เมื่อโดนใส่ไคล้ว่าทำลายความน่าเชื่อถือของเศาะฮาบะฮ์ ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วอธรรมใส่คนอื่น

ในศาสตร์ของหะดีษนั้น เป็นเรื่องปกติที่นักวิชาการจะมีการขัดแย้งกันว่า บุคคลหรือผู้รายงานบางท่านจะมีสถานะเป็นเศาะฮาบะฮฺหรือไม่ เช่น กรณีของ ฮิจรฺ บินอะดีย์ ที่นักวิชาการขัดแย้งกันว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮฺหรือเป็นตาบิอีน โดยปราชญ์ส่วนมากถือว่าเขาคือตาบิอีน

การที่เรานำเสนอทัศนะทั้งหมดว่า นักวิชาการมีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับผู้รายงานแบบนี้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจถึงมุมต่างของนักหะดีษในการออกผลสรุปที่แตกต่างกันของประเด็นหนึ่ง ๆ ในทางวิชาการไม่มีใครเขาเรียกว่าเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของบรรดาสาวก นี่เป็นการสร้างมาตรฐานผิดๆ ของนักสอนศาสนาบางคน

ถ้าใช้ตรรกะแบบนี้ สงสัยบุคคลที่ปราชญ์เขาขัดแย้งกันว่าเป็นนบีหรือไม่ เช่น นบีคอดิร แล้วถ้าเราเสนอทัศนะว่ามีนักวิชาการมีความเห็นว่าท่านมิใช่นบี แบบนี้เราไม่กล่าวหาคนว่าลดเกียรตินบีหรอกหรือ วัลอิยาสุบิลละฮฺ นี่คือมาตรฐานผิด ๆ ของนักบรรยายบางคน

ผมเคยบรรยายไปในครั้งหนึ่งว่า หะดีษที่สาวกท่านหนึ่ง (ท่านฏอริก) หุกุ่มกุนูตว่าเป็นบิดอะฮฺนั้น ในทางปฏิบัติยังอาจมีนักวิชาการบางท่านไม่รับหะดีษนั้นเป็นหลักฐานเพราะไม่คิดว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮฺ เมื่อไม่ใช่เศาะฮาบะฮฺนักวิชาการที่เห็นแบบนี้ก็ย่อมมองว่าใช้เป็นหลักฐานไม่ได้

ที่ผมพูดแบบนี้เพราะมีคนบรรยายบางคนไปหลุดปากพูดว่าหะดีษบทนี้นักวิชาการ “ทุกคน” เห็นพ้องว่าเศาะฮีฮฺ อีกทั้งผมต้องการนำเสนอให้ผู้ฟังทราบถึงข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่าย ส่วนในการให้นำหนัก ผมก็พูดชัดเจนว่าเขาคือสาวกนบี และที่ท่านเคาะฏีบค้านเรื่องนี้นั้นไม่มีน้ำหนัก

ฉะนั้นในมุมมองของเราหะดีษบทนี้จึงถูกต้อง

แต่บางคนไม่รู้สับสนอะไร ออกมาโต้แย้งเราแบบหลงประเด็นโต้ลม

1. กล่าวหาเราว่าทำลายความน่าเชื่อถือของเศาะฮาบะฮฺ ทั้งที่เราเองให้น้ำหนักว่าเขาคือ เศาะฮาบะฮฺ ตกลงการที่ท่านเคาะฏีบสงสัยในการเป็นสาวกของเขา ท่านไม่กล่าวหาท่านเคาะฏีบเลยล่ะว่าทำลายฐานะเศาะฮาบะฮฺ

2. เราเสนอความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักวิชาการ เพื่อให้ทราบว่าทำไมนักวิชาการบางท่านไม่รับหะดีษบทนี้ แต่กลายเป็นว่าแบบนี้ คือการทำลายสาวก นี่คือการสร้างมาตรฐานผิดๆ ในโลกวิชาการ

3. ต้นที่มาของเรื่องคือ เราต้องการแย้งบางคนที่บอกว่าหะดีษนี้ “เห็นพ้อง” กันว่าสาวกได้หุกุมบิดอะฮฺ เพื่อให้เขาทราบว่าคำพูดนี้ไม่จริง ไม่ถูก แต่จุดนี้ถูกกลบไป แล้วไปเอาลมมาโต้ว่าหะดีษนี้เป็นคำพูดเศาะฮาบะฮฺ ทั้งที่เราสรุปในคลิปแล้วว่าเขาคือสาวกนบี

4. เราเองพูดอยู่เสมอว่าเรายึดว่ากุนูตศุบฮฺเป็นบิดอะฮฺ แล้วทำไมบางคนถึงพูดจาโต้ลมยัดข้อหาเราว่าหะดีษนี้ไม่สบอารมณ์เรา

กล่าวหาคนอื่นว่าทำลายเศาะฮาบะฮฺนั้น ร้ายแรงมากนักไม่นึกว่าโต๊ะครูจะปากพล่อยง่าย ๆ แบบนี้

อบูมาลิก อัลอัชญะอีย์ เชื่อถือไม่ได้จริงหรือ?

มีการยัดเยียดข้อหาให้ผมอีกจากนักเขียนบางรายว่าผมหาเรื่องทำลายความน่าเชื่อถือของตาบิอีนท่านนี้ ทั้งที่เราได้พูดเสมอว่า เราเพียงแต่นำเสนอข้อโต้แย้งของแต่ละฟากฝั่งซึ่งเป็นไปตามหลักวิชาการ มีแต่คนที่โกหกมุสาและสักแต่ยัดข้อหาเท่านั้นที่เอาเรื่องความขัดแย้งในทางวิชาการที่นักวิชาการมีกันเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้รายงานหะดีษมาเป็นข้อหาทำลายคนอื่นอย่างอธรรม

ผมได้เสนอไปแล้วในบรรยายว่า มีนักวิชาการบางส่วนตั้งแง่ไม่รับหะดีษเรื่องตับดีอฺ (หุกุ่มบิดอะฮฺ) กุนูตศุบฮฺจากท่านอบีย์มาลิก อัลอัชญะอีย์ โดยนักวิชาการบางส่วนมีความสงสัยในความน่าเชื่อถือของผู้รายงานอย่างท่านอบีย์มาลิก และเราก็ได้เสนอคำกล่าวท่านอุกอยลีย์ ที่กล่าวว่า

لاَ يُتَابَعُ عَلَى حَدِيْثِهِ فِي القُنُوْتِ

“ไม่มีคำรายงานสำทับฮะดีษของเขาในเรื่องกุนูต”

แต่ปรากฏว่ามีบางท่านเข้าใจว่าสำนวนนี้หมายถึง หะดีษของเขาอาฮาด ผมคิดว่าการเข้าใจเช่นนี้เป็นเรื่องคลาดเคลื่อน เพราะสำนวนวิจารณ์ว่า لاَ يُتَابَعُ عَلَى حَدِيْثِهِ นั้นโดยทั่วไปหมายถึงหะดีษของผู้รายงานที่ถูกรายงานมาโดยปราศจากรายงานกระแสอื่นสำทับ โดยที่ลำพังเพียงตัวผู้รายงานท่านนั้นคนเดียวหากรายงานมาเพียงลำพังจะไม่สามารถยึดถือเพื่อเอาเป็นหลักฐานได้ เรียกสำนวนเหล่านี้ว่า “ไม่มีมุตาบิอฺ” สำหรับผู้รายงานเหล่านี้ ไม่ได้หมายถึงหะดีษอาฮาดแต่อย่างใด

เพราะหากต้องการหมายถึงหะดีษอาฮาดที่มีสถานะเศาะฮีฮฺหรือหะซันแล้ว นักวิชาการจะใช้สำนวนว่า หะดีษนี้เฆาะรี๊บ, มัชฮูรหรืออะซี้สไป

นักวิชาการหลายท่านได้แสดงออกอย่างชัดเจนถึงการเข้าใจเป้าหมายของคำพูดท่านอุกอยลีย์ข้างต้นไปในทิศทางว่าเป็นผู้รายงานเฎาะอีฟ

ในการตรวจทานสถานะหะดีษบทหนึ่งในหมายเลข 10485 จากหนังสือ شعب الإيمان ท่านอัชชัยคฺ มุคตาร อะฮฺมัด อันนัดวีย์ ปราชญ์หะดีษที่ทำการตรวจสถานะเล่มนี้ในการจัดพิมพ์ได้กล่าวว่า

إسناده : ضعيف جدا. يزيد بن بيان هو العقيلي…ضعيف…قال البخاري : فيه نظر قال العقيلي : لا بتابع عليه ولا يعرف إلا به. وضعفه الدارقطني وأثنى عليه أبو حاتم.

“สายรายงานของหะดีษบทนี้อ่อนมาก ยะซีด บินบะยาน ซึ่งเขาคืออัลอุก็อยลีย์ เป็นผู้รายงานเฎาะอีฟ ท่านอิมามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า ในตัวของเขามีสิ่งต้องพิจารณา (สำนวนนี้หมายถึงเฎาะอีฟมาก) และท่านอัลอุก็อยลีย์ กล่าวว่า ไม่มีรายงานสำทับหะดีษของเขาและไม่ถูกรับรู้กันนอกจากรายงานที่มาจากเขาเท่านั้น และท่านอัดดาดุกุฏนีย์ ได้ฮุกุ่มเฏาะอีฟแก่ตัวเขา ขณะที่ท่านอบูฮาติมได้สรรเสริญเขา”

จากนั้นท่านเชคมุคตาร อะฮฺมัด อันนัดวีย์ ได้กล่าวอีกครั้งว่า

قال العقيلي : لا بتابع عليه ولا يعرف إلا به. وقال إبن عدي: هذا منكر

“ท่านอัลอุก็อยลีย์ กล่าวว่า ไม่มีรายงานสำทับหะดีษของเขาและไม่ถูกรับรู้กันนอกจากรายงานที่มาจากเขาเท่านั้น และท่านอิบนุอะดีย์ กล่าวว่า รายงานนี้มุงกัร”
الجامع لشعب الإيمان13/361

ท่านชัยคฺอัลบานีย์ กล่าวว่า

وقال العقيلي: لا يتابع عليه ولا يعرف إلا به.
قلت: وهو ضعيف،

“ท่านอัลอุก็อยลีย์ กล่าวว่า ไม่มีรายงานสำทับหะดีษของเขาและไม่ถูกรับรู้กันนอกจากรายงานที่มาจากเขา และฉันขอกล่าวว่าเขาเฎาะอีฟ” ซิลซิละฮฺอัฎเฎาะอีฟะฮฺ 1/475

ในอีกที่หนึ่งท่านชัยคฺอัลบานีย์ได้ถ่ายทอดสิ่งที่ยืนยันเป้าหมายของท่านอัลอุก็อยลีย์ จากประโยคนี้มาว่า

وقال العقيلي:
” منكر، لا يتابع عليه ابن أبي فروة

“ท่านอุก็อยลีย์ กล่าวว่า มุงกัร ไม่มีรายงานสำทับหะดีษของอิบนุอะบีย์ฟัรวะฮฺ” ซิลซิละฮฺอัฎเฎาะอีฟะฮฺ 12/105

ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทด้านหะดีษของท่านชัยคฺอับดุรเราะฮฺมาน บินสุลัยมาน อัชชายิอฺ ได้กล่าวอธิบายว่า

قلت: من لا يعرف إلا برواية واحدة – كما ذكره العقيلي –وقد جاء فيها مما لا
يتابع عليه فهو ضعيف بلا شك فعليه يكون الحديث منكرا. والرجل ضعيفا.

“ฉันขอกล่าวว่า ผู้รายงานที่ไม่ถูกรู้จักกันนอกจากด้วยสายรายงานเพียงกระแสเดียว (หรือจากเขาคนเดียว) ดังที่ท่านอัลอุก็อยลีย์ ได้กล่าวไว้จากบรรดาผู้รายงานที่ไม่มีรายงานกระแสอื่นสำทับหะดีษของเขา ดังนั้นมันจึงเป็นหะดีษเฎาะอีฟโดยปราศจากข้อสงสัย ฉะนั้นหะดีษดังกล่าวนั้นจึงเป็นหะดีษมุงกัรและผู้รายงานก็ถือเป็นคนเฎาะอีฟด้วย”

หนังสือ الاحاديث التي قال فيها الامام البخاري (لايتابع عليه) في التاريخ الكبير 221

ท่านชัยคฺอาลี อัลฟัรกูซ อธิบายว่า

وهذا الحديث قد حسنه الشيخ الألباني رحمه الله في الصحيحة (١١٦٨) بمجموع الطريقين. وبدراسة الطريقين نجد: أن في الطريق الأول: تميم بن محمود، وقد قال فيه البخاري ” في حديثه نظر”، وضعفه العَقيلي والدَّوْلاَبي وابنُ الجارود، وقال العقيلي: لا يتابع على حديثه.

“และหะดีษบทนี้ท่านเชคอัลบานีย์ ให้สถานะเป็นหะดีษหะซันในหนังสือ อัศเศาะฮีฮะฮฺ ด้วยการประมวลสายรายงานจากสองกระแส และจากการศึกษาทั้งสองกระแสนั้น พบว่า กระแสแรกเป็นรายงานจาก ตะมีม บินมะฮฺมู้ด ท่านอิมามบุคอรีย์ วิจารณ์เขาว่า ในหะดีษของเขามีสิ่งที่ต้องพิจารณา ส่วนท่านอัลอุก็อยลีย์ ท่านเดาลาบีย์ และท่านอิบนุญารูด ได้ฮุกุ่มให้ผู้รายงานคนนี้เป็นคนฎออีฟ และท่านอัลอุก็อยลีย์ ได้วิจารณ์ด้วยสำนวนว่า ไม่มีรายงานสำทับหะดีษของเขา”

ที่มา: https://ferkous.com/home/?q=fatwa-349

ท่านชัยคฺอิบนุอะมีน กล่าวว่า

و قال العقيلي: «لا يتابع على أكثر حديثه» (وهذا يدل على أنه كثير الخطأ).

“ไม่มีรายงานสำทับหะดีษส่วนมากของเขา-และนี่คือสิ่งที่บ่งชี้ว่าผู้รายงานคนนี้มีความผิดพลาดมากมาย”

ที่มา: http://www.ibnamin.com/daef_bukhari_muslim.htm

ส่วนที่ผู้กล่าวร้ายเราไปเอาคำพูดของชัยคฺชุเอบ อัลอัรนะอูฏ มานำเสนอความว่า

وليس هذا بعلة فقد وثقه أحمد وابن معين والعجلي وغيرهم وصحح حديثه هذا الترمذي وابن حبان وأخرج له مسلم في صحيحه حديثين عن أبيه والأخذ بما تفرد به الثقة واجب

“นี่มันไม่ใช่เป็นการตำหนิหรือชี้ข้อบกพร่องแต่อย่างใด และอะห์หมัด, อิบนุมะอีน,อัลอิจลีย์และคนอื่นได้ให้ความน่าเชื่อถือแก่เขา และอิหม่ามติรมีซีย์, อิบนุฮิบบาน ได้ให้สถานะศอเฮียะห์แก่ฮะดีษของเขา อีกทั้งอิหม่ามมุสลิมได้บันทึกฮะดีษของเขาที่รายงานจากพ่อไว้ในศอเฮียะห์ของท่านจำนวนสองฮะดีษด้วยกัน ฉะนั้นการยึดเอาคำรายงานเพียงลำพังของผู้ที่เชื่อถือได้นั้นเป็นวาญิบ” ดูซิยะรุ้ลอะอ์ลามิลนุบะลาอ์ ญุชที่ 6 หน้าที่ 185

เราขอกล่าวว่า เราเองได้นำเสนอข้อมูลนี้ในบรรยายของเราเองว่า ชัยคฺชุเอบได้ทักท้วงการวิจารณ์นี้ของท่านอิมามอัลอุก็อยลีย์ ท่านควรจะฟังแล้วจับใจความให้เข้าใจ ไม่ใช่มากล่าวร้ายเราแบบนี้ อีกอย่างคำพูดของชัยคฺชุเอบตรงนี้ ไม่ได้หมายถึงชัยคฺชุเอบอธิบายความหมายของคำ ๆ นี้ แต่ชัยคฺชุเอบกำลังท้วงการวิจารณ์ของท่านอุก็อยลีย์ ตามที่ท่านอัสสะฮะบีย์ รายงานมา นั่นคือเมื่อท่านอัสสะฮะบีย์ได้รายงานคำพูดของท่านอุก็อยลีย์ มานำเสนอไว้ว่า

لاَ يُتَابَعُ عَلَى حَدِيْثِهِ فِي القُنُوْتِ

“ไม่มีคำรายงานสำทับฮะดีษของเขาในเรื่องกุนูต”

แล้วท่านอัสสะฮะบีย์ก็จบการเขียนตรงนั้น ด้วยเหตุนี้เองที่ชัยคฺชุเอบจึงได้ฟุตโน้ตท้วงว่า

وليس هذا بعلة

ซึ่งที่ถูกต้องหมายถึง “นี่ไม่ใช่ปัญหาที่มีในด้านสถานภาพความน่าเชื่อถือของเขา”

จากนั้นชัยคฺชุเอบเลยนำเสนอปราชญ์ที่ให้ความเชื่อถือแก่เขาไว้ว่า

فقد وثقه أحمد وابن معين والعجلي وغيرهم وصحح حديثه هذا الترمذي وابن حبان وأخرج له مسلم في صحيحه حديثين عن أبيه والأخذ بما تفرد به الثقة واجب

“และอะห์หมัด, อิบนุมะอีน,อัลอิจลีย์และคนอื่นได้ให้ความน่าเชื่อถือแก่เขา และอิหม่ามติรมีซีย์, อิบนุฮิบบาน ได้ให้สถานะศอเฮียะห์แก่ฮะดีษของเขา อีกทั้งอิหม่ามมุสลิมได้บันทึกฮะดีษของเขาที่รายงานจากพ่อไว้ในศอเฮียะห์ของท่านจำนวนสองฮะดีษด้วยกัน ฉะนั้นการยึดเอาคำรายงานเพียงลำพังของผู้ที่เชื่อถือได้นั้นเป็นวาญิบ” ดูซิยะรุ้ลอะอ์ลามิลนุบะลาอ์ ญุชที่ 6 หน้าที่ 185

ฉะนั้นคำพูดนี้ของชัยคฺชุเอบจึงหมายถึงการแย้งคำวิจารณ์ของท่านอุก็อยลีย์ ว่าแม้เขาจะไม่มีรายงานอื่นสำทับให้ แต่การรายงานของเขาเพียงลำพังไม่ใช่การญัรฮฺ (การวิจารณ์) ที่สามารถรับได้

ทั้งหมดนั้นเราเพียงแต่นำเสนอ สิ่งที่เป็นข้อโต้แย้งของฝ่ายตรงข้าม และเราก็ได้เสนอคำแย้งกลับและให้น้ำหนักไปแล้ว แต่ปัญหาของคนบางคนคือจับใจความไม่ได้ ถึงได้ยืดเยื้อมาเนิ่นนาน

นำมาจาก: https://www.facebook.com/lovesahabah.ahlulbayte/posts/2057024347693220


ฟังเพิ่มเติม

บรรยายพิเศษ: ทุกคนจะยึดนบี แต่ขัดแย้งว่า นบีเลือกอันไหน โดย อ.อามีน ลอนา

บรรยาย: อุละมาอ์ คือ ผู้นำพาเราไปหานบี ณ มัสยิดนูรุ้ลญันนะฮ์  โดย อ. ชารีฟ วงเสงี่ยม อ. อามีน ลอนา

บรรยาย: เมื่ออุละมาอ์เห็นต่างกัน…คนตามนบีจะเอายังไง! ณ บ้านแห่งการเรียนรู้ บึงขวาง ซอย 8 โดย อ. ชารีฟ วงเสงี่ยม อ. อามีน ลอนา

บรรยาย: การจัดการความเห็นต่าง – ผู้นำกับผู้ตามภายใต้กรอบอิสลาม ณ มัสยิดนูรุ้ลญันนะฮ์ โดย อ. ชารีฟ วงเสงี่ยม อ. อามีน ลอนา

บรรยาย: การเห็นต่างกันในอิสลาม ณ มัสยิดกียามุดดีน บ้านบ่อแร่ จ.ภูเก็ต โดย อ. ชารีฟ วงเสงี่ยม อ. อามีน ลอนา