ตำราอะกีดะฮฺอะลิซซุนนะฮฺกับอิจมาอ์ห้ามโค้นล้มผู้ปกครองมุสลิม
อิจมาอ์เกือบทุกเรื่องในศาสนา เวลามีการสรุปแล้วว่ามีอิจมาอ์ ก็จะมี 2 กรณีที่เกิดการค้านอิจมาอ์นั้น 1. มีความเห็นหรือการกระทำที่ค้านอิจมาอ์ ซึ่งอุละมาอ์ที่ค้านอิจมาอ์ อาจจะไม่ทราบ หรือไม่รับรู้ว่ามีอิจมาอ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้น 2. กรณีที่มีรายงานอิจมาอ์มาแล้ว แต่มีคนไม่รับอิจมาอ์นั้น และออกมาค้านว่าอิจมาอ์นั้นว่าใช้ไม่ได้ เป็นการมุ่งไปที่ตัวอิจมาอ์ ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไปเอารายงานจากยุคสะลัฟมา หรืออาจเป็นการกระทำของสะลัฟ แล้วมาสรุปอิจมาอ์ –อิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการตีความ ไม่ใช่อิจมาอ์บิลนักลิ เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการรายงาน ซึ่งอุละมาอ์พลาดในแบบแรกกันเยอะมาก และแบบที่ 2 นั้นมีน้ำหนักและความแม่นยำกว่า- [รายละเอียดเพิ่มเติมฟังได้ที่: เจตนารมณ์แห่งอัสสะละฟุศศอและห์ ตอน 1 : แนวทางสลัฟ คือ อะไร? เจตนารมณ์ของคำนี้คืออะไร?] ยกตัวอย่างเรื่องซิฟาต (คุณลักษณะของอัลเลาะฮ์) ซึ่งมีอิจมาอ์หมดแล้วทั้งเรื่องอัลเลาะฮ์เสด็จลงมา เรื่องบัลลังก์ ฯลฯ แต่ก็จะมีรายงานสะลัฟที่สับสน เข้าไม่ถึงข้อมูล ที่นำไปสู่การสรุปอิจมาอ์ใหม่ว่าเรื่องนี้มีคิลาฟ เรื่องนี้ไม่มีอิจมาอ์ เช่น มีรายงานคำพูดอิมามอะฮ์หมัดว่า “ลากัยฟะ วะลามะนา {ไม่มีวิธีการ ไม่มีความหมาย}” คนรุ่นหลังก็ไปเอาคำพูดนี้มาสรุปอิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ ว่าอิมามอะฮ์หมัดตีความ (จริงๆ “ลามะนา” […]