60 ประการแห่งการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด EP.02: ข้อ 11 – 20

โปรดอ่าน ตอนที่ 1: 60 ประการแห่งการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด EP.01: ข้อ 1 – 10 ข้อที่ 11 Exploitation of Strong Feelings and Attitudes (manipulation of deep-seated feelings): ใช้ความอ่อนไหวทางอารมณ์  หรือความรู้สึกมาเป็นเหตุผล เพื่อให้เกิดการยอมรับจุดยืนของตน ปฎิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์เรามีความรู้สึกอ่อนไหวทางอารมณ์ซึ่งอาจจะทำให้ละเลยที่จะพิจารณาที่หลักฐานและเหตุผล แต่ใช้ความอ่อนไหวทางอารมณ์นั้นมาแทนที่ ซึ่งไม่สามารถใช้พิสูจน์ความจริงได้ หรือไม่สามารถใช้เป็นตัวตัดสินได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรจริงอะไรเท็จ ข้อที่ 12 Use of Flattery (praise replaces evidence): เอาการชมเชย หรือการยกย่อง มาแทนที่การใช้เหตุผลหรือหลักฐาน เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ อาจจะต้องการให้คนอื่นมาเชื่อเหมือนตนเองหรือ อาจจะต้องการได้ผลประโยชน์ทางวัตถุ ข้อที่ 13 Assigning Guilt by Association (argues that those with […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

30/06/2561

หะดีษ 73 กลุ่ม และอุศู้ล ตัวชี้วัดความหลงผิด

กองบรรณาธิการเกริ่นนำ: (หลังจากที่มีการปล่อยบทความ ชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺริบีย์: ระหว่างแนวทางกับตัวบุคคุลของกลุ่มอิควานมุสลีมูน และบทความ ความผิดของกลุ่มและตัวคนในกลุ่ม ก็มีกระแสข่าวออกมาว่าทางสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนมีการเปลี่ยนทัศนะแบบเนียน ๆ ว่ามีการแยกกันระหว่างการฮุกุ่มแนวทางกับตัวบทบุคคล ซึ่งที่จริงทางสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนไม่ได้มีการเปลี่ยนทัศนะแต่อย่างใดทั้งสิ้น บทความ ชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺริบีย์: ระหว่างแนวทางกับตัวบุคคุลของกลุ่มอิควานมุสลีมูน เขียนขึ้นครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม 2013 (2556) ทัศนะในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องพื้นฐานของนักวิชาการอิสลามที่จำเป็นต้องรู้ และบทความที่กำลังจะได้อ่าน เป็นบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดยอาจารย์ชะรีฟ วงศ์เสงี่ยม อามีรสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนที่ถูกตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือที่มีชื่อว่า สามด่าน กับการปกป้องต้นเองให้พ้นจากไฟนรก อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่พิมพ์ครั้งแรกในช่วงเดือน พฤษภาคม 2557 และบทความนี้ (หะดีษ 73 กลุ่มและอุศู้ล ตัวชี้วัดความหลงผิด) ก็เขียนขึ้นมาก่อนหน้านี้มาพอสมควรแล้ว หากจะนับบทความ ด้วยรักและห่วงใย ที่ชัยคฺริฎอ อะห์มัด สะมะดี ออกโรงปกป้องแนวทางอิควานมุสลิมีนที่ลงวันที่ 25/07/2012 (2555) เป็นจุดอ้างอิง ก็นับว่าบทความชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺรีบีย์ ห่างกันประมาณ 1 ปีเศษ ไม่ต้องพูดถึงการเรียบเรียงความคิด ทัศนะ แล้วประมวลผลออกมาเป็นข้อเขียนออกมาว่าจะมีมาก่อนหน้านั้นมานานเพียงไร (อย่างที่ได้บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าเรื่องการจำแนกแนวทางกับตัวบุคคลเป็นเรื่องพื้นฐานที่นักวิชาการต้องรู้และผู้ศึกษาทั่วไปก็ต้องรู้ด้วย) ที่แอดมินเพจเกริ่นก่อนเข้าก็เพื่อชี้แจงให้ทราบต่อบรรดาผู้ไม่เคยฟัง ไม่เคยอ่าน […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

25/06/2561

ความผิดของกลุ่มและตัวคนในกลุ่ม

[เผยแพร่แล้วในเว็บไซต์ https://th-th.facebook.com/thvoiceofgen/ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2016 (พ.ศ. 2559) 1. เมื่อเราพูดถึงประเด็นนี้ เราอาจจะมุ่งประเด็นมาที่คำถามที่ในทำนองว่า “คุณยอมรับหรือไม่ว่ากลุ่มอิควาน กลุ่มอะชาอะเราะฮฺ หรือกลุ่มซูฟีย์นั้นมีความผิดที่ทำให้ออกจากการเป็นชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ โดยที่ตัวคนใครก็ตาม (ที่อาจจะอยู่หรือไม่ได้อยู่ในกลุ่มทั้ง 3 นี้) ที่จงใจที่จะยึดในความผิดดังกล่าวนี้อีกภายหลังจากที่เขาได้รับรู้แล้วถึงความผิดนั้น ก็ถือว่าเขาผู้นั้นได้สิ้นจากการเป็นชาวซุนนะฮฺ (นั่นคือกลายเป็นผู้ที่ดื้อดึงในบิดอะฮฺหรือที่เรียกเป็นภาษาอรับว่ามุ๊บตะดิอฺ)” ที่ให้เริ่มต้นถามคำถามในทำนองนี้ก็เพื่อว่าจะได้เกิดความชัดเจนและตรงประเด็นตั้งแต่เริ่มต้น 2. คำพูดในทำนองที่ว่า “ผมไม่ได้เป็นอิควาน แต่ผมแค่เห็นด้วยกับบางสิ่งของกลุ่มอิควาน” ถามว่า บางสิ่งที่เห็นด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นสิ่งที่ทำให้หลงผิดหรือไม่ ถ้าตอบว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีอะไรผิดแต่อย่างใด คำถามก็คือ อย่างนั้นผมจะพูดบ้างได้หรือไม่ว่า “ผมไม่ได้เป็นชีอะฮฺ แต่ผมเพียงแค่เห็นด้วยกับบางสิ่งของกลุ่มชีอะฮฺเท่านั้น” ซึ่งการพูดเช่นนี้ถือว่าคำพูดที่คลุมเคลือ ทำให้เกิดความสงสัยได้ และเราจะเห็นได้ว่าคำพูดในทำนองดังกล่าวนี้มักจะมาจากผู้ที่มีความโน้มเอียงไปยังแนวทางของกลุ่มนั้นที่ถูกกล่าวถึงอยู่ (เช่นกลุ่มอิควาน) และละเลยหรือนิ่งเฉยต่อความผิดที่กลุ่มนั้นที่มีอยู่โดยไม่ยอมโต้ตอบและชี้แจงความหลงที่กลุ่มนั้น ๆ มีอยู่ 3. กลุ่มชีอะฮฺมีความผิดที่เข้าทั้งด่าน 1 และด่าน 2 แต่ถ้ามีใครคนใดพูดขึ้นมาว่า “ผมเป็นชีอะฮฺน่ะครับ แต่เป็นชีอะฮฺในความหมายที่ว่าผมเห็นด้วยกับสิ่งถูกต้องที่มีอยู่ในกลุ่มชีอะฮฺ และไม่ได้ขอเกี่ยวข้องอะไรกับความผิดที่กลุ่มชีอะฮฺมี ทั้งที่เป็นความผิดด่าน 1 และด่าน 2 […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

25/06/2561

60 ประการแห่งการใช้เหตุผลที่ผิดพลาด EP.01: ข้อ 1 – 10

ข้อที่ 1 Irrelevant or Questionable Authority (citing one who is neither an authority or is biased or is unknown): ยกหลักฐานอ้างอิงที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเป็นหลักฐานที่มีแหล่งที่มาที่น่าสงสัย  อาจจะเนื่องจาก ผู้ที่ถูกอ้างอิงเพื่อเป็นหลักฐานนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องที่ถูกอ้างโดยตรง หรือไม่ก็ไม่มีใครรู้จักเขาว่าเป็นใคร หรืออาจจะเป็นผู้ที่มีอคติในเรื่องนั้นๆ ข้อที่ 2 Appeal to Common Opinion (argues that most people accept or reject it): เอาคนส่วนมาก หรือส่วนใหญ่มาเป็นเหตุผล หรือหลักฐาน เพื่อสนับสนุนจุดยืนของตัวเอง ข้อที่ 3 Genetic Fallacy (evaluating something in earlier context and carrying it […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

23/06/2561