บทนำ ตอนที่ 3: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.03)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] คำว่าญาฮิลียะฮ์ ดังที่เรากล่าวไปแล้ว ว่ามันพาดพิงไปหาคำว่า ญะฮล์ ซึ่งหมายถึง การไร้ความรู้ และเรื่องใดก็ตามที่ถูกพาดพิงกลับไปหาญาฮิลียะฮ์ เรื่อง ๆ นั้นจะถือเป็นเรื่องที่ต้องถูกตำหนิ ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์ตะอาลาจึงตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] อัลลอฮ์ทรงห้ามบรรดาภรรยาของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ให้ทำการตะบัรรุจ (แต่งตัวอวดโฉม) ซึ่งหมายถึงการเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนางตามท้องตลาด และต่อหน้าสาธารณะชน เพราะพวกญาฮิลียะฮ์นั้น ผู้หญิงของพวกเขาต่างก็ทำการแต่งตัวอวดโฉม ยิ่งไปกว่านั้นพวกนางยังเปิดเผยเอาเราะฮ์ของตัวเองอีกต่างหาก เหมือนกับในตอนที่พวกเขาทำการเฏาะวาฟ พวกเขามองว่าการทำแบบนี้ถือเป็นการได้อวดเบ่งกัน และอัลลอฮ์ตะอาลากล่าวว่า إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ ความว่า: […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 2: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.02)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] ส่วนคำว่าญาฮิลียะฮ์ เป้าหมายของคำ ๆ นี้ คือการพาดพิงไปสู่คำว่า ญะฮล์ (ความเขลา) ซึ่งคำว่าญะฮล์นั้นก็หมายถึงการไม่มีความรู้นั่นเอง และในส่วนของยุคญาฮิลียะฮ์ที่ไม่มีเราะซูลปรากฏตัวและไม่มีคัมภีร์ใดถูกประทานลงมา ความหมายของยุคดังกล่าวหมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] หมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา เพราะว่ายุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมานั้น โลกทั้งหมดกำลังปั่นป่วนอยู่ในความหลงผิด การปฏิเสธศรัทธา และการเฉไฉออกจากแนวทาง เนื่องเพราะสาส์นต่าง ๆ ก่อนหน้านั้นได้ถูกทำให้ลบเลือนหายไป พวกยะฮูดได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคัมภีร์เตาร๊อตของพวกเขา และได้นำเอาความเชื่อที่เป็นกุฟร์ (การปฏิเสธศรัทธา) ต่าง ๆ  […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 1: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.01)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิลิยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทศซาอุดิอารเบีย] ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปราณียิ่ง ผู้ทรงเมตตา คำนำ มวลการสรรญเสริญทั้งลายเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งสากลโลก ขอพระองค์ทรงสรรเสริญและประทานความศานติแก่นบีมุฮัมมัดของเรา ตลอดจนวงศ์วานและสาวกของท่านโดยทั่วกัน อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เคยทำการเรียนการสอนชุดหนึ่งที่มัสญิดเอาไว้ ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการอธิบายขยายความถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ “สารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (อาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีจะมาเผยแพร่ศาสนา)” ซึ่งท่านชัยคุลอิสลาม อัลมุญัดดิด ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ เราะหิมะฮุลลอฮ์ ได้เรียบเรียงประเด็นปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ในสาส์นฉบับย่อฉบับหนึ่ง และมีนักศึกษาบางส่วน -ขออัลลอฮ์ทรงประทานความสำเร็จให้แก่พวกเขา- ได้บันทึกการเรียนการสอนครั้งนั้นเป็นเทปเอาไว้ ต่อมาจึงมีนักศึกษาบางคน -ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่เขา- ทำการแกะเทปการเรียนการสอนดังกล่าวออกมา พร้อมกับเขียนลงเป็นลายลักษณ์ และได้นำมาให้ข้าพเจ้าตรวจสอบดู เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านมันแล้วจึงเห็นดีด้วยที่จะให้มีการตีพิมพ์พร้อมทั้งเผยแพร่มันออกไป เพื่อที่จะให้มันเป็นประโยชน์สูงสุด เนื่องด้วยความบกพร่องและความผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้ในการอธิบายขยายความครั้งนี้ ทว่ามันก็ยังเป็นอย่างที่ผู้คนกล่าวกันว่า شيء خير من لا شيء  “การมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ถึงแม้จะบกพร่องไปบ้าง) มันก็ดีกว่าการที่ไม่มีอะไรเลย” ข้าพเจ้าจึงหวังจากผู้อ่านที่ได้อ่านคำอธิบาย (จากหนังสือเล่ม) นี้และเล็งเห็นถึงข้อผิดพลาดจุดใดก็ตาม ให้เขาได้มากล่าวเตือนข้าพเจ้าเพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้แก้ไขมันเสียใหม่ ขออัลลอฮ์ทรงช่วยเหลือให้พวกท่านทุกคนได้รับในความรู้ที่ยังประโยชน์พร้อมทั้งให้พวกท่านได้ปฏิบัติการงานที่ดี […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

4 กฎเหล็กในประเด็นเรื่องเตาฮีดและชิรก์ ตอนที่ 5: คำอธิบายกฎข้อที่ 1

ตัวบท [อ่านตอนที่แล้ว] ท่านชัยค์ได้กล่าวว่า: กฎข้อที่หนึ่ง การที่ท่านจะต้องรับรู้ว่าพวกบรรดากาฟิรที่ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ต่อสู้กับพวกเขานั้น ยอมรับว่าอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง คือ ผู้สร้าง ผู้บริหารกิจการ แต่การยอมรับดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาเข้าสู่อิสลามแต่อย่างใด ซึ่งหลักฐานก็คือ คำดำรัสของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งที่ว่า قُلْ مَن يَرْزُقُكُم مِّنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَمَّن يَمْلِكُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَمَن يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ الْمَيِّتِ وَيُخْرِجُ الْمَيِّتَ مِنَ الْحَيِّ وَمَن يُدَبِّرُ الْأَمْرَ ۚ فَسَيَقُولُونَ اللَّـهُ ۚ فَقُلْ أَفَلَا تَتَّقُونَ ความว่า: “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ‘ใครเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพทั้งที่มาจากฟากฟ้า และแผ่นดินแก่พวกท่าน หรือใครเป็นเจ้าของการได้ยินและการมอง และใครเป็นผู้นำสิ่งมีชีวิตออกมาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และนำสิ่งที่ไม่มีชีวิตออกมาจากสิ่งมีชีวิต และใครเป็นผู้บริหารกิจการ’ แล้วพวกเขาจะกล่าวกันว่า ‘อัลลอฮ์’ ดังนั้นจงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ‘แล้วทำไมพวกท่านจึงไม่ยำเกรงกันอีก?’” [ซูเราะฮ์ยูนุส (10): […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

03/06/2561

4 กฎเหล็กในประเด็นเรื่องเตาฮีดและชิรก์ ตอนที่ 4: คำอธิบายการชำระล้างเตาฮีดให้บริสุทธิ์

ตัวบท [อ่านตอนที่แล้ว] ท่านชัยค์ได้กล่าวว่า: เมื่อท่านได้ทราบแล้วว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างท่านมาเพื่ออิบาดะฮ์ต่อพระองค์ เช่นนั่นก็พึงทราบเถิดว่า การอิบาดะฮ์นั้นจะไม่เรียกว่าการอิบาดะฮ์ นอกจากจะต้องมาพร้อมกับเตาฮีด คำอธิบาย “เมื่อท่านได้ทราบแล้วว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างท่านมาเพื่ออิบาดะฮ์ต่อพระองค์” หมายถึง เมื่อท่านได้ทราบข้อมูลที่มาจากอายะฮ์นี้แล้วที่ว่า وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ ความว่า: “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่ออิบาดะฮ์ต่อข้า” [ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต (51): 56] ซึ่งท่านก็เป็นหนึ่งในมนุษย์ ท่านก็เข้าไปอยู่ในอายะฮ์นี้ และท่านก็ทราบแล้วว่าอัลลอฮ์ไม่ได้สร้างท่านมาอย่างไร้เป้าหมาย หรือสร้างท่านมาเพื่อกิน เพื่อดื่มเท่านั้น เพื่อใช้ชีวิตในดุนยา ท่องเที่ยวไปนั่นนี่ แล้วปิติร่าเริง พระองค์ไม่ได้สร้างท่านมาเพื่อสิ่งนี้ แต่พระองค์ทรงสร้างท่านเพื่ออิบาดะฮ์ต่อพระองค์ แต่ที่พระองค์ทรงทำให้สภาพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่นี้ เป็นเครื่องอำนวยประโยชน์แก่พวกท่าน ก็เพื่อเป็นสิ่งที่คอยช่วยท่านในเรื่องการอิบาดะฮ์ต่อพระองค์เท่านั้น เพราะว่าท่านจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ นอกจากจะต้องมีสิ่งเหล่านี้ และท่านจะไม่สามารถบรรลุไปสู่การอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ได้นอกจากจะด้วยสิ่งเหล่านี้ อัลลอฮ์ทรงทำให้สภาพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่นี้ เป็นเครื่องอำนวยประโยชน์แก่พวกท่าน ก็เพื่อให้ท่านอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ ไม่ใช่เพื่อให้ท่านมีความสุขกับมัน ท่องเที่ยวไปนั่นนี่ แล้วปิติร่าเริง ทำความเลว ทำความชั่ว กิน แล้วก็ดื่มตามใจปรารถนา นี่มันพฤติกรรมของปศุสัตว์ ส่วนลูกหลานของอาดัมนั้น […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

03/06/2561

4 กฎเหล็กในประเด็นเรื่องเตาฮีดและชิรก์ ตอนที่ 3: คำอธิบายอัลหะนีฟียะฮ์

ตัวบท [อ่านตอนที่แล้ว] ท่านชัยค์ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ตะอาลา ได้กล่าวว่า: พึงทราบไว้เถิด ขออัลลอฮ์ทรงชี้นำท่านสู่การภักดีเชื่อฟังพระองค์ แท้จริงอัลหะนีฟียะฮ์นั้นคือ ศาสนาของอิบรอฮีม คือการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์โดยเป็นผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ในศาสนา ดังเช่นที่อัลลอฮ์ ตะอาลา กล่าวว่า وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ ความว่า: “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่ออิบาดะฮ์ต่อข้า” [ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต (51) : 56] คำอธิบาย “พึงทราบไว้เถิด ขออัลลอฮ์ทรงชี้นำท่าน” นี่คือดุอาอ์จากชัยค์ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ และเช่นเดียวกัน ก็เป็นการสมควรสำหรับผู้ที่ทำการสอนที่จะทำการขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ทำการเรียนรู้ “สู่การภักดีเชื่อฟังพระองค์” ความหมายของมันก็คือ การปฏิบัติตามคำสั่งใช้ต่างๆ ของพระองค์ และการหลีกห่างจากคำสั่งห้ามต่างๆ ของพระองค์ “แท้จริงอัลหะนีฟียะฮ์นั้น คือศาสนาของอิบรอฮีม” อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงสั่งใช้นบีของเราให้ปฏิบัติตามศาสนาของอิบรอฮีม อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้กล่าวว่า ثُمَّ أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ أَنِ اتَّبِعْ مِلَّةَ […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

31/05/2561

4 กฎเหล็กในประเด็นเรื่องเตาฮีดและชิรก์ ตอนที่ 2: คำอธิบายบทเกริ่นนำ

ตัวบท [อ่านตอนที่แล้ว] ท่านผู้ประพันธ์หนังสือ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ตะอาลา ได้กล่าวว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ “ฉันขอต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงเกื้อกูล พระผู้เป็นเจ้าแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ ให้พระองค์ทรงให้การดูแล และการคุ้มครองแก่ท่านทั้งในโลกดุนยานี้ และในโลกหน้าอาคิเราะฮ์ และให้ความจำเจริญแก่ท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใดก็ตาม และให้ท่านเป็นผู้ที่เมื่อได้รับ (ความโปรดปราน) ก็ขอบคุณ เมื่อถูกทดสอบก็อดทน และเมื่อกระทำความผิดก็ขออภัยโทษ เพราะแท้จริงสิ่งทั้ง 3 นี้ คือ หัวหน้าของความสุขทั้งหลาย” คำอธิบาย นี่คือ หนังสืออัลเกาะวาอิดอัลอัรบะอ์ (กฎ 4 ประการ) ซึ่งชัยคุลอิสลาม มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ ได้ประพันธ์มันขึ้นมา และมันคือสารที่อยู่โดดๆ แต่ว่าถูกตีพิมพ์มาพร้อมกับหนังสือษะลาษะฮ์อัลอุศูล (รากฐาน 3 ประการ) เนื่องเพราะความจำเป็นที่จะให้สิ่งนี้ได้ไปถึงมือของนักศึกษาหาความรู้ ส่วนคำว่า “อัลเกาะวาอิด (กฎหลายข้อ)” เป็นพหูพจน์ของคำว่า “อัลกออิดะฮ์ (กฎหนึ่งข้อ)” ซึ่ง “อัลกออิดะฮ์” หมายถึง รากฐานซึ่งมีประเด็นมากมายแตกแขนงออกไปจากมัน หรือก็คือมีกิ่งก้านสาขามากมายนั่นเอง และเนื้อหาของ อัลเกาะวาอิดอัลอัรบะอ์ […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

30/05/2561

4 กฎเหล็กในประเด็นเรื่องเตาฮีดและชิรก์ ตอนที่ 1: ตัวบท

เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านนั้นแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า อัลเกาะอิดอัลอัรบาอ์  ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการทำความเข้าใจอัตเตาฮีดและชิรก์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ บทเกริ่นนำ ฉันขอต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงเกื้อกูล พระผู้เป็นเจ้าแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ ให้พระองค์ทรงให้การดูแล และการคุ้มครองแก่ท่านทั้งในโลกดุนยานี้ และในโลกหน้าอาคิเราะฮ์ และให้ความจำเจริญแก่ท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใดก็ตาม และให้ท่านเป็นผู้ที่เมื่อได้รับ (ความโปรดปราน) ก็ขอบคุณ เมื่อถูกทดสอบก็อดทน และเมื่อกระทำความผิดก็ขออภัยโทษ เพราะแท้จริงสิ่งทั้ง 3 นี้ คือ หัวหน้าของความสุขทั้งหลาย หะนีฟียะฮ์ศาสนาของอิบรอฮีม พึงทราบไว้เถิด ขออัลลอฮ์ทรงชี้นำท่านสู่การภักดีเชื่อฟังพระองค์ แท้จริงอัลหะนีฟียะฮ์นั้นคือ ศาสนาของอิบรอฮีม คือการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์โดยเป็นผู้บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ในศาสนา ดังเช่นที่อัลลอฮ์ ตะอาลา กล่าวว่า وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ ความว่า: “และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่ออิบาดะฮ์ต่อข้า” [ซูเราะฮ์ อัซซาริยาต (51): […]

อิลยาส เลิศสุขศักดา

29/05/2561