คำถาม : ผมได้ยินท่านชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน กล่าวในเทปบรรยายแรกจาก การอธิบายหนังสือ “ซาดุ้ลมุสตัฆนิอฺ” ว่า การตักลีด (เลียนแบบตามผู้รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งในศาสนา ผู้แปล) เป็นที่ต้องห้าม ไม่อนุญาติให้คนหนึ่งคนใดปฏิบัติโดยปราศจากหลักฐาน และบรรดาผู้รู้ไม่ได้เรียกคนที่เลียนแบบตามผู้อื่นว่าเป็นผู้รู้ และผมมีคำถามจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมหวังว่าชัยคฺจะตอบมันทีละคำถามก็คือ
ที่ชัยคฺ (อุษัยมีน) หมายถึง คือ การตักลีดเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาอย่างเดียวใช่ไหมครับ หรือว่าสำหรับคนทั่วไปด้วย? และถ้าหากว่ามันเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาและคนทั่วไป แล้วคนทั่วไปจะรู้จักหลักฐานได้อย่างไรละครับ และอะไรคือความแตกต่างระหว่างคนทั่วไปและนักศึกษาศาสนา?
และผมหวัง (คำแนะนำ) จากชัยคฺว่า อะไรคือแนวทางที่นักศึกษาศาสนาควรปฏิบัติเพื่อออกห่างจากการตักลีด คือ เขาจะต้องท่องจำอัลกุรอาน และตัวบทฮะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวกับฮูก่มข้อตัดสิน เป็นต้น หรือว่าเขาจะต้องทำอะไรดีครับ?
และคำถามสุดท้ายของผม ซึ่งมันสำคัญสำหรับผมมาก ผมขอความกรุณาให้ชัยคฺช่วยตอบคำถามอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยครับคือ ผมจะทำอย่างไรดีครับ ถ้าหากว่าผมฟังเทปบรรยายเกี่ยวกับฟิกฮฺ หรือฟังผู้บรรยายคนหนึ่ง หรืออะไรก็ตาม อาทิ เช่น เทปบรรยายหนังสือ “อัคศอรุ้ล มุคตะศอรอต” ของท่านชัยคฺซอลิฮ์ เฟาซาน ตัวอย่างเช่น ขณะที่ชัยคฺกล่าวว่า :
“มีซุนนะห์ ขณะลุกขึ้นมาจากสุญูด ให้เอามือทั้งสองค้ำยันไปบนหัวเข่าทั้งสองข้าง” ดังนั้นเรื่องนี้เราจึงรู้จักมัน และสิ่งนี้ถูกให้เป็นซุนนะห์สำหรับเรา แต่ทว่า ไหนหลักฐาน และเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเราหรือไม่ที่จะทำแบบนั้น เพราะมัน (การทำตามคำพูดชัยค์เฟาซานข้างต้น ผู้แปล) คือการตักลีด เพราะไม่งั้นแล้วเราจะต้องรู้จักหลักฐาน
และเช่นเดียวกันในตัวบทของหนังสือ “ซาดุ้ลมุสตัฆนิอฺ” แทบจะไม่ได้กล่าวถึงหลักฐานเลย แล้วเราจะรวมคำพูดของชัยคฺอัษัยมีน กับเรื่องนี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร?
ขอบคุณครับ
คำตอบ : อัลฮัมดุลิ้ลละห์
ประการแรก
การตักลีดคือ การยอมรับคำพูดของบุคคลอื่นโดยปราศจากหลักฐาน และคนที่ทำการตักลีดไม่ได้ถูกนับเป็นหนึ่งในบรรดาผู้รู้โดยการเห็นพ้องกัน
ท่านอิบนุ อับดิลบัรรฺ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ กล่าวว่า : “และบรรดาผู้รู้และพิจารณาได้กล่าวกันว่า : ขอบเขตของความรู้ คือ การทำให้ชัดเจน และการรับรู้ถึงข้อมูลตามสิ่งที่มันเป็นอยู่ ดังนั้นใครก็ตามที่สิ่งนั้นๆ ได้เป็นที่ชัดเจนสำหรับเขาแล้ว เขาย่อมรู้ถึงสิ่งนั้นแล้ว พวกเขายังกล่าวอีกว่า : และคนที่ตักลีด (เลียนแบบตาม) คือคนที่ไม่มีความรู้ และพวกเขา (บรรดาผู้รู้) ไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องดังกล่าวนี้” จบคำพูด จากหนังสือ “ญามิอุ บะยานิ้ล อิ้ลมฺ วะฟัฎลิฮี” เล่ม 2 หน้าที่ 992
และอัชเชากานีย์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ กล่าวว่า : “ส่วนการตักลีดนั้น : คำเดิมของมันในด้านภาษา ถูกนำมาจากคำว่า กิลาดะ (ที่แปลว่า สร้อยคอ ผู้แปล) ซึ่งเขาได้สวมใส่มันให้กับผู้อื่น และส่วนหนึ่งของคำๆ นี้ คือ การเลียนแบบแนวทาง ประหนึ่งว่า คนที่เลียนแบบได้ได้ทำให้ข้อตัดสินดังกล่าวที่เขาได้เลียนแบบตามผู้วินิจฉัยในเรื่องนั้น เป็นเหมือนกับสร้อยที่อยู่ที่คอของคนที่เขาลียนแบบตาม และในทางวิชาการ : คือ การปฏิบัติตามคำพูดของบุคคลอื่นโดยที่ยังไม่มีหลักฐาน
ประการที่สอง
ท่านชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ไม่ได้ห้ามการตักลีด (สำหรับคนทั่วไป-ผู้แปล) ในที่ที่ได้กล่าวมาข้างต้น และก็ไม่ได้ห้ามในที่อื่นๆ อีกด้วย นอกเสียจากว่าท่านได้ห้ามสำหรับบรรดาผู้รู้และนักศึกษาศาสนาที่รับรู้ถึงหลักฐานต่างๆ และพิจารณาในหลักฐานนั้นได้เท่านั้น ส่วนคนทั่วไป การตักลีดในสิทธิของพวกเขาถือเป็นที่อนุญาต ซ้ำยังเป็นสิ่งจำเป็นด้วยซ้ำไป
ท่านชัยคฺ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวเอาไว้ในบทนำของหนังสือ “อัรชัรฮุ้ลมุมติอฺ อะลา ซาดิ้ล มุสตัฆนิอฺ” เล่ม 1 หน้าที่ 16 ว่า : “และเป็นที่ทราบดีจากคำพูดของเราที่ว่า “ด้วยกับหลักฐานของมัน” ก็คือ คนที่ตักลีด ไม่ถือเป็น ผู้ที่เข้าใจศาสนา เพราะว่าเขาไม่ได้รู้ถึงฮูก่มข้อตัดสินต่างๆ ด้วยกับหลักฐานของมัน โดยจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ได้กล่าวไปนั้น คือ เขา (คนที่ตักลีด) ทบทวนมันซ้ำไปซ้ำมาตามที่อยู่ในหนังสือเท่านั้น และท่านอิบนุ อับดิล บัรรฺ ได้รายงาน มติเอกฉันท์ในเรื่องดังกล่าวนี้เอาไว้
และด้วยกับสิ่งนี้เอง เราจึงรู้ถึงความสำคัญของการรู้จักหลักฐาน และจำเป็นสำหรับนักศึกษาศาสนาที่จะต้องรับเอาประเด็นต่างๆ ด้วยกับหลักฐานของมัน และสิ่งนี้แหละที่จะทำให้เขารอดพ้น ณ ที่อัลลอฮตะอาลา เพราะว่าอัลลอฮจะกล่าวกับเขาในวันกิยามะห์ว่า : “พวกเจ้าได้ตอบรับบรรดารอซู้ลอย่างไร?” ซูเราะห์ อัลเกาะศอศ อายะห์ที่ 65 และพระองค์จะไม่ทรงถามว่า : “พวกเจ้าตอบรับผู้แต่งคนนั้นอย่างไร” ดังนั้นแล้วจำเป็นที่เราจะต้องรู้ว่าบรรดารอซู้ลกล่าวอะไรไว้ เพื่อเราจะได้ปฏิบัติตามมัน
แต่ทว่าการตักลีดในภาวะจำเปน ถือเป็นที่อนุญาต เนื่องจากคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า :
فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لاَ تَعْلَمُونَ
“สูเจ้าทั้งหลายจงถามบรรดาผู้รู้ หากสูเจ้าทั้งหลายไม่รู้” ซูเราะห์ อันนะฮฺ อายะห์ 43
ดังนั้นแล้วถ้าหากว่าเราไม่สามารถรู้ถึงสัจธรรมด้วยกับหลักฐานของมัน ก็จำเป็นที่เราจะต้องถาม และด้วยเหตุนี้เองท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮจึงกล่าวว่า :
“แท้จริงการตักลีดนั้น อยู่ในสถานะของการกินซากศพ ถ้าหากว่าเขามีความสามารถดึงหลักฐานออกมาได้ด้วยตัวเอง การตักลีดก็ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับ” จบคำพูดของชัยคฺ
ดังนั้นใครก็ตามที่ไม่สามารถรู้ถึงสัจธรรมด้วยกับหลักฐานของมันได้ ก็จำเป็นที่เขาจะต้องถาม หมายความว่า ตักลีด (เลียนแบบตาม) คนที่รู้มากกว่าเขานั่นเอง
และท่านชัยคฺอุษัยมีน รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้ถูกถามว่า : อะไรคือสิ่งจำเป็นสำหรับคนทั่วไป และคนที่ไม่มีความสามารที่จะแสวงหาความรู้ได้?
ท่านชัยคฺ ได้ตอบว่า : “จำเป็นสำหรับคนที่ไม่มีความรู้และไม่มีความสามารถในการวินิจฉัย ที่เขาจะต้องถามบรรดาผู้รู้ เนื่องจากคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า :
فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لَا تَعْلَمُونَ
“สูเจ้าทั้งหลายจงถามบรรดาผู้รู้ หากสูเจ้าทั้งหลายไม่รู้” ซูเราะห์ อัลอัมบิยาอฺ อายะห์ที่ 7
และอัลลอฮตะอาลาไม่ได้ทรงสั่งใช้ให้ถามพวกเขานอกเสียจากว่าจะให้ยึดเอาคำพูดของพวกเขาเท่านั้น และนี่แหละ คือ การตักลีด
แต่ทว่าเป็นที่ต้องห้ามในการตักลีด ที่จะยึดถือมัสฮับใดมัสฮับหนึ่งเป็นการเจาะจงซึ่งเขาได้ยึดเอามัสฮับนั้นในทุกสภาพการณ์ และก็คิดว่าสิ่งดังกล่าวนั้นคือเส้นทางที่นำไปสู่อัลลอฮ อัซซะวะญั้ล แล้วเขาก็ยึดเอามันแม้ว่าจะค้านกับหลักฐานก็ตาม
ส่วนคนที่มีความสามารถในการวินิจฉัย อาทิเช่น นักศึกษาศาสนาซึ่งมีความรู้ สำหรับเขา คือ การพยายามวินิจฉัยในหลักฐานต่างๆ และยึดเอาสิ่งที่เขาเห็นมันถูกต้อง หรือ ใกล้เคียงกับความถูกต้องมากที่สุด
และส่วนคนทั่วไปและนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ๆ ก็ให้เขาพยายามในการตักลีด (เลียนแบบตาม) คนที่เขามองว่าใกล้เคียงกับสัจธรรมมากที่สุด เนื่องจากเขามีความรู้ที่มากมาย มีศาสนาและความยำเกรงที่เข้มแข็ง” จบคำพูดของชัยคฺอุษัยมีน จากหนังสือ “กิตาบุ้ล อิ้ลมฺ” หน้าที่ 153
ดูคำตอบของคำถามหมายเลข 215535 ได้ ซึ่งเราได้นำเสนอในคำตอบนั้น มาจากท่านชัยคฺ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ว่า คนทั่วไปจะต้องยึดถือในสิ่งที่บรรดาผู้รู้ของพวกเขายึดถือ
อันดับสาม
ผู้คนทั้งหลาย มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน :
หนึ่ง : มุจตะฮิด (ผู้รู้ระดับผู้นิจฉัย) คือ บุคคลที่เขามีความสามารถในการวินิจฉัยข้อตัดสินต่างๆ จากตัวบทของอัลกุรอานและซุนนะห์ได้โดยตรง ดังนั้นบุคคลประเภทนี้จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตัวเอง และการตักลีดเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา
สอง : นักศึกษาศาสนาที่มีประสบการณ์ในการแสวงหาความรู้จนกระทั่งเขามีความสามารถในการให้น้ำหนักระหว่างคำพูดต่างๆ ของบรรดาผู้รู้ได้ แม้ว่าเขาจะไม่ถึงระดับขั้นของการวินิจฉัยก็ตาม ดังนั้นบุคคลประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องตักลีดตามผู้รู้คนใด หากแต่ว่าเขาจะต้องเปรียบเทียบระหว่างคำพูดของบรรดาผู้รู้และหลักฐานของคำพูดต่างๆเหล่านั้น และปฏิบัติตามสิ่งที่ปรากฏสำหรับเขาว่าเป็น ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด
สาม : คนทั่วไปซึ่งไม่มีความรู้ทางบทบัญญัติพอที่จะทำให้เขาคู่ควรกับการให้น้ำหนักระหว่างคำพูดต่างๆ ของบรรดาผู้รู้ได้ นอกเหนือไปจากว่าต้องมีการวินิจฉัยเท่านั้น ดังนั้นบุคคลประเภทนี้จำเป็นที่เขาจะต้องสอบถามบรรดาผู้รู้ แล้วปฏิบัติตามคำพูดของพวกเขา และนี่แหละ คือ การตักลีด อัลลอฮตะอาลาทรงตรัสว่า :
فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لَا تَعْلَمُونَ
“สูเจ้าทั้งหลายจงถามบรรดาผู้รู้ หากสูเจ้าทั้งหลายไม่รู้” ซูเราะห์ อันนะฮฺ อายะห์ 43
ไปดูการอธิบายประเภทต่างๆ เหล่านี้ได้ ในคำถามของคำถาม หมายเลข 215535 และหมายเลข 224164
ประการที่สี่
แนวทางต่างๆ ของการแสวงหาความรู้มีมากมาย ส่วนหนึ่งของมันคือ การท่องจำอัลกุรอ่าน และท่องจำซุนนะห์ของท่านนบีเท่าที่จะทำได้ ท่องจำตัวบทหนังสือต่างๆทางวิชาการ และรับความรู้จากบรรดาผู้รู้ที่เชื่อถือได้ และด้วยกับสิ่งนี้แหละนักศึกษาศาสนาอาจจะไปถึงขั้นที่สามารถพิจารณาและให้น้ำหนักระหว่างคำพูดของบรรดาผู้รู้ได้
ดูเพิ่มเติมได้ที่คำตอบของคำถาม หมายเลข 148057 และส่วนมุจตะฮิด (ระดับผู้วินิจฉัย) นั้น มีเงื่อนไขต่างๆ ที่บรรดาผู้รู้ได้ชี้แจงเอาไว้ โดยได้กล่าวผ่านมาแล้ว ในคำตอบของคำถาม หมายเลข 145071 และ หมายเลข 128024
ประการที่ห้า
หนังสือมะตั่น (ตัวบทต่างๆ) ทางด้านฟิกฮฺ โดยส่วนมากจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการกล่าวถึงหลักฐานเสียเท่าไร เพราะมันถูกประพันธ์ขึ้นบนการสรุปแบบรวบรัด ดังนั้นใครก็ตามที่ต้องการหยุดอยู่บนหลักฐานต่างๆ ของทุกมัสฮับ ก็ให้เขากลับไปหาหนังสือที่มีเนื้อหายาว (ที่ถูกประพันธ์ขึ้นแบบละเอียดของมัสฮับนั้นๆ) หรือ หนังสือต่างๆ ที่เจาะจงเฉพาะการกล่าวถึงข้อขัดแย้งทางด้านฟิกฮฺและการให้น้ำหนักระหว่างทัศนะต่างๆ เช่น หนังสือ “อัลเอาซัฏ” ของท่าน อิบนุมุนซิร, หนังสือ “อัตตัมฮีด” ของท่านอิบนิ อับดิลบัรรฺ , หนังสือ “อัลมุฆนีย์” ของท่าน อิบนิ กุดามะห์ ,หนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏอร” ของ ท่านเชากานีย์ และหนังสือเล่มอื่นๆ นอกจากนี้
ประการที่หก
เมื่อนักฟิกฮฺท่านนั้นกล่าวว่า “มีซุนนะห์แบบนั้นๆ” ฐานเดิมคือเรื่องนี้เนื่องจากมีหลักฐานจากซุนนะห์บ่งชี้ถึงมันอยู่ และบางทีมันก็อาจเป็นไปเนื่องจากหลักฐานทางสติปัญญา ซึ่งก็ คือ การกิยาส (การเทียบเคียง) และโดยส่วนมากจะกล่าวในขณะนั้นว่า : ส่งเสริมให้กระทำ
และคำพูดที่คุณกล่าวถึงเกี่ยวกับคำอธิบายหนังสือ “อัคศะรุ้ล มุคตะศอรอต” ไม่มีคำว่า “มีซุนนะห์” โดยท่านชัยคฺได้กล่าวเอาไว้หนังสือ “อัคศะรุ้ลมุคตะเศาะรอต” หน้าที่ 113 ว่า :
“หลังจากนั้นก็ให้เขายืนขึ้นกล่าวตักบีรโดยอาศัยเข่าทั้งสองค้ำยันด้วยกับมือทั้งสองข้าง แล้วถ้าหากว่ามันยากลำบาก ก็ให้ค้ำยันด้วยกับพื้นแทน” จบคำพูด
และท่านชัยคฺซอลิฮ์ เฟาซาน ก็ไม่ได้กล่าวในคำอธิบายของท่านว่า “มีซุนนะห์” เลยแต่ที่จริงแล้วท่านกล่าวว่า ท่าทางนี้สำหรับคนที่แข็งแรงและมีความกระฉับกระเฉงเท่านั้น โดยเขาลุกขึ้นยืนโดยใช้ปลายนิ้วเท้าของเขา และอาศัยมือทั้งสองข้างยันไปบนหัวเข่า ส่วนคนที่อ่อนแอก็ให้ใช้มือทั้งสองข้างยันไปที่พื้น
และมัสฮับฮัมบาลีย์ได้อ้างอิงหลักฐานให้กับการกรทำนี้ด้วยกับฮะดีษของท่านอบีฮุรอยเราะห์ที่ว่า :
كان ينهض على صدور قدميه
“ท่านรอซู้ลได้เคยยืนขึ้นโดยใช้ปลายนิ้วเท้า”
และในฮะดีษของท่าน วาเอ้ล บิน ฮัจรฺ :
وإذا نهض ، نهض على ركبتيه، واعتمد على فخذيه
“เมื่อท่านรอซู้ลได้ยืนขึ้น ท่านยืนโดยเข่าทั้งสอง และยันไปบนขาอ่อน”
รายงานโดย อบูดาวูด จบคำพูดจากหนังสือ “มะนารุซซะบีล” เล่ม 1 หน้าที่ 93
และชัยคฺอัลบานีย์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้ให้สถานะฮะดีษทั้งสองบทว่า อ่อน ดูได้ที่ หนังสือ “อิรวาอุ้ลเฆาะลี้ล” เล่ม 2 หน้าที่ 81-84 ฮะดีษหมายเลข 362 และ 363
และถือว่าไม่มีปัญหาอะไรในการตักลีด (เลียนแบบตาม) มัสฮับฮัมบาลีย์ หรือ มัสฮับอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องดังกล่าวนี้ หรือ ในประเด็นฟิกฮฺต่างๆ สำหรับคนทั่วไป หรือ คนที่มีสิ่งใดก็ตามในประเด็นหนึ่งๆ เป็นการเฉพาะ ซึ่งยังไม่เป็นชัดเจนสำหรับเขา ตามสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว
และถึงแม้ว่าที่ชัดเจนกว่าในประเด็นนี้ คือ การนั่งอิสติรอฮะ (การนั่งพักหลังจากเงยขึ้นมาจากสุญูดครั้งที่สองที่อยู่ระหว่างร็อตอัตหนึ่งและสาม ผู้แปล) และใช้มือทั้งสองยันพื้นเมื่อยืนขึ้นลุกขึ้นจากการนั่ง
ท่านชัยคฺ อัลบานีย์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ กล่าวว่า :
“และพร้อมกับการอ่อนของฮะดีษบทนี้ ที่จริงแล้วได้มีฮะดีษที่ถูกต้องอีกสองบทได้ค้านกับมันด้วย :
ฮะดีษแรก : ฮะดีษ อบี ฮะมีด อัซซาอิดี ที่ผ่านมาแล้วหมายเลข 305 และในมัน (ฮะดีษบทดังกล่าว) หลังจากที่ท่านได้กล่าวถึงการสุญูดครั้งที่สองจากร็อกอัตแรกว่า : “หลังจากนั้น เขา (ท่านรอซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม) ก็กล่าวว่า : อัลลอฮุอักบัร หลังจากนั้น ท่านก็ชันเท้าของท่าน และท่านก็นั่ง และตั้งตรงจนกระทั่งกระดูกทุกส่วนกลับไปอยู่ในที่ของมัน หลังจากนั้นท่านก็ลุกขึ้นยืน”
ฮะดีษที่สอง : รายงานจากท่าน มาลิก บิน อัลฮุวัยริษ ท่านได้เคยกล่าวว่า : “ฉันจะเล่าถึงการละหมาดของท่านรอซูลุ้ลลอฮให้พวกท่านฟังเอามั้ย? แล้วเขา (ท่านฮุวัยริษ) ก็ละหมาดในเวลาที่ไม่ใช่เวลาละหมาด แล้วเมื่อท่านเงยศีรษะขึ้นจากสูญูดครั้งที่สองในร็อกอัตแรก ท่านได้นั่งพัก หลังจากนั้นท่านก็ลุกขึ้นแล้วเอามือยันพื้น”
รายงานโดย อัชชาฟิอีย์ ในหนังสือ “อัลอุมมฺ” เล่ม 1 หน้าที่ 101 และ ท่าน อิบนุ อบี ชัยบะห์ 1/158/1 และท่าน นะซาอีย์ เล่ม 1 หน้าที่ 173 และท่านบัยฮะกีย์ 2/124/135 และท่าน อัซซัจรอจ เล่ม 2 หน้าที่ 108 จากท่าน อับดุลวะฮาบ บิน อับดุลมะญีด อัษกอฟีย์ จากท่าน คอลิด อัลฮิซาอฺ จากท่าน อบีกิลาบะห์ กล่าวว่า : ท่านมาลิก บิน อัลฮุวัยริษได้มาหาพวกเรา แล้วท่านก็กล่าว และเล่าถึงมัน (ฮะดีษดังกล่าวข้างต้น)
ฉันขอกล่าวว่า : ฮะดีษนี้สายรายงานถูกต้องตามเงื่อนไขของบุคอรีและมุสลิม
และได้รายงานโดยท่านบุคอรี เล่ม 1 หน้าที่ 211 และท่านบัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้าที่ 123 จากกระแสของท่านวะฮัยบฺ จากท่าน อบี กิลาบะห์ กล่าวว่า : ท่านมาลิก บิน อัลฮุวัยริษ ได้มาหาเราและนำละหมาดพวกเราในมัสยิดของพวกเราหลังนี้ แล้วท่านฮุวัยริษก็กล่าวว่า : “แท้จริงฉันจะนำละหมาดพวกท่าน และฉันไม่ได้ต้องการละหมาด (ฟัรดูใดๆ ผู้แปล) แต่ทว่าฉันต้องการให้พวกท่านได้เห็นว่าฉันเห็นท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมละหมาดอย่างไร” ท่านอัยยูบจึงกล่าว : แล้วฉันก็กล่าวกับท่านอบีกิลาบะห์ว่า : การละหมาดของเขา (ท่านฮุวัยริษ) เป็นอย่างไร? ท่านอบูกิลาบะห์ จึงกล่าวว่า : ก็เหมือนกับการละหมาดของชัยคฺของเรา หมายถึง ท่าน อัมรฺ บิน สะละมะห์ (ศอฮาบะห์รุ่นเยาว์) ท่านอัยยูบกล่าวว่า : และชัยคฺคนดังกล่าว ได้ตักบีรอย่างสมบูรณ์ และเมื่อเขาเงยศีรษะขึ้นจากการสุญูดครั้งที่สอง ท่านก็ได้นั่ง และใช้มือยันพื้น หลังจากนั้นท่านก็ลุกขึ้นยืน”
และท่านฮัมมาด บิน เซด ได้รายงานกระแสเสริมติดตามมาคล้ายๆ กันจากท่านอัยยูบ ด้วยกับถ้อยคำที่ว่า : “ปรากฏว่าเมื่อท่านรอซู้ลเงยศีรษะขึ้นมาจากการสุญูดร็อกอัตที่หนึ่งและสามซึ่งไม่มีการนั่งในมัน (ร็อกอัตดังกล่าว) ท่านก็นั่งพักหลังจากนั้นก็ยืนขึ้น”
รายงานโดย อัฏฏอฮาวี เล่ม 2 หน้าที่ 405 และอะฮฺหมัด เล่ม 5 หน้าที่ 53,54 และมันเป็นฮะดีษที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
และท่านฮะชีม ได้รายงานกระแสเสริมติดตามกันมาจากท่านคอลิดโดยสรุป ด้วยกับถ้อยคำที่ว่า : “แท้จริงเขาเห็นท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมละหมาด โดยถ้าหากว่าในร็อกอัตที่มีจำนวนคี่ในละหมาด ท่านรอซู้ลจะไม่ลุกขึ้นยืนจนกว่าท่านจะนั่งพักเสียก่อน”
รายงานโดยบุคอรี และอบูดาวูด 844 ท่านนะซาอีย์ก็เช่นเดียว และท่านติรมิซีย์ เล่ม 2 หน้าที่ 79 ท่านอัฏฏอฮาวีย์ ท่านดาร่อ กุฏนีย์ 132 และท่าน บัยฮากีย์
และท่านติรมิซีย์ ได้กล่าวว่า : เป็นฮะดีษ ฮะซัน ศอเฮี๊ยะ และท่าน ดารอกุฏนีย์ก็ได้สถานะฮะดีษว่าถูกต้องเช่นเดียวกัน
ประโยชน์เสริม : นี่คือการนั่งที่มีรายงานมาในฮะดีษทั้งสองบทที่ถูกต้อง เป็นที่รู้จักในหมู่นักฟิกฮฺว่า “ญั้ลซะ อิสติรอฮี่ยะห์” (การนั่งพักหลังจากเงยขึ้นมาจากสุญูดครั้งสองที่อยู่ระหว่างร็อตอัตหนึ่งและสาม ผู้แปล) และท่านอิหม่ามชาฟีอีย์ได้ถือว่ามันเป็นบทบัญญติ และจากอีหม่ามอะฮฺหมัดก็คล้ายกันนี้ ดังที่มีอยู่ในหนังสือ “ตะฮฺกีก อิบนิ้ล เญาซีย์” เล่ม 1 หน้าที่ 111
และส่วนการถือว่าซุนนะห์นี้ที่ได้ปรากฏจากท่านรอซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม อันเนื่องจากมีความจำเป็นไม่ใช่เพราะเป็นอิบาดะห์ และสิ่งดังกล่าวไม่ได้ถูกบัญญัติเอาไว้ ดังที่มัสฮับฮานาฟีย์ และคนอื่นนอกจากพวกเขาได้กล่าวเอาไว้เช่นนี้ ดังนั้น (สิ่งดังกล่าว)ถือเป็นโมฆะ ดังที่ฉันได้อธิบายมันไว้ในหนังสือ “อัตตะลีกอตุ้ลญิยาด อะลาซาดิ้ลมะอ๊าด” และในที่อื่นๆ
และเป็นที่เพียงพอแล้วในการจะทำให้สิ่งดังกล่าวนี้เป็นโมฆะ ก็คือ ได้มีศอฮาบะห์ถึงสิบคน ได้ยอมรับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการละหมาดของท่านรอซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม ดังที่ได้มีผ่านมาแล้วในฮะดีษของท่าน อบีฮะมีด แล้วถ้าเขาว่าพวกเขา (บรรดาศอฮาบะห์) รู้ว่าที่จริงแล้วท่านรอซู้ลทำมันเพราะเนื่องจากความจำเป็น ก็ย่อมไม่เป็นที่อนุญาติสำหรับพวกเขาที่พวกเขาจะทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะการละหมาดของท่านรอซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอละยฮิวะซั้ลลัมอย่างแน่นอน และเรื่องนี้ เป็นที่ชัดเจน ไม่มีอะไรซ่อนเร้นทั้งสิน วั้ลฮัมดุลิ้ลลาฮิตะอาลา” จบคำพูดของชัยคฺ อัลบานีย์ จากหนังสือ “อิรวาอุ้ล เฆาะลี้ล” เล่ม 2 หน้าที่ 82-2-83 .
วั้ลลอฮุอะอฺลัม
แปลจาก: https://islamqa.info/ar/259970
อ่านความรู้เพิ่มเติมเรื่องเห็นต่างได้ที่: [ฟัตวา] การถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าเลยตาตุ่ม เป็นปัญหาเห็นต่างหรือไม่?