั้งใจที่จะเผาบ้านของคนที่ละหมาดที่บ้านของเขา แล้วละทิ้งญะมาอะห์ที่มัสยิด เช่นเดียวกับที่มีคำพูดของบรรดาศอฮาบะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม ที่จะมาเน้นย้ำ ฮุก่มวาญิบนี้ อันซึ่งมียืนยันในซุนนะห์ อันประเสริฐ เช่น คำพูดของท่าน อิบนุ มัสอู๊ด ร่อฎิยัลลอฮุตะอาลา ในเรื่องที่ว่า จำเป็นที่จะต้องละหมาดเป็นญะมาอะห์ที่มัสยิด และใครที่ล่าช้าจากหมาดญะมาอะห์ เขาคนนั้นก็คือ มุนาฟิก เป็นที่รับรู้กันได้ถึงการกลับกรอก, และต่อไปนี้จะเป็นคำกล่าวของ อัตตาบิอีน

ท่านอิบนุมุนซิร เราะฮิมะฮุลเลาะฮ์ กล่าวว่า : “และในการแน่วแน่ของท่านนบี ที่จะทำการเผาบ้านของกลุ่มชนที่ ล่าช่าในการละหมาดญะมาอะห์ เป็นที่เข้าใจได้ว่า สิ่งนี้ คือ วาญิบ ฟัรฎู ญะมาอะห์ (จำเป็นต้องทำทุกคน) ; โดยไม่อนุญาตให้ท่านร่อซู้ล ของอัลเลาะห์ ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ทำการเผาบ้าน ของบรรดาผู้ที่ล่าช้าจากการ
หมาด สุนัต และจากสิ่งที่ไม่ใช่ฟัรฎู” [อัลเอาสัท (4\134)]

พร้อมกันนั้นบรรดาอุละมาอ์ เราะฮิมะฮุลเลาะห์ ได้ขัดแย้งในเรื่องการละหมาดญะมาอะห์ 4 ทรรศนะ ด้วยกัน

2.1. มันคือฟัรฎูอัยนฺ (จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำ) และนี่คือ ทรรศนะของอิมามอะห์หมัด และคนอื่นๆ จากปรวงปราชญ์สลัฟ และบรรดานักฟิกฮฺที่เชี่ยวชาญหะดีษ

2.2. มันคือฟัรฎูกิฟายะห์ และนี่คือ ทรรศนะที่มีน้ำหนักในมัซฮับชาฟิอีย์ และเป็นทรรศนะบางส่วนของอุละมาอ์ มัซฮับมาลิกกีย์ และเช่นเดียวกัน มันคือทรรศนะหนึ่งของมัซฮับ อิมามอะห์หมัด

2.3. กลุ่มที่ 3 ยึดทรรศนะว่าเป็นซุนนะห์มุอักกะดะห์ (ซุนนะห์ที่ท่านนบี ทำเป็นประจำ) และนี่คือ ทรรศนะของอุละมาอ์มัซฮับอบีหะนีฟะห์ และส่วนใหญ่ของอุละมาอ์มัซฮับมาลิก และอุละมาอฺของมัซฮับชาฟิอีย์ อีกมากมาย และมีกล่าวรายงานถึงอิมามอะห์หมัด ว่ายึดทรรศนะนี้ด้วย

2.4. อุละมาอ์บางส่วนยึดทรรศนะว่า การละหมาดญะมาอะห์นั้นเป็นฟัรฎูอัยน์ (จำเป็นที่ทุกคนต้องทำ) และเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การละหมาดใช้ได้, นี่เป็นทรรศนะ ของอุละมาอ์กลุ่มหนึ่งของ มัซฮับอิมามอะห์หมัด รุ่นก่อนๆ และกลุ่มหนึ่งจากชาวสลัฟ และอิบนุฮัซมิน ได้เลือกทรรศนะนี้ และมีกล่าวถึงชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์อยู่ในหนึ่งในสองนี้

ฉะนั้น สิ่งที่เราได้กล่าวไปแล้ว ถึงการขัดแย้งกันระหว่างอุละมาอ์ ในฮุก่มของการละหมาดญะมาอะห์ เป็นการอธิบายผู้ค้นคว้าว่า การขัดแย้ง ในเรื่องการละหมาดญะมาอะห์ เป็นวาญิบ มันคือ การขัดแย้งที่อนุญาต และเรา – ในเว็บของเรา – เราให้น้ำหนักไปที่ทรรศนะ จำเป็นต้องละหมาดญะมาอ์ที่มัสยิด , และเราได้กล่าวถึงหลักฐานต่างๆ จากกุรอ่านหะดีษ ที่บ่งชี้ว่ามันเป็นวาญิบ และเราได้ ทำให้มันยิ่งใหญ่ ด้วยคำพูดต่างๆ ของบรรดาปรวงปราชญ์ ในการตอบคำถาม (120) และ (8918) และ (40113)

3. ส่วนประเด็นปัญหาเรื่อง การไว้ชายกางเกงเลยตาตุ่ม: แน่นอนว่ามีอิจมาอฺว่าหะรอม สำหรับผู้ที่ปล่อยให้ชายกางเกงของเขาเลยตาตุ่มโดยเจตนา โอ้อวด แต่ส่วนผู้ที่ปล่อยชายกางเกงลงมาโดยไม่ได้โอ้อวดนั้น มันก็มีการขัดแย้งกันตรงส่วนนี้ ซึ่งถูกนำไปพิจารณาระหว่างอุละมาอ์ ตามสาเหตุของการขัดแย้งของพวกเขาว่า หลักฐานที่ถูกต้อง ถูกเข้าใจโดยทั่วไปเลยไหมว่า หมายถึงห้ามปล่อยชายกางเกงเลยตาตุ่มโดยเจาะจงว่าโอ้อวด? และอุละมาอ์ส่วนมากยึดทรรศนะนี้ พวกเขาจึงถือ ความเข้าใจจากบรรดาหะดีษ ในเรื่องการห้ามปล่อยชายกางเกงเลยตาตุ่มโดยเจาะจงโอ้อวด และพวกเขามองว่าการปล่อยชายผ้าเลยตาตุ่ม ไม่เป็นไร หากกว่า คนๆนั้น ปราศจากการโอ้อวด, แต่อุละมาอ์บางส่วนได้ขัดแย้งพวกเขาโดยที่พวกเขาไม่ได้กำหนดเจาะจงการห้ามปล่อยชายผ้า เลยตาตุ่ม ด้วยกับการโอ้อวด แต่ทว่า พวกเขา ทำให้ทั้งอย่าง (ชายผ้าเลยตาตุ่มและโอ้อวด) เป็นฮุก่มเดียวกัน บาปเดียวกัน บทลงโทษเดียวกัน , และนี่คือส่วนหนึ่งของประเด็นปัญหาของความเข้าใจ และการขัดแย้งในมันนั้น ถือว่าเป็นที่อนุญาต

และไม่เป็นที่ต้องห้าม – ดังที่เราได้กล่าวมันไปก่อนหน้าแล้ว – ตัวของประเด็นปัญหา จากบรรดาประเด็นปัญหาของขัดแย้งที่อนุญาต. ไม่ได้ห้ามให้มุสลิมคนหนึ่ง หยุดค้นหามัน โดยตั้งใจที่จะเอา 2 ผลบุญ. และเรา ในจุดยืนของเรานี้ เรายีดฮุก่มที่ว่า ห้ามปล่อยชายกางเกงเลยตาตุ่มแบบทั่วไป ถึงแม้เขาจะไม่ได้ตั้งใจใส่ให้เลยตาตุ่ม แบบโอ้อวดก็ตาม

และเราได้กล่าว ประเด็นปัญหา ด้วยกับหลักฐานต่างๆของมัน และเราได้อธิบายในด้านทรรศนะของเรา ที่ว่าหะรอมทั่วไป ในการปล่อยชายกางเกงเลยตาตุ่ม ในถามตอบ (72858) , (102260) , (111852)

วัลลอฮุอะอฺลัม

อ้างอิง: https://islamqa.info/ar/177830