อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (4) : วิพากษ์การแก้เกี้ยวของบางคนเรื่องชัยคฺมุนัจญิดกรณีบิกแบง

หลังจากที่ได้โพสต์บทความที่พิสูจน์ว่าชัยคฺมุนัจญิดรับรองว่าบิกแบงมีความสอดล้องกับเนื้อหาในอัลกุรอานที่โพสต์นี้ (ตอนที่ 1) ก็ปรากฏว่ามีคนบางคนออกมาแก้เกี้ยวแถไถ ตะแบง จะเอาชนะให้ได้ ซึ่งจะขอวิพากษ์เร็วๆ ดังนี้ มีคนกล่าวว่า “เขาอ้างบทความอีกอันครับ ของเชคมุนัจญิดที่มีเนื้อหาประมาณว่าเห็นด้วยกะบิกแบง แต่ผมได้เข้าไปดูแล้ว พบว่ามันไม่ได้บ่งบอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยกับบิกแบง แต่แกเล่าผ่านบทความแกว่าพวกกาฟิรฺอ่านศึกษากุรอานแล้วเอาบิกแบงไปโยงกับอัลกุรอาน แล้วพบว่ามีจุดที่สอดคล้องกัน ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยเลย คนละกรณี แต่โดนเอามาโยงให้เข้ากับการแอบอ้างของกลุ่มตัวเอง” นี่เป็นการแถที่น่าเกลียดที่สุด ด้วยเหตุผลประการต่อไปนี้ หนึ่ง ชัยคฺมุนัจญิดขึ้นต้นหัวข้อบรรยายของท่านมาด้วยหัวข้อว่า ความมหัศจรรย์ตลอดกาลของอัลกุรอาน معجزة القرآن الخالدة จากนั้นก็ยกเรื่องบิกแบงมากล่าวต่อ ถามว่าแบบนี้เชคมุนัจญิดยังไม่ได้รับรองอีกหรืออย่างไร แค่เล่าเฉยๆ หามิได้นี่คือการแก้ตัวที่น่าเวทนามาก สอง หลังจากชัยคฺมุนัจญิดเล่าให้ฟังว่าพวกกาฟิรค้นพบบิกแบงแล้ว เชคก็ได้กล่าวว่า هذا عين ما في القرآن “และนี่คือสาระที่อยู่ในอัลกุรอาน” ถามว่าพูดแบบนี้ยังไม่รับรองอีกเหรอ สาม หลังจากนั้นชัยคฺมุนัจญิดได้พูดปิดท้ายว่า و هم يعرفون ذلك، كيف اهتدى إلى هذا رجل أمي عاش قبل ألف […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (3) : อุละมาอ์ชื่อดังชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺกล่าวถึงบิกแบงค์ว่าสอดคล้องกับอัลกุรอาน

ใครที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือศาสนาภาษาอาหรับ จะต้องเคยได้ยินชื่อของชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺบ้างไม่มากก็น้อย ในฐานะที่ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีผลงานในด้านการตะฮฺกี้ก (คือตรวจทานจัดพิมพ์) หนังสืออะกีดะฮฺและหนังสือวิชาการอิสลามหลายๆ เล่ม เช่น หนังสือ الاحتجاج بالقدر ของท่านอิบนุตัยมียะฮฺ, หนังสือ تيسير العزيز الحميد في شرح كتاب التوحيد الذي هو حق الله على العبي อันเป็นหนังสือเตาฮีดชื่อดังของท่านชัยคฺสุไลมาน บินอับดิลละฮฺ อาลเชค โดยจำนวนมากจากหนังสือที่ท่านชัยคฺซุฮัยรฺจัดพิมพ์จะร่วมกันทำกับท่านชัยคฺอัลบานีย์ โดยชัยคฺอัลบานีย์จะตรวจสอบสถานะหะดีษขณะที่ชัยคฺซุฮัยรฺจะตรวจสอบเนื้อหาและฟุตโน๊ตอ้างอิงตลอดทั้งเล่ม หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือหลายๆ เล่มที่ชัยคฺซุฮัยรฺได้ตะฮฺกี้กไปมีชื่อว่า ما دل عليه القرآن مما يعضد الهيئة الجديدة القويمة البرهان ซึ่งเขียนโดยท่านอิมามมะฮฺมู้ดชุกรีย์ อาลูซีย์ ซึ่งในเล่มนี้ท่านชัยคฺซุฮัยรฺเป็นผู้ตะฮฺกี้ก ขณะที่ชัยคฺอัลบานีย์ทำการตรวจสอบสถานะของหะดีษ ความเป็นมาหนังสือ ในหน้าที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ ท่านชัยคฺซุฮัยรฺได้ระบุว่า ท่านชัยคฺอับดุลมะลิก บินอิบรอฮีม อาลชัยคฺ […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (2) : คำชี้แจงขององค์กรสันนิบาตมุสลิมโลกเกี่ยวกับความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับบิกแบง

องค์กรรอบิเฏาะฮฺคือใคร? สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) หรือ รอบิเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2505 (1962) โดยรัฐบาลซาอุดีฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) เพื่อให้เป็นองค์กรเผยแผ่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรนี้และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์กรรอบิเฏาะฮฺในอดีตคนสำคัญคนหนึ่งคือท่านชัยคฺอับดุลอะซีส บินบาซ (โปรดดูมัจมูอฺฟะตาวาย์ เล่ม 6 หน้า 147) ภายใต้การทำงานขององค์กรรอบิเฏาะฮฺนั้น ยังมีแผนกย่อยลงไปเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงานทางวิชาการต่างกัน เช่น มีแผนก อัลมัจมะฮ์ อัลฟิกฮีย์ อัลอิสลามีย์ (المجمع الفقهي الإسلامي) ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ) เช่นเดียวกันองค์กรรอบิเฏาะฮฺยังมีแผนกที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกค้นคว้าประเด็นเรื่องความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺซึ่งใช้ชื่อแผนกกันในภาษาอาหรับว่า (الهيئة العالمية للإعجاز […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (1) : ชัยค์มุนัจญิดกับข้อเท็จจริงเรื่องบิกแบงตอบโต้การบิดเบือนของครูนักแต่งกลอน

ท่านชัยคฺมุนัจญิดได้กล่าวไว้ในคำบรรยายของท่านถึงความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่ท้าทายพวกกาฟิรฺในเรื่องของการกำเนิดจักรวาลไว้ว่า معجزة القرآن الخالدة و آخر من كبار باحثيهم، درس القرآن دراسة متأنية، و مما لفت نظره أمور، مثل: أن القرآن الكريم فيه سورة باسم مريم، و ليست في نظره من المنتسبين إلى هذا الدين، بل إنها محسوبة على دين النصارى، و ليس في القرآن سور باسم خديجة أو فاطمة أو عائشة، من نساء هذا […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561
1 2