ไขข้อสงสัยประเด็นการห้ามโค่นล้มผู้นำที่อธรรม โดย ชัยค์ฟัรกูส

มีคำถามจากพี่น้องมุสลิมชาวอียิปต์บางท่านได้ส่งมาโดยขอให้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับข้อตัดสินในเรื่องการโค่นล้มผู้นำสูงสุดด้วยกับบทบัญญัติทางหลักการศาสนา

ผู้ถาม

ชัยค์ผู้เป็นที่รักของเรา คำถามต่างๆ เหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์ที่สำคัญอยู่ ที่เราต้องการคำตอบของคำถามเหล่านี้จากพวกท่าน.

ประเด็นแรก : ถูกต้องหรือไม่ ที่นักวิชาการคนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการชาวสะลัฟมีทัศนะว่าอนุญาติให้โค่นล้มผู้นำเมื่อเขาประพฤติชั่ว แต่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ :

  1. การประพฤติชั่วของเขานั้น จะต้องเป็นความประพฤติชั่วที่เป็นบาปใหญ่และเป็นเรื่องที่ใหญ่โต
  2. การถอดถอนผู้นำนั้นจะต้องมาจากทางด้านของผู้ที่มีสิทธิในการปรับปรุงแก้ไข และผู้ที่มีส่วนร่วมในสนธิสัญญา และผู้ที่มีความพร้อมในด้านความสามารถ และจะต้องไม่ใช่การถอดถอนจากบรรดาคนเอาวาม (สามัญชนทั่วไป)
  3. จะต้องไม่ก่อให้เกิดฟิตนะอ์จาก (การดำเนินการ) โค่นล้มผู้นำ

ประเด็นที่สอง : มีคำพูดของนักวิชาการชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งได้บอกว่าระหว่างการ ออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และ การถอดถอนผู้นำและการตีตัวออกห่างจากผู้นำ และแท้ที่จริงแล้วการออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และการตีตัวออกห่างจากผู้นำ นั้นเป็นที่ต้องห้ามด้วยกับอิจมาอ์ (มติเอกฉันฑ์) และส่วนการถอดถอนนั้นเป็นที่อนุญาต ตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กล่าวมานี้หรือไม่ ?

ประการที่สาม : ถูกต้องหรือไม่สำหรับการพาดพิงเรื่องดังกล่าวนี้ไปยังคนหนึ่งคนใดจากชาวสะลัฟ หรือบอกว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสะลัฟ (หมายถึงประเด็นเรื่องการถอดถอนผู้นำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น)

ฉัน (ชัยค์ ฟัรกูซ) จะขอกล่าวถึงคำตอบของคำถามดังนี้ ของอัลลอฮ์ทรงให้การช่วยเหลือ

พึงทราบเถิดว่าส่วนหนึ่งจากบรรดาเงื่อนไขต่างๆ ของการเป็นผู้นำสูงสุดนั้น จะไม่มีใครได้รับตำแหน่งนี้ตั้งแต่แรก ยกเว้น ผู้ที่เป็นมุสลิมที่มีคุณธรรม ดังนั้นตำแหน่งผู้นำนั้นจะไม่ถูกแต่งตั้งให้แก่คนชั่ว ยิ่งไปกว่านั้นก็สำหรับกาเฟร และนี่เป็นเงื่อนไขที่บรรดาผู้รู้นั้นเห็นตรงกัน อิมาม อัลกุรฏุบีย์ ได้กล่าวว่า : ประชาชาตินี้ไม่ได้มีความขัดแย้งกันสำหรับการไม่อนุญาติให้แต่งตั้งตำแหน่งผู้นำให้แก่ผู้ที่ประพฤติชั่ว{1}

สภาพที่ 1

เมื่อผู้นำที่มีคุณธรรมนั้นกลายเป็นผู้ประพฤติชั่วโดยไม่ทันคาดคิด แล้วก็ความประพฤติชั่วของเขานั้นนำพาเขารุกล้ำเข้าสู่ขอบเขตของการปฏิเสธศรัทธาและตกศาสนา ดังนั้นจึงจำเป็นที่เขาจะต้องถูกถอดถอน {2} การปกครองนั้นไม่ใช่สิทธิของกาเฟรที่มีเหนือมุสลิมเป็นทัศนะของบรรดานักวิชาการที่มีความเห็นเดียวกัน

เมื่อไม่มีการปกครองของกาเฟรมาปกครองมุสลิมแล้วเพราะดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า :

وَلَن يَجۡعَلَ ٱللَّهُ لِلۡكَٰفِرِينَ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ سَبِيلًا

ความว่า : “อัลลอฮจะไม่ทรงให้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธามีทางใดเหนือบรรดาผู้ศรัทธาเป็นอันขาด”

และในฮะดีษที่อุบาดะอ์ บิน อัลศอมัต ได้รายงานว่า :

عبادة بنِ الصامت رضي الله عنه: بَايَعَنَا ـ أي: رسول الله صلَّى الله عليه وسلَّم ـ عَلَى السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، فِي مَنْشَطِنَا وَمَكْرَهِنَا، وَعُسْرِنَا وَيُسْرِنَا، وَأَثَرَةٍ عَلَيْنَا، وَأَنْ لَا نُنَازِعَ الأَمْرَ أَهْلَهُ، إِلَّا أَنْ تَرَوْا كُفْرًا بَوَاحًا، عِنْدَكُمْ مِنَ اللَّهِ فِيهِ بُرْهَانٌ

รายงานจากอุบาดะฮฺ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู กล่าวว่า : “พวกเราได้ทำสัตยาบัน ต่อท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม) ว่าจะเชื่อฟัง และปฏิบัติตาม ทั้งในเรื่องที่เรากระตือรือร้น และเรื่องที่เราโดนบังคับ ทั้งในเรื่องที่ยาก และเรื่องที่ง่าย ทั้งในเรื่องที่เราถูกเอาเปรียบและเราไม่แข่งแย่งกิจการของเขา (ตำแหน่ง) กับผู้ที่เป็นผู้นำ นอกจากว่าท่านจะเห็นการปฏิเสธอันชัดเเจ้ง และพวกท่านมีหลักฐานในเรื่องดังกล่าวมาจากอัลลอฮฺ[3]

และผู้ที่รายงานอิจมาอ์ของเรื่องดังกล่าวนี้ก็คือ อัล-ฮาฟิศ อิบนุ ฮะญัร์ โดยที่ท่านได้ระบุไว้ว่า : ผู้นำนั้นจะถูกแยกตัวออกห่างอันเนื่องด้วยกับ “กุฟร์” โดยเป็นอิจมาอ์; ฉะนั้นจึงจำเป็นแก่มุสลิมทุกคนที่จะต้องยืนหยัดในเรื่องดังกล่าว; และผู้ใดที่สามารถจัดการกับเรื่องดังกล่าวนี้ได้เขาก็จะได้รับผลบุญ และผู้ใดที่เยินยอเห็นชอบกับเรื่องดังกล่าวเขาก็จะได้รับบาป; และสำหรับผู้ที่ปราศจากความสามารถก็จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องอพยพออกมาจากแผ่นดินดังกล่าว [4]

และทางด้านของท่านอัลกอฏีย์ อิยาฏ์ ก็ได้เห็นพ้องด้วยโดยที่ท่านได้กล่าวว่า : อุละมาอ์ได้มีอิจมาอ์กันว่าตำแหน่งผู้นำนั้นจะต้องไม่ถูกแต่งตั้งให้แก่กาเฟร และถ้าหากว่าผู้นำนั้นเกิดทำกุฟุร์ขึ้น ก็จงแยกตัวออกมา…. และหากเกิดกุฟุร์ขึ้นแก่ผู้นำหรือเกิดการเปลี่ยนบทบัญญัติชะรีอะอ์…. ก็จงออกจากการปกครองของผู้นำนั้น และ ละทิ้งการเชื่อฟังเขา และจำเป็นแก่บรรดามุสลิมที่จะต้องยืนหยัดต่อจุดยืนนี้ และถอดถอนเขาออก และแต่งตั้งผู้นำที่มีคุณธรรม หากว่าพวกเขานั้นมีความสามารถที่จะกระทำในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ ดังนั้นหากว่าเรื่องดังกล่าวนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นแก่มุสลิมทั้งหมดเว้นแต่กับบางกลุ่มชน ก็จำเป็นที่เขาจะต้องดำรงการถอดถอนผู้ที่เป็นกาเฟรออกไป [5]

สภาพที่ 2

หากความชั่วที่เกิดขึ้นกับตัวผู้นำไม่ถึงขั้นที่เป็นการปฏิเสธหรือทำให้ออกจากศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อขัดแย้งในหมู่อะลิซซุนนะเลยว่าผู้นำหรือผู้ปกครองจะไม่ถูกถอดถอนเพียงเพราะทำชั่วเป็นอันขาด มีตัวบทที่รายงานมามากมายที่พูดถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภักดีต่อผู้ปกครอง-ในเรื่องที่ไม่ใช่การฝ่าฝืน-

เช่นเดียวกันก็มีตัวบทจำนวนมากมายล้นหลามที่ห้ามการก่อกบฏต่อผู้นำ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นตัวสร้างความวุ่นวาย และในตัวบทก็สั่งใช้ให้อดทนต่อการข่มเหงของผู้นำและไม่ให้ถอนมือออกจากการภักดี เพราะผลที่ตามมาของการปลดผู้นำนั้นคือความวุ่นวายยุ่งเหยิงและการหลั่งเลือด และมันจะต้องดำเนินไปตามกฏเกณฑ์แห่งเจตนารมณ์ที่ได้วางเอาไว้ คือการป้องกันความเสียหายจะต้องมาก่อนการได้รับประโยชน์

ท่านอิบนุอะบิลอิซกล่าวว่า -ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน- : จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังพวกเขา (บรรดาผู้นำ) แม้พวกเขาจะกดขี่ ยิ่งไปกว่านั้นในการอดทนต่อการกดขี่ของผู้นำจะได้รับการลบล้างความผิด และการเพิ่มพูนการตอบแทนเป็นเท่าทวีคูณ, อันที่จริงอัลลอฮได้มอบอำนาจให้กับพวกเขา (ผู้นำ) มีเหนือพวกเราไม่ใช่เพราะเหตุผลอื่นใดเลยนอกจากเพราะความเสื่อมเสียในการงานของพวกเราเอง และเป็นผลตอบแทนจากการงาน จึงเป็นหน้าที่สำหรับเราที่จะต้องของอภัยโทษ,กลับเนื้อกลับตัว,และปรับปรุงการงานให้ดีขึ้น อัลลอฮตะอาลาตรัสว่า :

‎وَمَآ أَصَٰبَكُم مِّن مُّصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُوا۟ عَن كَثِيرٍ ﴿٣٠﴾؅

30. และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว

‎أَوَلَمَّآ أَصَٰبَتْكُم مُّصِيبَةٌ قَدْ أَصَبْتُم مِّثْلَيْهَا قُلْتُمْ أَنَّىٰ هَٰذَا ۖ قُلْ هُوَ مِنْ عِندِ أَنفُسِكُمْ ۗ إِنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَىْءٍ قَدِيرٌ ﴿١٦٥﴾؅

165. และเมื่อมีภยันตรายหนึ่ง ประสบแก่พวกเจ้า ทั้ง ๆ ที่พวกเจ้าได้ให้ประสบแก่พวกเขามาแล้วถึงสองเท่าแห่งภยันตรายนั้น พวกเจ้าก็ยังกล่าวว่าสิ่งนี้มาจากไหนกระนั้นหรือ ? จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า มันมาจากที่ตัวของพวกท่านเอง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

‎مَّآ أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ ٱللَّهِ ۖ وَمَآ أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ ۚ وَأَرْسَلْنَٰكَ لِلنَّاسِ رَسُولًا ۚ وَكَفَىٰ بِٱللَّهِ شَهِيدًا ﴿٧٩﴾؅

79. ความดีใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใด ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง และเราได้ส่งเจ้าไปเป็นร่อซูลแก่มนุษย์ และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน

‎وَكَذَٰلِكَ نُوَلِّى بَعْضَ ٱلظَّٰلِمِينَ بَعْضًۢا بِمَا كَانُوا۟ يَكْسِبُونَ ﴿١٢٩﴾؅

129. ในทำนองนั้นแหละเราจะให้บางส่วนของผู้อธรรมทั้งหลายเป็นสหายกับอีกบางส่วน เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาขวนขวายกัน

เมื่อประชาชนต้องการจะหลุดพ้นจากการอธรรมของผู้นำ พวกเขาก็จงละทิ้งการอธรรมเถิด

และอีกบางส่วนจากตัวบททางด้านหลักการศาสนา อัลลอฮตรัสว่า :

‎يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓا۟ أَطِيعُوا۟ ٱللَّهَ وَأَطِيعُوا۟ ٱلرَّسُولَ وَأُو۟لِى ٱلْأَمْرِ مِنكُمْ ۖ

59. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย

ฮะดีษจากท่านอบีฮุรอยเราะ -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- ท่านเราะซูลกล่าวว่า : ใครที่เชื่อฟังฉันก็เท่ากับว่าเขาเชื่อฟังอัลลอฮ ใครที่ฝ่าฝืนฉันก็เท่ากับว่าเขาฝ่าฝืนอัลลอฮ ใครที่เชื่อฟังผุ้นำก็เท่ากับว่าเขาเชื่อฟังฉัน ใครที่ฝ่าฝืนต่อผู้นำก็เท่ากับว่าเขาฝ่าฝืนฉัน [และเเท้ที่จริงแล้วผู้นำนั้นเป็นดั่งโล่กำบัง ผู้คนจะต้องต่อสู้อยู่เบื้องหลังผู้นำ และเขาก็จะได้รับการปกป้อง หากเขาสั่งใช้ให้ยำแกรงต่ออัลลอฮ์และมีความยุติธรรม การกระทำดั่งกล่าวก็จะได้รับผลตอบแทนสำหรับเขา หากเขาพูดสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้ผลพวงของมันก็จะตกกับเขา]

ฮะดีษจากท่านอิบนิอับบาส -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านร่อซูลกล่าวว่า : ใครที่เห็นสิ่งที่เขารังเกียจออกมาจากตัวของผู้นำ เขาก็จงอดทนกับมันเถิด แท้จริงผู้ที่แยกตัวออกจากหมู่คณะเพียงคืบเดียวแล้วเขาตายลง การตายของเขาไม่ได้ตายในสภาพอื่นใดเลยนอกจากการตายในสภาพญาฮิลียะฮฺ

ฮะดีษจากท่านอบีซัร -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : ผู้ใดที่แยกตัวออกจากหมู่คณะเพียงคืบเดียวเท่ากับเขาได้ถอดบ่วงแห่งอิสลามออกจากคอของเขา

ฮะดีษอิบนิอุมัร -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านร่อซูลกล่าวว่า : การเชื่อฟังและภักดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมคนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เขาชอบหรือเรื่องที่เขาชัง ตราบใดที่ยังไม่ถูกสั่งใช้ในเรื่องที่ฝ่าฝืน เมื่อถูกสั่งใช้ในเรื่องที่ฝ่าฝืนก็จะไม่มีการเชื่อฟังและภักดี

ฮะดีษจากเอาฟฺ อิบนิ มาลิก -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : ผู้นำของพวกท่านที่ดีที่สุดคือผู้ที่พวกท่านรักพวกเขาและพวกเขาก็รักท่าน พวกเขาจะสรรเสริญแก่พวกท่าน และพวกท่านจะสรรเสริญแก่พวกเขา ส่วนผู้นำที่ชั่วช้าที่สุดคือผู้ที่พวกท่านเกลียดพวกเขา และพวกเขาก็เกลียดพวกท่าน พวกท่านจะสาบแซ่งพวกเขา และพวกเขาจะสาบแซ่งพวกท่าน มีคนกล่าวกับท่านเราะซูลว่า : เราจะต่อสู้ถอดถอนพวกเขาด้วยดาบได้หรือไม่? ท่านเราะซูลจึงกล่าวว่า : ไม่ได้, ตราบใดที่พวกเขายังดำรงการละหมาดกับพวกท่าน เมื่อพวกท่านเห็นว่าผู้นำของพวกท่านมีสิ่งหนึ่งที่พวกท่านไม่พึงใจ พวกท่านก็จงรังเกียจการกระทำของเขาเถอะ แต่อย่าได้ถอนมือออกจากการภักดีเลย

ฮะดีษอนัส อิบนิ มาลิก -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : พวกเจ้าจงเชื่อฟังและภักดี แม้ว่าทาสชาวผิวสีจะปกครองพวกเจ้าก็ตาม ที่หัวของเขาเป็นดั่งลูกองุ่น

ฮะดีษวาอิล อิบนิฮุญริน -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน-แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : จงท่านจงเชื่อฟัง (ผู้นำ) และปฏิบัติตาม แท้จริงพวกเขา (บรรดาผู้นำ) มีภาระหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย และพวกท่านก็มีภาระหน้าที่ที่ถูกมอบหมาย

ฮะดีษอบีอุมามะ อัลวาฮีลีย์ -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่าน- แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : พวกท่านจงเชื่อฟังและภักดีต่อพวกเขา (ผู้นำ) ในยามที่แล้งแค้นและสุขสบาย ในเรื่องที่ท่านมีความกระตือรือล้น และในเรื่องที่ท่านไม่อยากทำ และในเรื่องที่เป็นการเอาเปรียบเรา และไม่ให้เราแย่งชิงตำแหน่งคนมีตำแหน่ง

ฮะดีษฮุซัยฟะ อิบนิลยามาน -ขออัลลออทรงพอพระทัยในตัวท่านทั้งสอง- แท้จริงท่านเราะซูลกล่าวว่า : จงยืนหยัดอยู่กับหมู่คณะมุสลิมและผู้นำของพวกเขา และยังมีฮะดีษเศาะฮีฮฺอื่นๆ อีก

และจากคำพูดของบรรดาผู้รู้ที่รับรองฉันทามติของชาวสลัฟในเรื่องการเชื่อฟังและภักดีต่อผู้ปกครองของบรรดามุสลิม แม้ว่าเขาจะกดขี่ข่มเหงหรือกระทำชั่วก็ตาม อันที่จริงผู้นำจะไม่ถูกปลดด้วยการกระทำความชั่ว เป็นสิ่งที่อิบนิบัฏเฏาะฮ์ได้บอกไว้ตามคำพูดของท่านที่ว่า : แน่นอนว่านักวิชาการได้ลงมติกันว่า…แท้จริงการละหมาดวันศุกร์และอีดทั้งสอง การทำฮัจที่มินาและทุ่งอารอฟะ สงครามการต่อสู้และการเชือดสัตว์พลีจะต้องทำพร้อมกับผู้นำ ไม่ว่าเขาจะดีหรือเลว การมอบทรัพย์ที่พบเจอในดิน และศอดาเกาะ และอะอฺชาร (เศษ1ส่วน10จากชะกาตที่ดิน) ให้แกเขาเป็นที่อนุมัติ…..การละหมาดที่มัสยิดหลังใหญ่ที่เขาเป็นคนสร้าง และการเดินข้ามสะพานที่เขาเป็นคนก่อ การซื้อการขายและการค้าการเกษตรและการผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัย การทำพร้อมกับผุ้นำเป็นสิ่งที่อนุญาตตามข้อตัดสินของกุรอานและซุนนะ การปกป้องศาสนาและการยึดมั่นอยู่กับแนวทางของท่านนบีจะไม่เป็นภัยต่อความอธรรมของผู้อธรรม และการกดขี่ของผู้ที่กดขี่ ตราบใดที่เขาเข้าหาผู้นำภายใต้ข้อตัดสินของกุรอานและซุนนะ ในลักษณะเดียวกันหากเขาซื้อขาย-ในยุคสมัยของผุ้นำที่เปี่ยมคุณธรรม-แต่เป็นการค้าขายที่ค้านกับกุรอานและซุนนะความเป็นธรรมของผู้นำก็ไม่ก่อประโยชน์อันใดแก่เขา…….การเชื่อฟังและภักดีนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองของพวกเขาพึ่งได้รับ-แม้เขาจะเป็นทาสผิวสี-เว้นเสียแต่เรื่องที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮ เพราะสิ่งถูกสร้างจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการเชื่อฟังกับเรื่องที่เป็นการฝ่าฝืน (ผู้สร้าง)

อิมามซอบูนีย์ -ขออัลลอฮทรงพอพระทัยในตัวท่าน- กล่าวว่า : นักฮะดีษมีทัศนะว่าการละหมาดวันศุกร์ ละหมาดอีดทั้งสองและละหมาดอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ต้องอยู่ข้างหลังบรรดาผู้นำไม่ว่าเขาจะดีหรือร้ายก็ตาม และนักฮะดีษบอกว่าต้องต่อสู้กับพวกกาเฟรเคียงข้างกับบรรดาผู้นำไม่ว่าเขาจะกดขี่เลวร้ายเพียงใด และพวกเขามองว่าจะต้องดุอาอฺให้แก่บรรดาผู้นำให้ปรับปรุง (การงาน) และให้ได้รับทางนำ ความดี และแผ่ความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง และพวกเขาไม่มีความเห็นที่จะให้ก่อกบฏต่อผู้นำด้วยคมดาบ แม้พวกเขาจะเห็นว่าบรรดาผู้นำเปลี่ยนจากความยุติธรรมไปสู่การกดขี่ และอธรรม และพวกเขามีทัศนะว่าต้องต่อสู้กับกลุ่มกบฏจนกว่าพวกเขาจะกลับสู่ความภักดีต่อผู้นำที่ทรงธรรม

อบูฮาซัน อัลอัซอารีย์กล่าวว่า (ในขณะที่เขากำลังคำนวนนับเรื่องต่างๆ ที่ชาวสะลัฟมีมติร่วมกันให้เป็นพื้นฐาน (ของศาสนา) (أصول) : พวกเขามีฉันทานุมัติกันว่า จะต้องเชื่อฟังและภักดีต่อผู้นำของบรรดามุสลิม ให้กับทุกๆ คนที่ขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลกิจการของพวกเขาไม่ว่าจะมาจากความพึ่งพอใจหรือได้รับชัยชนะมาก็ตาม ต้องมอบความภักดีไม่ว่าเขาจะดีหรือร้ายก็ตาม จะต้องไม่ก่อกบฏต่อผู้นำด้วยคมดาบไม่ว่าเขาจะกดขี่หรือเป็นธรรมก็ตาม และจำเป็นที่จะต้องทำสงครามกับศัตรูเคียงข้างกับบรรดาผู้นำ ทำฮัจย์พร้อมกับพวกเขา จ่ายทานให้กับพวกเขาเมื่อเขาต้องการมัน และจะต้องละหมาดวันศุกร์และละหมาดอีดข้างหลังผู้นำ

อิมามนะวาวีย์กล่าวว่า: จงอย่าแก่งแย่งกับผู้ปกครองในเรื่องการปกครองของพวกเขา และอย่าได้ขัดขวางพวกเขานอกจากว่าพวกท่านจะเห็นสิ่งเลวร้ายจากตัวของผู้นำที่ได้รับการพิสูจน์และพวกเขารับรู้ถึงสิ่งนั้นจากกฏเกณฑ์ต่างๆของอิสลาม หากพวกเขาเห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นก็จงคัดข้านเรื่องดังกล่าวต่อผู้นำ จงพูดความจริงไม่ว่าพวกท่านจะอยู่ที่ใด ส่วนการก่อกบฏต่อผู้นำและการสู้รบกับพวกเขาเป็นสิ่งต้องห้ามตามมติเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการมุสลิมที่ว่าผู้ปกครองจะไม่ถูกปลดเพียงเพราะการกระทำความชั่ว

และทัศนะที่ว่าความชั่วที่เผยออกมาจากตัวผู้นำจะต้องนำไปสู่การปลดหรือถอดถอนโดยสิ้นเชิงทัศนะที่ว่าเป็นของพวกมัวะตะซิละและคอวาริจ บางคนได้อ้างทัศนะที่กลับไปหานักวิชาการส่วนใหญ่ อาทิ อิมามอัลกุรตูบีย์ ท่านซาบีดีย์ได้อ้างทัศนะนี้ไปยังอิมามชาฟีอีในทัศนะเก่าของท่าน ทั้งสองกรณีนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป้าประสงค์จริงๆ ของอิมามอัลกุรตูบีย์ในคำว่า “นักวิชาการส่วนใหญ่” คือ ส่วนใหญ่ของสำนักคิดอาชาอีเราะ ส่วนที่พาดพิงไปหาท่านอิมามชาฟีอีนั้นทัศนะดังกล่าวไม่ได้เป็นความเชื่อและความเห็นของท่านเลย อันที่จริงมันเป็นทัศนะของผู้ที่ยึดมัสฮับชาฟีอีบางคน เรื่องนี้ท่านมาวัรดีย์ได้ยืนยันไว้ในหนังสือ “อับ-อะฮกาม อัซ-ซุลฏอนียะ” ว่า : การถ่ายทอดที่ถูกต้องที่สุดคือสิ่งที่อิมามรอฟีอี และอิมามนาวาวีมีทัศนะไว้ คือการที่ผู้นำจะไม่ถูกถอดถอนด้วยเหตุความชั่ว และทัศนะนี้เองก็สอดคล้องกับทัศนะของอิมามชาฟีอีโดยค้านกับผู้ที่ยึดมัสฮับชาฟีอีบางคนที่ไม่มีนำ้หนัก แน่นอนว่าท่านอิมามนาวาวีตัดสินว่าทัศนะดังกล่าวนั้นผิด โดยคำกล่าวของท่านที่ว่า : (ส่วนรูปแบบที่ถูกเอ่ยไว้ในหนังสือฟิกของสหายเราบางท่าน ที่ว่าผู้นำนั้นจะต้องถูกถอดถอน มันเป็นสิ่งที่ถูกเล่ามาจากพวกมัวะตะซิละ เช่นเดียวกันก็เป็นความผิดของผู้มีทัศนะดังกล่าวที่ค้านกับมติเอกฉันท์) และเป็นคำพูดที่มาอธิบายถึงเงื่อนไขที่มีระหว่างสองทัศนะ และเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย

ชัดเจนว่าทัศนะเหล่านี้ไม่มีน้ำหนักโดยมติเอกฉันท์ของชาวสะลัฟ และเป็นทัศนะที่ค้านกับเนื้อหาของตัวบททางศาสนาก่อนหน้านี้ที่ชัดเจน ตามการตัดสินที่ถูกต้องของอะลิซซุนนะ และโดยภาพรวมของผู้ที่คัดค้าน (ทัศนะ) อะลิซซุนนะไม่มีหลักฐานอะไรที่พวกเขาใช้ยึดถือนอกจากเงื่อนไขที่พวกเขาสร้างขึ้นมาในการดำรงตำแหน่งผู้นำ คือ จะไม่แต่งตั้ง (ตำแหน่งผู้นำ) ให้คนชั่ว (ฟาซิก) -ตั้งแต่แรก- หรือใช้หลักฐานทางเหตุผล-อันดับที่สอง- โดยจะมีการอธิบายถึงจุดประสงค์ของตำแหน่งผู้นำ นั้นคือการปกป้องศาสนาและการปัดเป่าความอธรรม จรรโลงความยุติธรรมด้วยการบังคับใช้กฏหมาย รักษาทรัพย์สินและชีวิต มอบสิทธิ์ต่างๆ ให้สมบูรณ์และหน้าที่อื่นๆ อีกนอกเหนือจากนี้ เมื่อขาดลักษณะข้อนี้ของผู้นำไป และขาดจุดประสงค์ของการเป็นผู้นำ เท่ากับเป็นโมฆะและต้องถูกปลดออก

เป็นที่ทราบกันว่าเงื่อนไขของตำแหน่งผู้นำคือจะไม่มอบตำแหน่งให้กับคนชั่ว (ฟาซิก) -ตั้งแต่แรก- ตามมติเอกฉันท์ แต่ประเด็นนี้มีความแตกต่างเพราะรูปแบบของกรณีที่เกิดความชั่วขึ้นกับผู้นำที่ดี ฉะนั้นตัวบทตัดสินให้ห้ามการก่อกบฏต่อผู้นำและยังสั่งใช้ให้อดทนต่อการข่มเหงของเขา และไม่ให้ถอนมืออกจากความภักดี และให้ปรับปรุงตัวของประชาชนเอง ทั้งที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของทั้งสองกรณี ก็มีการอ้างที่จะผนวกร่วมกรณีหนึ่งเข้ากับอีกกรณีหนึ่ง

ส่วนในแง่ของเหตุผล ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรเพราะมันค้านกับตัวบทก่อนหน้านี้อย่างชัดเจนเเละค้านกันมติของสะลัฟด้วยตามที่ได้มีการยืนยันในกฏเกณฑ์พื้นฐานไว้แล้วว่า : (จะไม่มีการเปรียบเทียบหรือวินิจฉัยในเรื่องที่มีแหล่งที่มาของตัวบทหรือมีมติเอกฉันท์เกิดขึ้นแล้ว)

เพราะผู้คัดค้าน (มติเอกฉันท์) บางคนอาศัยการก่อกบฏของเศาะฮาบะฮ์บางท่านเช่นท่านฮูเซ็น บิน อาลี ท่านอับดุลลอฮ อิบนิ สุเบร (ขออัลลอฮทรงพอพระทัยในตัวพวกท่าน) คำพูดที่น่าพอใจก็คือ เศาะฮาบะฮ์นั้นไม่เคยก่อกบฏสักคน ส่วนท่านฮูเซ็นนั้น ท่านอิบนิตัยมีนะฮ์ได้พูดไว้แล้วเกี่ยวกับท่านว่า : แท้จริงท่านฮูเซ็นนั้นไม่ได้แยกตัวออกจากหมู่คณะ (ญะมาอะ) และท่านก็ไม่เคยต่อสู้กับใคร ในขณะเดียวกันท่านต้องการที่จะไปยังเมืองของท่าน หรือกลับเข้าป้อมปราการหรือไปหายะซีดในสภาพที่เข้าร่วมกับหมู่คณะและผินหลังให้กับการสร้างความแตกแยกให้กับประชาชาติ

และในส่วนของอิบนิสุเบรนั้น ท่านอิบนิกะซีรได้กล่าวเอาไว้ถึงเรื่องการที่ท่านนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับพวกคอวาริจตามที่ได้บันทึกไว้ว่า : ต่อมาท่านได้เป็นผู้นำหลังจากการตายของมุอาวียะ อิบนิ ยะซีด โดยที่เขาไม่มีวิสัยทัศน์พอ ในขณะเดียวกันเขาก็ได้รับการชี้นำจากมัรวาน อิบนิ ฮะกัม โดยที่มัรวานได้ปลดเขาหลังจากที่ได้เกิดการรวมเอกภาพไว้ที่ตัวเขาแล้ว และได้มีการให้บัยอะกับเขาแล้วทั่วทุกสารทิศ กิจการต่างๆ ก็เป็นระบบกับเขา วัลลอฮฮุอะลัม

และชัยค์รอบิอ บิน ฮาดี อัลมัดคอลีย์ได้มาเน้นย้ำความหมายนี้ว่า: อิบนิสุเบรคือคนที่ประชาชนได้ให้สัตยาบันกับเขาแล้ว แล้วเมื่อมีผู้คนให้สัตยาบันยะซีดที่หนีไปที่มักกะ เขาไม่เคยปรารถนาที่จะทำสงครามหรือก่อความวุ่นวายใดๆ ผู้นำที่เมืองมักกะคือพี่ชายของเขา และอิบนิสุเบรก็ปฏิเสธที่จะปลดยะซีดหลังจากนั้นยะซีดได้เสียชีวิตลงผู้คนก็ต่างมาให้สัตยาบัญกับอิบนิสุเบรเหลือเพียงแต่ส่วนหนึ่งของเมืองชาม มัรวาน บินฮะกัมก็ได้เคลื่อนไหวจากชาม มีบางส่วนจากตระกูลอุมัยยะอยู่กับเขาเพื่อที่พวกเขาจะให้สัตยาบันกับอิบนิสุเบร พวกเขาจึงมุ่งหน้าไปหาซิย๊าด และได้กล่าวกับซิย๊าดว่า : พวกเราจะไปให้สัตยาบันกับผู้นำคนนั้น (อิบนิสุเบร) ซิย๊าดกล่าวกับพวกเขาว่า : พวกท่านจะไปให้สัตยาบันกับอิบนิสุเบรทั้งที่พวกท่านมีผู้อาวุโสของเผ่ากุเรชอยู่แล้วอย่างงั้นหรือ? และพวกเขาจึงให้สัตยาบันกับมัรวาน พวกเขาก็ได้กลับไปแล้วป่าวประกาศว่าจะโค่นล้มอับดุลลอฮอิบนิสุเบร แต่อิบนิสุเบรนั้นไม่เคยก่อกบฏกับคนหนึ่งคนใดเลย ยิ่งไปกว่านั้นมัรวานต่างหากที่จะต้องให้สัตยาบันกับเขา การสุ้รบก็ได้เริ่มขึ้นและอับดุลมาลิก บิน มัรวานก็ทำให้การต่อสู้จบลง

ท่านอิมามนาวาวีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า : ทัศนะของผู้ที่ดำรงมั่นอยู่บนความจริงคือ ท่านบินนิสุเบรนั้นคือผู้ที่ถูกอธรรม และอัล-ฮัจญาญและพรรคพวกคือผู้ที่ก่อกบฏต่ออิบนิสุเบร.

ชัยค์รอบิอยังกล่าวเสริมอีกว่า : หลักฐานคือ ไม่มีเศาะฮาบะสักคนที่เคยก่อกบฏ และท่านฮุเซ็น บิน อาลีก็ไม่ใช่กบฏ ท่านนั้นเสียใจ และพวกที่ให้สัตยาบัน และเขียนจดหมายถึงท่านนั้นคือพวกชีอะที่หันมาต่อสู้กับท่าน และท่านได้กล่าวกับพวกเขาไว้ว่า: จงปล่อยฉันให้กลับไปหรือให้ฉันได้ไปสู่การต่อสู้หรือไม่ก็กลับไปหายะซีดเถอด และไม่มีสิ่งใดที่พวกเขาพอใจนอกจากการที่ได้ฆ่าฮุเซ็น ส่วนยะซีดก็ไม่ได้รู้สึกพอใจกับการฆ่าท่านฮูเซน ท่านฮูเซ็นไม่เคยต้องการที่จะต่อสู้กับยะซีด และไม่ได้มาเพื่อฆ่าเขา ที่จริงพวกเขาต่างหากที่หลอกท่านฮูเซนและนำท่านออกมาจากเมืองมักกะ และเมื่อท่านฮูเซนมาหาพวกเขา พวกเขากลับเปลี่ยนมาต่อสู้กับฮูเซนแล้วฆ่าท่าน ขออัลลอฮทรงตอบเเทนพวกเขาตามสิ่งที่พวกเขาควรจะได้รับ

อ้างอิง: https://ferkous.com/home/?q=art-mois-116


เนื้อหาต่อจากนี้เป็นการเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการ

กรณีท่านฮุเซนและอิบนุซุเบร

กรณีของท่านฮุเซนนั้นท่านได้ออกไปหาชาวอิรักบนฐานที่เข้าใจว่าชาวอิรักและแผ่นดินดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งไว้โดยปราศจากผู้นำ และท่านฮุเซนไปยังอิรักก็เนื่องจากว่าชาวอิรักเขียนจดหมายไปหาท่านว่าพวกเขาไม่มีผู้นำปกครอง และพวกเขาประสงค์จะมอบสัตยาบันแก่ท่านฮุเซน ฉะนั้นท่านฮุเซนจึงไปหาพวกเขาในฐานะที่เข้าใจว่าตนเองจะเป็นผู้ปกครองของชาวอิรัก

ซึ่งท้ายที่สุดการไปของท่านฮุเซนได้ถูกขัดขวางจากทหารของยะซีดและพวกทหารของยะซีดได้กลั่นแกล้งอธรรมต่อท่านฮุเซนจนเกิดการฆ่ากันตาย

โดยในเรื่องนี้นั้นท่านอิบนุตัยมียะฮฺได้อธิบายไปอีกว่า ก่อนที่การสู้รบจะเกิดขึ้นท่านฮุเซนได้เสนอให้แก่ทหารยะซีดแล้วว่า ตัวท่านฮุเซนพร้อมจะถอนความเคลื่อนไหวดังกล่าวและจะไปหายะซีดเพื่ออยู่ภายใต้การปกครองของเขา ซึ่งจุดนี้ชี้ชัดว่าท่านฮุเซนได้ถอนความคิดแรกออกไปหมดแล้ว

แต่ปรากฏว่าพวกทหารยะซีดมีเจตนาจะกลั่นแกล้งและสังหารท่านให้ได้ เลยเกิดการสู้รบเพื่อปกป้องชีวิตตัวเองจนตายไป
ฉะนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่หลักฐานสำหรับการล้มผู้นำอีกแต่อย่างใด #และนี่คือเหตุผลที่เรากล่าวว่าสถานการณ์มันคลุมเครือที่ทำให้อะไรๆก็เกิดการเข้าใจผิดซึ่งแตกต่างไปจากการล้มผู้นำในเวลานี้

ส่วนกรณีของท่านอิบนุซุเบรนั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮฺและท่านอิบนุกะษีรตลอดจนท่านอิบนุฮะญัร ได้อธิบายรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ให้ทราบว่า ความจริงแล้วการกระทำของท่านอิบนุซุเบรที่ต่อสู้กับอับดุลมะลิกบินมัรวานนั้นไม่เรียกว่าเป็นการล้มผู้นำ

เพราะความจริงมีอยู่ว่าหลังจากยะซีดบินมุอาวียะฮฺได้เสียชีวิตลงประชาชนทั่วสารทิศต่างก็ได้ให้บัยอะฮฺแก่ท่านอิบนุซุเบรเพื่อให้ท่านเป็นผู้นำ การบัยอะฮฺดังกล่าวดำเนินไปจนกระทั่งว่าทั่วแผ่นดินของโลกอิสลามได้ยอมรับการเป็นผู้นำของอิบนุซุเบร ยกเว้นพวกตระกูลอุมัยยะฮฺเท่านั้นที่ยังไม่ยอมรับท่านอิบนุซุเบร ซึ่งในเวลาต่อมาฝ่ายของมัรวานและอับดุลมะลิกบินมัรวานได้ซ่องสุมกำลังบัยอะฮฺให้แก่ผู้นำของตนเอง จากนั้นก็ยกทัพไปยึดเมืองต่าง ๆ ที่ได้ให้สัตยาบันต่อท่านอิบนุซุเบรจนเป็นเหตุให้เกิดการสู้รบบานปลายไปในที่สุด การยึดครองดินแดนจากฝ่ายอับดุลมะลิกดำเนินไปจนกระทั่งเหลือแค่ฮิญาซกับเยเมนเท่านั้น ที่ยังอยู่ใต้อำนาจของท่านอิบนุซุเบร

และท้ายที่สุดอัลฮัจญาจแม่ทัพของอับดุลมะลิกจึงได้เข้ายึดฮิญาซและสังหารท่านอิบนุซุเบรลงได้ ฉะนั้นท่านอิบนุกุดามะฮฺจึงได้สรุปว่าคนที่ล้มผู้นำจริง ๆ ไม่ใช่ท่านอิบนุซุเบร หากแต่เป็นฝ่ายของอับดุลมะลิกบินมัรวานต่างหาก!!

ด้วยเหตุนี้เอง ดร.อับดุลอะซี้ส บินมุฮัมมัด อัซซะอี้ดจึงได้สรุปว่า กรณีของท่านอิบนุซุเบรนั้นจะต้องเข้าใจว่าการปกครองเป็นของท่านและคนที่ไปโค่นคืออับดุลมะลิก หรืออาจจะเข้าใจได้ว่าการปกครองเกิดการซ้อนและแยกเป็นสองรัฐ ที่แต่ละซีกต่างมีผู้นำเป็นของตนเองและเกิดการสู้รบกันเพื่อช่วงชิงพื้นที่ ไม่ใช่ประชาชนโค่นผู้นำตนเอง

หรือสมมติจะเข้าใจไปเลยว่าอิบนุซุเบรล้มอับดุลมะลิกจริง ๆ ก็ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานจะเอามาอ้าง เนื่องจากมีรายงานจากบรรดาสาวกว่าพวกเขาได้ห้ามท่านอิบนุซุเบรมิให้สู้กับอับดุลมะลิก

ส่วนกรณีของชาวสะลัฟในยุคของอิบนุลอัชอัษโค่นล้มฮัจญาจนั้น ท่านอิบนุอะญัรได้อธิบายว่ามีรายงานว่ากลุ่มหนึ่งจากในหมู่พวกเขาเข้าใจไปตั้งแต่ต้นว่าฮัจญาจนั้นมีกุฟรฺอยู่ ซึ่งถือว่าคนละกรณีกับการล้มผู้นำมุสลิม

สำหรับท่านที่ต้องการรายละเอียดเรื่องนี้ เราขอให้ท่านอ่านหนังสือ النقض على مجوزي المظاهرات والاعتصامات ของ ดร. อับดุลอะซี้ส บินมุฮัมมัด อัซซะอี้ด ตั้งแต่หน้าที่ 89 เป็นต้นไปมีการชี้แจงรายละเอียดตามที่เราสรุปมา

โหลดหนังสือได้ที่ http://islamancient.com/ressources/docs/574.pdf

และอ่านคำชี้แจงของเชคฮารีซีย์ สานุศิษย์ของเชคเฟาซาน เพิ่มเติมได้ที่ https://www.sahab.net/