อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (6) : คำยืนยันของ ดร.นาญีย์ ดาวูด ซะลามะฮฺ เรื่องความสอดคล้องระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับกำเนิดจักรวาลในอัลกุรอาน

ก่อนที่เราจะเข้าไปคุยเรื่องนี้กันนั้น ในเบื้องต้นผมอยากจะปูพื้นฐานแก่ผู้อ่านก่อนว่า เวลาเราจะคุยถึงความรู้เกี่ยวกับกำเนิดจักรวาล เราจะเรียกความรู้ชนิดนี้ว่าความรู้ทางดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีนักวิทยาศาสตร์สายนี้ทำการศึกษาถึงเรื่องข้อเท็จจริงในจักรวาลตามแต่ละสำนักไป สิ่งที่เราต้องเข้าใจในเบื้องต้นคือ นักดาราศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาและผลิตคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลนั้น จะมีอยู่ 2 สำนักหลักๆ คือ สำนักแรก นักวิทยาศาสตร์สายจักรวาลเป็นอนันต์ พวกนี้เชื่อว่าจักรวาลชั้นฟ้าที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีมาแบบนี้ตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ถูกสร้าง ไม่มีจุดกำเนิด ซึ่งความเชื่อของสำนักนี้เป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการอิสลามอย่างชัดเจน สำนักที่สอง นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น โดยกำเนิดตามขั้นตอนของ บิกแบง บทความในเว็ปไซต์อิสลามเว็ปได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ في أوائل القرن العشرين انقسم علماء الفيزياء الكونية (cosmology) إلي فريقين مختلفين حول طبيعة نشوء هذا الكون : فذهب فريق إلي أن هذا الكون هو في هذه الحالة التي نعرفها منذ القدم , […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (5) : ตอบโต้วาทกรรมของกลุ่มตักฟิรีย์เมืองไทย ใครเชื่อบิกแบงทำให้ตกมุรตัดได้!

ลักษณะหนึ่งของพวกตักฟิรีย์เคาะวาริจฺคือ การพยายามจะเชื่อมโยงหรือวางเงื่อนไขผิดๆ ให้แก่การกระทำหนึ่งกลายเป็นกุฟรฺให้ได้ โดยที่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำนั้นมิได้เป็นเงื่อนไขให้ได้ข้อสรุปเช่นนั้นแต่อย่างใดเลย เช่น ในอิสลามคนที่ซินาแต่ยอมรับว่าทำบาป ถือว่ายังเป็นมุสลิม แต่ถ้าทำซินา แล้วบอกหรือเชื่อว่าซินาฮะล้าล อันนี้เป็นกุฟรฺ ปรากฏว่าเคยมีคนที่อาจจะมีรากเหง้าจากเคาะวาริจฺ เคยใช้สูตรโยงผิดๆ ว่า “คนที่ทำซินาแล้วมาเล่าให้เพื่อนฟังอย่างเมาปาก แสดงว่าคนๆ นี้เชื่อว่าซินาไม่บาป ฉะนั้นผู้ทำซินาแล้วเล่าคนอื่นจึงถือว่าเป็นกาฟิรฺ เพราะถ้าเชื่อว่าซินาบาปจะไม่เล่า” นี่คือตัวอย่างการเชื่อมโยงพิลึกพิลั่นของพวกตักฟิรีย์ เช่นเดียวกับตัวอย่างประโยคสนทนาต่อไปนี้ หมอกาฟิรฺ: คนไข้ต้องพาลูกหลานไปรับวัคซีนต้านโปลิโอนะครับ จะได้ไม่เกิดโรค (แน่นอนว่าในใจของหมอไม่เคยเชื่อว่ามีพระเจ้าทำให้หายป่วยหรือกำหนดเบื้องหลังอยู่แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความบังเอิญ) คนไข้มุสลิม: ได้ครับหมอ ผมจะพาลูกไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ (ในใจเชื่อว่าอัลลอฮฺเป็นผู้กำหนดทั้งหมด) ตักฟิรีย์: คุณคนไข้มุสลิม บัดนี้คุณได้ล่วงล้ำสู่กุฟรฺแล้ว เพราะคุณเชื่อทฤษฎีทางการแพทย์ของหมอกาฟิรฺที่ไม่เชื่อว่าการหายป่วยมาจากกำหนดของพระเจ้า! นี่คือวิธีการโยงมั่วๆ เพื่อนำไปสู่การตักฟีร กลับมาที่ประเด็นบิกแบง พวกตักฟิรีย์บางคนพยายามจะทำให้มุสลิมที่เชื่อในชุดคำอธิบายแบบบิกแบงเป็นกาฟิรฺหรือไม่ก็กุฟรฺกันหมด โดยให้เหตุผลว่าทฤษฎีบิกแบงถูกอธิบายว่าจักรวาลเกิดขึ้นเองจากนักวิทยาศาสตร์กาฟิรฺ ฉะนั้นใครเชื่อในทฤษฎีนี้ผู้นั้นย่อมเป็นกาฟิรฺ! ชี้แจง ประการแรก ดูเหมือนคนพูดจะไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะบิกแบง สิ่งแรกที่คนพูดไม่รู้เลยก็คือ ผู้ที่เป็นต้นคิดกำเนิดคำอธิบายจักรวาลแบบบิกแบงคือบาทหลวงคริสเตียนนิกายคาธอลิค เป็นคนเชื่อพระเจ้าครับ! เขามีชื่อว่า ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวเบลเยียม มีสมณศักดิ์เป็นเพรเลต และเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน บางครั้งเรียกโดยย่อด้วยชื่อตำแหน่งว่า “คุณพ่อ” (Abbé) […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (4) : วิพากษ์การแก้เกี้ยวของบางคนเรื่องชัยคฺมุนัจญิดกรณีบิกแบง

หลังจากที่ได้โพสต์บทความที่พิสูจน์ว่าชัยคฺมุนัจญิดรับรองว่าบิกแบงมีความสอดล้องกับเนื้อหาในอัลกุรอานที่โพสต์นี้ (ตอนที่ 1) ก็ปรากฏว่ามีคนบางคนออกมาแก้เกี้ยวแถไถ ตะแบง จะเอาชนะให้ได้ ซึ่งจะขอวิพากษ์เร็วๆ ดังนี้ มีคนกล่าวว่า “เขาอ้างบทความอีกอันครับ ของเชคมุนัจญิดที่มีเนื้อหาประมาณว่าเห็นด้วยกะบิกแบง แต่ผมได้เข้าไปดูแล้ว พบว่ามันไม่ได้บ่งบอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยกับบิกแบง แต่แกเล่าผ่านบทความแกว่าพวกกาฟิรฺอ่านศึกษากุรอานแล้วเอาบิกแบงไปโยงกับอัลกุรอาน แล้วพบว่ามีจุดที่สอดคล้องกัน ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยเลย คนละกรณี แต่โดนเอามาโยงให้เข้ากับการแอบอ้างของกลุ่มตัวเอง” นี่เป็นการแถที่น่าเกลียดที่สุด ด้วยเหตุผลประการต่อไปนี้ หนึ่ง ชัยคฺมุนัจญิดขึ้นต้นหัวข้อบรรยายของท่านมาด้วยหัวข้อว่า ความมหัศจรรย์ตลอดกาลของอัลกุรอาน معجزة القرآن الخالدة จากนั้นก็ยกเรื่องบิกแบงมากล่าวต่อ ถามว่าแบบนี้เชคมุนัจญิดยังไม่ได้รับรองอีกหรืออย่างไร แค่เล่าเฉยๆ หามิได้นี่คือการแก้ตัวที่น่าเวทนามาก สอง หลังจากชัยคฺมุนัจญิดเล่าให้ฟังว่าพวกกาฟิรค้นพบบิกแบงแล้ว เชคก็ได้กล่าวว่า هذا عين ما في القرآن “และนี่คือสาระที่อยู่ในอัลกุรอาน” ถามว่าพูดแบบนี้ยังไม่รับรองอีกเหรอ สาม หลังจากนั้นชัยคฺมุนัจญิดได้พูดปิดท้ายว่า و هم يعرفون ذلك، كيف اهتدى إلى هذا رجل أمي عاش قبل ألف […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (3) : อุละมาอ์ชื่อดังชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺกล่าวถึงบิกแบงค์ว่าสอดคล้องกับอัลกุรอาน

ใครที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือศาสนาภาษาอาหรับ จะต้องเคยได้ยินชื่อของชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺบ้างไม่มากก็น้อย ในฐานะที่ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีผลงานในด้านการตะฮฺกี้ก (คือตรวจทานจัดพิมพ์) หนังสืออะกีดะฮฺและหนังสือวิชาการอิสลามหลายๆ เล่ม เช่น หนังสือ الاحتجاج بالقدر ของท่านอิบนุตัยมียะฮฺ, หนังสือ تيسير العزيز الحميد في شرح كتاب التوحيد الذي هو حق الله على العبي อันเป็นหนังสือเตาฮีดชื่อดังของท่านชัยคฺสุไลมาน บินอับดิลละฮฺ อาลเชค โดยจำนวนมากจากหนังสือที่ท่านชัยคฺซุฮัยรฺจัดพิมพ์จะร่วมกันทำกับท่านชัยคฺอัลบานีย์ โดยชัยคฺอัลบานีย์จะตรวจสอบสถานะหะดีษขณะที่ชัยคฺซุฮัยรฺจะตรวจสอบเนื้อหาและฟุตโน๊ตอ้างอิงตลอดทั้งเล่ม หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือหลายๆ เล่มที่ชัยคฺซุฮัยรฺได้ตะฮฺกี้กไปมีชื่อว่า ما دل عليه القرآن مما يعضد الهيئة الجديدة القويمة البرهان ซึ่งเขียนโดยท่านอิมามมะฮฺมู้ดชุกรีย์ อาลูซีย์ ซึ่งในเล่มนี้ท่านชัยคฺซุฮัยรฺเป็นผู้ตะฮฺกี้ก ขณะที่ชัยคฺอัลบานีย์ทำการตรวจสอบสถานะของหะดีษ ความเป็นมาหนังสือ ในหน้าที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ ท่านชัยคฺซุฮัยรฺได้ระบุว่า ท่านชัยคฺอับดุลมะลิก บินอิบรอฮีม อาลชัยคฺ […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (2) : คำชี้แจงขององค์กรสันนิบาตมุสลิมโลกเกี่ยวกับความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับบิกแบง

องค์กรรอบิเฏาะฮฺคือใคร? สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) หรือ รอบิเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2505 (1962) โดยรัฐบาลซาอุดีฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) เพื่อให้เป็นองค์กรเผยแผ่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรนี้และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์กรรอบิเฏาะฮฺในอดีตคนสำคัญคนหนึ่งคือท่านชัยคฺอับดุลอะซีส บินบาซ (โปรดดูมัจมูอฺฟะตาวาย์ เล่ม 6 หน้า 147) ภายใต้การทำงานขององค์กรรอบิเฏาะฮฺนั้น ยังมีแผนกย่อยลงไปเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงานทางวิชาการต่างกัน เช่น มีแผนก อัลมัจมะฮ์ อัลฟิกฮีย์ อัลอิสลามีย์ (المجمع الفقهي الإسلامي) ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ) เช่นเดียวกันองค์กรรอบิเฏาะฮฺยังมีแผนกที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกค้นคว้าประเด็นเรื่องความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺซึ่งใช้ชื่อแผนกกันในภาษาอาหรับว่า (الهيئة العالمية للإعجاز […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (1) : ชัยค์มุนัจญิดกับข้อเท็จจริงเรื่องบิกแบงตอบโต้การบิดเบือนของครูนักแต่งกลอน

ท่านชัยคฺมุนัจญิดได้กล่าวไว้ในคำบรรยายของท่านถึงความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่ท้าทายพวกกาฟิรฺในเรื่องของการกำเนิดจักรวาลไว้ว่า معجزة القرآن الخالدة و آخر من كبار باحثيهم، درس القرآن دراسة متأنية، و مما لفت نظره أمور، مثل: أن القرآن الكريم فيه سورة باسم مريم، و ليست في نظره من المنتسبين إلى هذا الدين، بل إنها محسوبة على دين النصارى، و ليس في القرآن سور باسم خديجة أو فاطمة أو عائشة، من نساء هذا […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561
1 2