หากใครอยากทำความเข้าใจในประเด็น “การเข้าใจเจตนารมณ์ของชาวสะลัฟศอลิฮ์” อย่างละเอียด สามารถรับฟังการบรรยายของอาจารย์อามีน ลอนาในหัวข้อ “เจตนารมณ์ แห่ง อัสสะละฟุศศอและห์” คลิก มีทั้งหมด 37 ตอน)
ในโลกวิชาการอิสลามนั้นมีความขัดแย้งเห็นต่างกันมากมายเกี่ยวกับการสรุปความเชื่อของชาวสะลัฟ จนบางเรื่องนั้นดูราวกับไม่รู้จะหาข้อสรุปได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมได้ศึกษาร่ำเรียนมาจากท่าน อ.อามีน ลอนา นั้น มีวิธีการทำความเข้าใจสะลัฟได้ โดยอาจแบ่งรูปแบบของความสับสนในความเข้าใจของสะลัฟได้ดังนี้
1. มีความสับสนเนื่องจาก “การกระทำสะลัฟ” ก่อนเกิดอิจมาอ์
ในยุคที่ไม่มีท่านนบีคอยชี้ขาดปัญหาศาสนานั้น ใช่ว่าเศาะฮาบะฮ์หรือชาวสะลัฟจะสามารถชี้ขาดได้แบบมะอฺซูม ทันทีทันใดไปเสียทุกเรื่อง แต่หลายเรื่องมันมี process ในการได้มาซึ่งข้อสรุปของหลักการศาสนา ซึ่งข้อสรุปนั้นคืออิจมาอ์ และมีสถานภาพมะอฺซูม
ในระหว่าง process นี่แหละที่เราเรียกว่าความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น ในรายงานของท่านอบูฮุร็อยเราะห์ กล่าวถึงตอนที่ท่านอบูบักร์ออกคำสั่งให้สู้รบกับเผ่าที่ปฏิเสธการจ่ายซะกาตหลังจากที่ท่านนบีเสียชีวิต ในตอนแรกนั้นท่านอุมัรได้ค้านพร้อมยกตัวบทหะดีษ โดยกล่าวว่า
“เหตุใดท่านจึงสู้รบกับพวกเขา ในเมื่อท่านเราะซูลกล่าวว่า -ฉันถูกบัญชาใช้ให้สู้รบกับมนุษย์จนกว่าเขาจะกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ และผู้ใดที่กล่าวคำนี้ ก็เป็นที่ต้องห้ามแก่ฉันซึ่งทรัพย์สินของพวกเขาและชีวิตของพวกเขานอกจากสิทธิอันชอบธรรม และบัญชีของเขาอยู่ ณ ที่อัลลอฮ์- ”(ref: Ibn Jawzi, Muntazam 4/76; Bukhaari; Muslim; Abu Dawud 1556; Nasa’e, Mujtaba 5/14, 15; Tirmidhi 2733; etc)
อย่างไรก็ตามในภายหลัง ท่านอุมัรก็ได้เห็นด้วยกับข้อตัดสินของท่านอบูบักร์ กลายเป็นข้อสรุปของหลักการศาสนา แล้วความเชื่อของท่านอุมัรในตอนแรกนั้นมันถูกนับเป็นทัศนะหนึ่งหรือไม่? คำตอบคือไม่!! ณ ห้วงเวลาที่ท่านอุมัรมีทัศนะที่ค้านก่อนจะเกิดข้อสรุปนี่แหละ ที่เราเรียกว่าความคลุมเครือ ส่วนจะเรียกว่าทัศนะต่างกันหรือ แต่ถ้ายัง…..ยืนยันทัศนะนั้นต่อไป ทั้งที่เกิดข้อสรุปแล้ว อันนี้แหละมีปัญหา
ส่วนหากจะมีการอ้างว่าเรื่องล้มผู้นำมีสะลัฟเห็นต่าง …ใช่ มีผู้เห็นต่างในตอนแรก แต่สุดท้ายแล้วอิจมาอ์ห้ามล้มผู้นำก็เกิดขึ้นภายหลังความวุ่นวายทางการเมืองในยุคสะลัฟ และผมบอกไปแล้วว่าในยุคหลังนบีเสียไปแล้วนั้นการได้มาซึ่งข้อสรุปของหลักการศาสนาหลายประการนั้นมันมี process ของมัน ซึ่งอุละมาอ์สะลัฟย่อมรู้ดีกว่า ว่าผลจากความวุ่นวายทางการเมืองนี้ควรจะสรุปหลักการศาสนาอย่างไร
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ไขข้อสงสัยประเด็นการห้ามโค่นล้มผู้นำที่อธรรม โดย ชัยค์ฟัรกูส และ การโค่นล้มผู้นำไม่มีอิจมาอ์ห้ามจากสะลัฟจริงหรือ?)
ดังนี้เราจึงมีคำถามว่า “มีหนังสือสะลัฟศอลิฮ์เล่มไหนหรือครับ ที่บอกว่าอนุญาตการโค่นล้มผู้นำมุสลิม หรือบอกว่าเรื่องนี้มีคิลาฟ อยากรู้เหมือนกันครับ?” ถ้ามีหลักฐานแบบนี้ พอจะได้นับเป็นอีกทัศนะหนึ่ง ที่ทำให้เรื่องนั้นๆ เป็นปัญหาคิลาฟไป
ที่ถามเช่นนี้เพราะวิธีการที่พวกบิดอะฮ์จะใช้ทำลายอิจมาอ์ก็ไม่พ้นการเอากระทำของสะลัฟบางท่านมาค้าน ซึ่งชัยค์ศอลิฮ์ อาลเชค ได้ชี้แจงว่าการกระทำดังกล่าวเข้าประเภทของการติดตามอายะฮ์มุตะชาบิฮาต (โองการที่คลุมเครือ) เพื่อแสวงหาการตีความตามที่ตัวเองต้องการ แต่จะละทิ้งอิจมาอ์ที่ถูกรายงานมาอย่างชัดแจ้งในหนังสือสะลัฟ
วางรากฐานความรู้ เพื่อตอบโต้พวกมีทัศนะอนุญาตให้โค่นล้มผู้นำที่อธรรม
วางรากฐานความรู้ เพื่อตอบโต้พวกมีทัศนะอนุญาตให้โค่นล้มผู้นำที่อธรรม – ชัยค์ศอลิห์ อาลลุชชัยค์
فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ
…ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีการเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย และเพื่อแสวงหาการตีความในโองการนั้น… (ส่วนจากอายะฮ์ที่ 7 ซูเราะฮ์อาลอิมรอน)
โพสต์โดย สำนักพิมพ์ อัซซาบิกูน เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2018
เพราะหลักการศาสนาพื้นฐานเลยคือ สิ่งที่เป็นคำพูดหรือลายลักษณ์ ย่อมต้องมาก่อนสิ่งที่เป็นการกระทำ เนื่องจากการกระทำนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากความไม่รู้หลักฐาน, อารมณ์ใฝ่ต่ำห้ามไม่ไหว ฯลฯ เช่น มีสะลัฟกินเหล้า ทั้งที่อัลลอฮ์ได้ห้ามเด็ดขาดแล้ว แต่นั่นเพราะเขาไม่รู้ว่ามีบัญญัติห้ามเด็ดขาดแล้ว จะเอาการกระทำมานับเป็นคิลาฟค้านรายงานอิจมาอฺไม่ได้ เอามาเป็นทัศนะหนึ่งที่อนุญาตไม่ได้
.
แต่รายงานอิจมาอ์นั้นเป็นสิ่งที่อุลามาอฺสะลัฟมุอฺตะบัรได้รายงานมาเป็นลายลักษณ์บนความรู้ที่แน่ชัดในหลักฐาน เป็นการสรุปว่าหลักการอิสลามในเรื่องนี้คืออะไรกันแน่ ฉะนั้นมันไม่ใช่หน้าที่ของคุณที่จะไปล้มกระดาน แล้วย้อนเวลาเป็นพันปีไปอิจติฮาดใหม่ในเรื่องที่เขาเคลียร์กันแล้ว!
2. มีความสับสนเนื่องจาก “อุละมาอ์หลังยุคสะลัฟสรุปความเข้าใจของสะลัฟผิด”
การทำความเข้าใจสะลัฟแล้วสรุปออกมาเป็นอิจมาอ์ของอุละมาอ์ยุคหลังสะลัฟนั้นมี 2 แบบ คือ อิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ (เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการตีความ) และอิจมาอ์บิลนักลิ (เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการรายงานอิจมาอ์สะลัฟมา) แน่นอนว่าวิธีการสรุปอิจมาอ์ทั้งสองแบบนี้ทำให้เกิดหลักการศาสนาได้ แต่อย่างไรก็ตามอุละมาอ์พลาดในแบบแรกกันเยอะมาก และแบบที่ 2 นั้นมีน้ำหนักและความแม่นยำกว่า เนื่องจากนี่เป็นคำพูดสะลัฟตรงๆ เลย เพียงแค่รายงานมาเท่านั้น (อ่านเพิ่มได้ที่ คลิกอ่าน)
[รายละเอียดเพิ่มเติมฟังได้ที่: https://youtu.be/buMrebzYHXQ?t=1h2m2s]
ในกรณีที่การสรุปอิจมาอ์ทั้ง 2 แบบนี้ เกิดขัดแย้งกันขึ้น ต้องทิ้งอิจมาอ์หรือคิลาฟที่เกิดจากการตีความของอุละมายุคหลังสะลัฟ แล้วกลับไปยึดถืออิจมาอ์หรือคิลาฟที่เกิดจากการรายงานคำพูดสะลัฟมา กรณีเช่นนี้จึงอาจเรียกว่า “อุละมาหลังสะลัฟ ขัดแย้งกับ อุละมาสะลัฟ” ซึ่งความผิดพลาดในการสรุปอิจมาอ์นั้นอาจเกิดจากได้รับรายงานที่อ่อน หรือไม่พบรายงานอิจมาอ์มาจากสะลัฟ แล้วจึงเอาการกระทำของสะลัฟเป็นตัวสรุปอิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ
ยกตัวอย่างกรณีที่อุละมาหลังสะลัฟขัดแย้งกับอุละมาสะลัฟ เช่น
2.1 เรื่องซิฟัต
มีรายงานอิจมาอ์จากสะลัฟว่า “อะฮ์ลิซซุนนะฮ์ไม่ตะอ์วีลซิฟัต” ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าอุละมาหลังสะลัฟหลายท่านไปสรุปความเข้าใจสลัฟใหม่แล้วกลับบอกว่าสะลัฟตะอ์วีลซิฟัต บ้างก็บอกว่าสะลัฟตัฟวีฎซิฟัต ในกรณีเช่นนี้ท่านจะตัดสินอย่างไร? ถ้าไม่ทิ้งความเห็นของอุละมารุ่นหลังสะลัฟแล้วละก็ เรื่องซิฟัตเป็นแผงก็จะคิลาฟไปโดยทันที!! ซึ่งคิดว่าท่านอาจารย์อิบรอเฮม สือแม คงไม่ยอมให้หลักการศาสนาเรื่องนี้เสียหายแน่
2.2 เรื่องมุตอะฮ์
มีรายงานอิจมาอ์สะลัฟว่า “ห้ามนิกะฮ์มุตอะฮ์” แล้วถ้ามีอุละมาอ์หลังสะลัฟมาสรุปความเข้าใจสะลัฟใหม่แล้วอ้างว่าเรื่องมุตอะฮ์นั้นเป็นที่อนุญาตเพราะมีคิลาฟ ในกรณีเช่นนี้ท่านจะว่ายังอย่างไร? ถ้าไม่ทิ้งความเห็นของอุละมารุ่นหลังสะลัฟแล้วละก็ เรื่องมุตอะฮ์ก็จะเป็นเรื่องคิลาฟเช่นกัน
ดังกล่าวนี้ เมื่อ “อุละมาหลังสะลัฟ ขัดแย้งกับ อุละมาสะลัฟ” มันเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องอธิบายว่า อุละมาหลังสะลัฟนั้น #สรุปความเข้าใจสะลัฟผิด!!
ซึ่งเรื่องล้มผู้นำก็เช่นเดียวกัน มีรายงานอิจมาอ์จากอุละมาสะลัฟมาแล้วว่า “ห้ามล้มผู้นำมุสลิม” หากมีอุละมารุ่นหลังไปค้านอิจมาอ์ ก็จำเป็นต้องอธิบายว่าเป็นการสรุปความเข้าใจสะลัฟผิด และต้องทิ้งความเข้าใจนั้นไป
วัลลอฮุอะอ์ลัม