บทนำ ตอนที่ 3: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.03)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] คำว่าญาฮิลียะฮ์ ดังที่เรากล่าวไปแล้ว ว่ามันพาดพิงไปหาคำว่า ญะฮล์ ซึ่งหมายถึง การไร้ความรู้ และเรื่องใดก็ตามที่ถูกพาดพิงกลับไปหาญาฮิลียะฮ์ เรื่อง ๆ นั้นจะถือเป็นเรื่องที่ต้องถูกตำหนิ ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์ตะอาลาจึงตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] อัลลอฮ์ทรงห้ามบรรดาภรรยาของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ให้ทำการตะบัรรุจ (แต่งตัวอวดโฉม) ซึ่งหมายถึงการเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนางตามท้องตลาด และต่อหน้าสาธารณะชน เพราะพวกญาฮิลียะฮ์นั้น ผู้หญิงของพวกเขาต่างก็ทำการแต่งตัวอวดโฉม ยิ่งไปกว่านั้นพวกนางยังเปิดเผยเอาเราะฮ์ของตัวเองอีกต่างหาก เหมือนกับในตอนที่พวกเขาทำการเฏาะวาฟ พวกเขามองว่าการทำแบบนี้ถือเป็นการได้อวดเบ่งกัน และอัลลอฮ์ตะอาลากล่าวว่า إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ ความว่า: […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 2: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.02)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] ส่วนคำว่าญาฮิลียะฮ์ เป้าหมายของคำ ๆ นี้ คือการพาดพิงไปสู่คำว่า ญะฮล์ (ความเขลา) ซึ่งคำว่าญะฮล์นั้นก็หมายถึงการไม่มีความรู้นั่นเอง และในส่วนของยุคญาฮิลียะฮ์ที่ไม่มีเราะซูลปรากฏตัวและไม่มีคัมภีร์ใดถูกประทานลงมา ความหมายของยุคดังกล่าวหมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] หมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา เพราะว่ายุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมานั้น โลกทั้งหมดกำลังปั่นป่วนอยู่ในความหลงผิด การปฏิเสธศรัทธา และการเฉไฉออกจากแนวทาง เนื่องเพราะสาส์นต่าง ๆ ก่อนหน้านั้นได้ถูกทำให้ลบเลือนหายไป พวกยะฮูดได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคัมภีร์เตาร๊อตของพวกเขา และได้นำเอาความเชื่อที่เป็นกุฟร์ (การปฏิเสธศรัทธา) ต่าง ๆ  […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 1: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.01)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิลิยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทศซาอุดิอารเบีย] ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปราณียิ่ง ผู้ทรงเมตตา คำนำ มวลการสรรญเสริญทั้งลายเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งสากลโลก ขอพระองค์ทรงสรรเสริญและประทานความศานติแก่นบีมุฮัมมัดของเรา ตลอดจนวงศ์วานและสาวกของท่านโดยทั่วกัน อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เคยทำการเรียนการสอนชุดหนึ่งที่มัสญิดเอาไว้ ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการอธิบายขยายความถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ “สารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (อาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีจะมาเผยแพร่ศาสนา)” ซึ่งท่านชัยคุลอิสลาม อัลมุญัดดิด ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ เราะหิมะฮุลลอฮ์ ได้เรียบเรียงประเด็นปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ในสาส์นฉบับย่อฉบับหนึ่ง และมีนักศึกษาบางส่วน -ขออัลลอฮ์ทรงประทานความสำเร็จให้แก่พวกเขา- ได้บันทึกการเรียนการสอนครั้งนั้นเป็นเทปเอาไว้ ต่อมาจึงมีนักศึกษาบางคน -ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่เขา- ทำการแกะเทปการเรียนการสอนดังกล่าวออกมา พร้อมกับเขียนลงเป็นลายลักษณ์ และได้นำมาให้ข้าพเจ้าตรวจสอบดู เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านมันแล้วจึงเห็นดีด้วยที่จะให้มีการตีพิมพ์พร้อมทั้งเผยแพร่มันออกไป เพื่อที่จะให้มันเป็นประโยชน์สูงสุด เนื่องด้วยความบกพร่องและความผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้ในการอธิบายขยายความครั้งนี้ ทว่ามันก็ยังเป็นอย่างที่ผู้คนกล่าวกันว่า شيء خير من لا شيء  “การมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ถึงแม้จะบกพร่องไปบ้าง) มันก็ดีกว่าการที่ไม่มีอะไรเลย” ข้าพเจ้าจึงหวังจากผู้อ่านที่ได้อ่านคำอธิบาย (จากหนังสือเล่ม) นี้และเล็งเห็นถึงข้อผิดพลาดจุดใดก็ตาม ให้เขาได้มากล่าวเตือนข้าพเจ้าเพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้แก้ไขมันเสียใหม่ ขออัลลอฮ์ทรงช่วยเหลือให้พวกท่านทุกคนได้รับในความรู้ที่ยังประโยชน์พร้อมทั้งให้พวกท่านได้ปฏิบัติการงานที่ดี […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561