คำสั่งเสียของชาวสะลัฟแด่เยาวชน โดย ชัยคฺอับดุลร็อซซาก อัลบัดรฺ EP.02

คำสั่งเสียที่หนึ่ง มีรายงานจากท่านอะบิ้ลอะฮฺวัศ กล่าวว่า : ท่านอบูอิสหาก –คือ ท่านอัมรฺ อัซซะบีอีย์- (มีชีวิต ช่วงปี ฮ.ศ.33 – 127) ได้กล่าวว่า : “โอ้เยาวชนเอ๋ย พวกเธอจงฉวยโอกาสเอาไว้เถิด  น้อยนักที่ค่ำคืนหนึ่งได้ผ่านพ้นฉันไปนอกเสียจากว่าฉันจะอ่านอัลกุรอ่านหนึ่งพันอายะห์ในค่ำคืนนั้นและตัวฉันจะอ่าน   ซูเราะห์อัลบะเกาะเราะฮ์ในหนึ่งร็อกอัต และฉันได้ถือศีลอดในเดือนฮุรุม (เดือนซุ้ลเกาะอฺดะห์ ซุ้ลฮิจญะห์ มุฮัรรอมและรอญับ- ผู้แปล) และฉันจะถือศีลอดในสามวันของทุกๆ เดือน  รวมไปถึงวันจันทร์และวันพฤหัสด้วย หลังจากนั้นท่านก็อ่านอายะฮ์ที่ว่า : وَأَمَّا بِنِعْمَةِ رَبِّكَ فَحَدِّثْ “และส่วนความโปรดปรานแห่งพระเจ้าของเจ้านั้นเจ้าจงแสดงออก” [อัดดุฮา : 11][1] คำพูดของท่านที่ว่า “ฉันจะอ่านอัลกุรอ่านหนึ่งพันอายะฮ์ในค่ำคืนนั้น” หมายถึง จำนวนที่ใกล้เคียง ไม่ได้หมายถึง การจำกัดจำนวนอายะฮ์ที่ตายตัว และนั่นหมายความว่า ท่านจะอ่านอัลกุรอ่านจบเล่มหนึ่งรอบในทุกสัปดาห์ และการอ่านอัลกุรอ่านจบรอบหนึ่งในทุกๆ สัปดาห์ คือ นิสัยของชาวสลัฟโดยรวม มีรายงานจากท่าน อัมรฺ บินมัยมูน (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. ที่ […]

อักรอม ชาจิตตะ

04/08/2562

คำสั่งเสียของชาวสะลัฟแด่เยาวชน โดย ชัยคฺอับดุลร็อซซาก อัลบัดรฺ EP.01

คำนำผู้แปล ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณีเสมอ ขอความศานติและการประสาทพร จงประสบแด่ท่านร่อซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุลัยฮิวะซั้ลลัม และบรรดาวงศ์วานของท่านตลอดจนบรรดาสาวกของท่านทั้งมวล เยาวชน คือ ช่วงวัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สำหรับคนๆ หนึ่ง ที่จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคมที่นับวันจะยิ่งเสื่อมถอยลง หรือการคบเพื่อนที่จะคอยชักจูงกันทำในสิ่งที่ผิดต่อหลักการศาสนา และปัจจัยอื่นๆ ฯลฯ ดังนั้นบรรดาเยาวชนจึงต้องมีแบบอย่าง  คำสั่งเสียและคำตักเตือนที่ดีงามคอยชี้นำพวกเขาไปสู่ความดีงาม และหนังสือเล่มนี้ ซึ่งประพันธ์โดย ท่าน ชัยคฺอับดุลร็อซซาก บินอับดุลมุฮฺซิน อัลบัดรฺ ฮะฟิเศาะฮุ้ลลอฮ์ ได้รวมไว้ซึ่งคำสั่งเสียบางส่วนของบรรดาชาวสะละฟุศศอและฮฺ[1] ที่มีต่อเยาวชน  และกระผมหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนช่วยให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ฉุกคิดและตระหนักถึงความสำคัญของช่วงวัยนี้และเอาใจใส่ต่อบรรดาเยาวชนให้มากกว่าเดิม  ตลอดจนเป็นส่วนช่วยเพิ่มพูนอีหม่านของท่านผู้อ่านให้มากขึ้น ไม่มากก็น้อย วั้ลลอฮุอะอฺลัม อักรอม  ชาจิตตะ 16 ชะอฺบาน 1440 จาการ์ตา อินโดนนิเซีย หนังสือ คำสั่งเสียของชาวสลัฟแด่เยาวชน โดย ชัยคฺอับดุลร็อซซาก บินอับดุลมุฮฺซิน อัลบัดรฺ بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَٰنِ الرَّحِيمِ أما بعد :الحمد لله رب […]

อักรอม ชาจิตตะ

04/08/2562

ความหมายของประเด็นอิจติฮาด

ประเด็นเรื่องการเห็นต่างในศาสนาแบ่งออกเป็น สองประเภท คือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาตให้เห็นต่างได้ และประเด็นที่ไม่อนุญาตให้เห็นต่าง และสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการ “อิจติฮาด” (ย้ำไม่ใช่ประเด็นคิลาฟียะห์ที่บรรดาอุละมาอ์ไม่รับพิจารณา หรือ ที่เรียกว่า คิลาฟฎออีฟ) ซึ่งในภาษาอาหรับอุละมาอ์ใช้คำว่า “คิลาฟ ซาอิฆ” หรือ “คิลาฟกอวีย์” หรือ “คิลาฟมุอฺตะบัร” และผมจะพยายามเขียนให้สั้นๆ เพื่อพี่น้องจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ อินชาอัลลอฮ และความหมายของประเด็นอิจติฮาดนั้น ท่านชัยคฺ ดร. สุไลมาน อัรรุฮัยลีย์ (ท่านเป็นอุละมาอ์สะละฟีย์ ในยุคปัจจุบัน นักเรียนมะดีนะห์ หรือ คนที่จบมาจากมหาลัยมะดีนะห์ คงรู้จักกันดี โดยท่านได้สอนอยู่ที่มัสยิดนบี) ฮะฟิเศาะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเอาไว้ว่า : المسألةُ الاجتِهاديَّة: هي الَّتي تتقاربُ فيها الأدِلَّة، يعني يكون لكُلِّ قول دليل لهُ قُوَّة؛ فتتقاربُ الأدِلَّة، حتَّى […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561

การเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท และท่าทีของชาวสะลัฟที่มีต่อผู้เห็นต่าง

เรายอมรับหรือไม่ว่าในศาสนามีเรื่องเห็นต่าง? ถ้ายอมรับว่ามี แล้วการเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท? และคำตอบคือ มี สองประเภท คือ : หนึ่ง : เรื่องที่ศาสนาไม่อนุญาตให้เห็นต่างได้ (خلاف غير سائغ ) นั่นก็คือ เรื่องที่เป็นอุศู้ลของศาสนา เป็นเรื่องอะกีดะฮฺหลักความเชื่อ เป็นเรื่องที่มีอิจมาอ์ (มติเอกฉันท์) ที่ถูกต้องยืนยันเอาไว้ ซึ่ง การเห็นต่างนี้จะใช้ชี้วัดว่า ใครหลงผิด หรือ ไม่หลงผิด สอง : เรื่องที่ศาสนาอนุญาตให้มีการเห็นต่างได้ (خلاف سائغ ) เช่น ในเรื่องปลีกย่อย เรื่องที่ไม่มีอิจมาอ์มายืนยัน เรื่องที่ชาวสะลัฟมีการเห็นต่าง หรือเรื่องที่เป็นการอิจติฮาด (การวินิจฉัยของปราชญ์) ซึ่งมีหลักฐานชุดเดียวกัน คือ ต่างมีหลักฐานทั้งคู่แต่ได้ข้อสรุปต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้ บรรดาชาวสะลัฟฟุศอและฮฺตลอดจนอุละมาอ์สะละฟีย์ในยุคปัจจุบันจะไม่เอาเป็นเอาตายกัน และจะไม่เอาเรื่องนี้มาตัดสินอีกฝ่ายว่าหลงผิด ไม่ยอมยืนหยัด หรือ ไม่ใช่อะลิสซุนนะห์ หรือ ดูถูกเหน็บแนมกัน ส่วนตัวอย่างจากชาวสะลัฟมีมากมายถ้ามีโอกาสจะนำมาเสนอกัน อินชาอัลลอฮ ผมเชื่อว่าหลายคนพอจะรู้และเข้าใจในประเด็นนี้กันดีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่าการปฏิบัติของเรา การวางตัว การมีท่าทีของเรา […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561

แสวงหาคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺกันเถอะ: โอ้อัลลอฮ…โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

โอ้อัลลอฮ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัยดังนั้นขอพระองค์ให้โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า: “ผู้ใดที่ได้ยืนขึ้น (หมายถึงการทำอิบาดะห์ เช่นการละหมาด ) ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยกับความศรัทธา และมีความหวังในผลตอบแทน เขาจะถูกอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา” รายงานโดย อิหม่ามบุคอรี เตรียมพร้อมสำหรับสิบคืนสุดท้ายและวันที่เหลืออยู่กันเถิด และค้นหาค่ำคืนอันประเสริฐนี้ ทำอิบาดะห์ให้สุดความสามารถและมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ พระองค์จะทรงตอบแทนแก่เราอย่างมากมาย การเจาะจงคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ชัยคฺมุฮัมมัดศอลิฮ์ อุซัยมีน รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ถูกถามว่า: “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายหรือไม่ และมันจะเปลี่ยนย้ายไป (หมายถึงค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺจะวนเวียนไปในสิบคืนนี้) หรือไม่ครับ? ชัยคฺอุซัยมีนได้ตอบว่า: ใช่แล้ว ค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และ (ทัศนะ) ที่ถูกต้องนั้น ก็คือ มันจะเปลี่ยนย้ายไป (ภายใน10คืนนี้) เหมือนเช่นที่ ท่านอิบนุฮะญัร รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ไว้ในหนังสือ “ฟัตฮุ้ลบารี” และดังเช่นที่ได้มีซุนนะห์บ่งชี้ไว้ถึงสิ่งดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วบางที “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ” อาจจะอยู่ในค่ำคืนที่ 21 หรือ อยู่ในค่ำคืนที่ 23 อยู่ในค่ำคืนที่ 25 ค่ำคืน 27 ค่ำคืนที่ […]

อักรอม ชาจิตตะ

11/06/2561

ละหมาดตารอเวี๊ยะในทัศนะของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์

รื่องจำนวนร็อกอัตในการละหมาดตารอเวี๊ยะ (อาจจะพูดถึงช้าหน่อย เพราะไม่ค่อยได้เล่นช่วงนี้) หลายๆคนคงจะได้ฟัง ได้รับรู้ กันมาแล้ว และบางคนอาจจะยึดทัศนะที่ว่าต้องละหมาดสิบเอ็ดหรือ สิบสาม ร็อกอัต และ บางคนก็อาจยึดว่า ต้องละหมาดยี่สิบร็อกอัต ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นเห็นต่างของบรรดานักวิชาการ และเป็นเรื่องที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ และจะไม่มีการอิงการ หรือ ตัดสินฝ่ายตรงข้ามว่าหลงผิด และในค่ำคืนนี้จะขอนำเสนอทัศนะคำอธิบายของผู้ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของแนวทางสะละฟีย์ในปัจจุบัน อย่างท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ โดยท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า : “และที่มันคล้ายคลึงกันกับเรื่องดังกล่าวนี้ในบางแง่มุม คือ การขัดแย้งกันของบรรดาผู้รู้ในจำนวนร็อกอัตของการละหมาดตารอเวี๊ยะ(กิยามุ รอมาฎอน) เพราะว่าได้มีรายงานยืนยันมาว่าท่าน อุบัย บิน กะอฺ ได้เคยนำละหมาดผู้คน ยี่สิบ ร็อกอัตและทำ วิตรฺ อีกสามร็อกอัต ในการละหมาดตารอเวี๊ยะ และบรรดาผู้รู้หลายท่านได้มองสิ่งดังกล่าวนี้ว่ามันคือซุนนะห์ เพราะว่าท่านอุบัย ได้กระทำมันขึ้นท่ามกลาง ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอร โดยที่ไม่มีใครคัดค้านใดๆทั้งสิ้น และบรรดาผู้รู้กลุ่มอื่นถือว่าซุนนะห์ คือ สามสิบเก้าร็อกอัต โดยถือตามการปฏิบัติของชาวเมืองมาดีนะห์สมัยก่อน และบรรดาผู้รู้อีกกลุ่มนึงกล่าวว่า : ที่แท้จริงแล้วได้มีรายงานที่ถูกต้องยืนยันมาจากท่านหญิง อาอิชะห์ […]

อักรอม ชาจิตตะ

05/06/2561