“รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล

“รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล ในอียิปต์ก็มีเรื่องทำนองนี้ คือ เรียกวันออกบวช 6 ว่า ‘อีดิลอับรอร’ โดยผู้คนจะไปรวมตัวกันที่มัสญิดอัลหุสัยน์ หรือมัสญิดซัยนับ แล้วก็มีการกลับไปทำอาหารพิเศษ เช่น ข้าวหุงกับนมรับประทานกันที่บ้าน โดยชัยค์มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และท่านเรียกอีดนี้ว่า ‘อีดิลฟุจญาร’ คือ อีดของคนชั่ว ไม่ใช่ ‘อีดิลอับรอร’ คือ อีดของคนดี [ดูเพิ่มเติมได้ที่ มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี, อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาตฯ, (ไคโร: ดารุลกิตาบ วัสสุนนะฮ์, 2010), น. 186.] ❝ส่วนการยึดถือเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด (นำมาสมโภชเฉลิมฉลอง) –นอกเหนือไปจากเทศกาลที่มีระบุไว้ตามศาสนบัญญัติ– เช่น บางคืนของเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกกันว่า ‘คืนเมาลิด’ หรือบางคืนของเดือนเราะญับ หรือวันที่ […]

Om Omar Muktar

17/06/2561

การถือศีลอดกิจอาสาสำหรับผู้ที่ยังติดค้างการถือศีลอดชดใช้เดือนเราะมะฎอน

การถือศีลอดกิจอาสาสำหรับผู้ที่ยังติดค้างการถือศีลอดชดใช้เดือนเราะมะฎอน   “บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหุกม์ของการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ก่อนจะมีการชดใช้ (เกาะฎออ์) ศีลอดเราะมะฎอนให้แล้วเสร็จ โดยที่มัซฮับอัลหะนะฟียะฮ์ถือว่าอนุญาต (ญะวาซ) ให้ถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) อย่างไม่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) แต่อย่างใด เพราะการชดใช้ศีลอดเราะมะฎอนไม่ได้ถูกบังคับให้กระทำโดยทันที . . . ขณะที่มัซฮับอัลมาลิกียะฮ์และอัชชาฟิอียะฮ์ ถือว่าอนุญาต (ญะวาซ) แต่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) เพราะเท่ากับว่าเป็นการละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบไว้เบื้องหลัง (แทนที่จะจัดการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะทำในสิ่งที่เป็นตะเฏาวุอ์) อัดดุสูกี กล่าวว่า: ‘เป็นการน่ารังเกียจที่จะถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) สำหรับผู้ที่ยังมีศีลอดวาญิบค้างอยู่ เช่น ศีลอดเนื่องจากการบนบาน (นะซัร) ศีลอดที่ค้างอยู่ (เกาะฎออ์) และศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ ไม่ว่าการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ที่เขาจะถือปฏิบัติก่อนที่จะมีการถือศีลอดวาญิบนั้นจะเป็นสุนนะฮ์ไม่มุอักกะดะฮ์หรือสุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์ เช่นการถือศีลอดวันอาชูรออ์ และวันที่ 9 ของเดือนซุลหิจญะฮ์ (วันอะเราะฟะฮ์) ก็ตาม ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า (รอญิห์)’ ส่วนมัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ ถือว่าเป็นบาปที่จะถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ก่อนที่จะมีการชดใช้ (เกาะฎออ์) ศีลอดเราะมะฎอนให้แล้วเสร็จ และถือว่าการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) […]

Om Omar Muktar

17/06/2561

แสวงหาคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺกันเถอะ: โอ้อัลลอฮ…โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

โอ้อัลลอฮ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัยดังนั้นขอพระองค์ให้โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า: “ผู้ใดที่ได้ยืนขึ้น (หมายถึงการทำอิบาดะห์ เช่นการละหมาด ) ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยกับความศรัทธา และมีความหวังในผลตอบแทน เขาจะถูกอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา” รายงานโดย อิหม่ามบุคอรี เตรียมพร้อมสำหรับสิบคืนสุดท้ายและวันที่เหลืออยู่กันเถิด และค้นหาค่ำคืนอันประเสริฐนี้ ทำอิบาดะห์ให้สุดความสามารถและมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ พระองค์จะทรงตอบแทนแก่เราอย่างมากมาย การเจาะจงคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ชัยคฺมุฮัมมัดศอลิฮ์ อุซัยมีน รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ถูกถามว่า: “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายหรือไม่ และมันจะเปลี่ยนย้ายไป (หมายถึงค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺจะวนเวียนไปในสิบคืนนี้) หรือไม่ครับ? ชัยคฺอุซัยมีนได้ตอบว่า: ใช่แล้ว ค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และ (ทัศนะ) ที่ถูกต้องนั้น ก็คือ มันจะเปลี่ยนย้ายไป (ภายใน10คืนนี้) เหมือนเช่นที่ ท่านอิบนุฮะญัร รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ไว้ในหนังสือ “ฟัตฮุ้ลบารี” และดังเช่นที่ได้มีซุนนะห์บ่งชี้ไว้ถึงสิ่งดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วบางที “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ” อาจจะอยู่ในค่ำคืนที่ 21 หรือ อยู่ในค่ำคืนที่ 23 อยู่ในค่ำคืนที่ 25 ค่ำคืน 27 ค่ำคืนที่ […]

อักรอม ชาจิตตะ

11/06/2561

[ประเด็นร้อนเดือนเราะมะฎอน] การดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดวันแรกของเดือนใหม่ ตอนที่ 2 (จบ)

[ โปรดอ่านตอนที่แล้ว  บทความนี้มี 2 ตอน โปรดอ่านให้จบ พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและ #เปิดใจให้กว้างแก่ทรรศนะที่เราไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้] ทรรศนะที่ 2: สำหรับแต่ละเมืองก็ให้ชาวเมืองดูจันทร์เสี้ยว (เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) ของตนเอง “๏ บทว่าด้วยการอธิบายว่า สำหรับแต่ละเมืองก็ให้ชาวเมืองดูจันทร์เสี้ยว (เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) ของตนเอง และเมื่อใดที่พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยว ข้อกำหนด (หุกม์) การเห็นของพวกเขาจะไปกำหนดสำหรับเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลจากพวกเขาไม่ได้ – รายงานจากกุร็อยบ์ว่า : อุมมุลฟัฎล์ บินติลหาริษ ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะฮ์ที่แคว้นชาม เขากล่าวว่า : ‘ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้วขณะนั้นเดือนเราะมะฎอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้นในคืนวันศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะฮ์ในตอนปลายเดือน ซึ่งอิบนุอับบาสได้ถามฉันแล้วก็คุยกันเรื่องจันทร์เสี้ยว’ เขาถามว่า : ‘พวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวกันเมื่อใด ?’ ฉันตอบว่า : ‘พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์’ เขาถามต่อว่า : ‘ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ?’ ฉันตอบว่า : ‘ใช่ ! และคนอื่น ๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะฮ์ก็ถือศีลอด’ เขากล่าวว่า […]

Om Omar Muktar

10/06/2561

[ประเด็นร้อนเดือนเราะมะฎอน] การดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดวันแรกของเดือนใหม่ ตอนที่ 1

[บทความนี้มี 2 ตอน โปรดอ่านให้จบ พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและ #เปิดใจให้กว้างแก่ทรรศนะที่เราไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้] ทรรศนะที่ 1: เมื่อชาวเมืองใดเมืองหนึ่งได้เห็นจันทร์เสี้ยว เมืองอื่น ๆ ทั้งหมดก็จำต้องเห็นพ้องและปฏิบัติตาม อิมามอิบนุลมุนซิร (ฮ.ศ. 241-318; มุจญ์ตะฮิดแห่งมัซฮับอิมามอัชชาฟิอี) “เมื่อมีการยืนยันเห็นจันทร์เสี้ยว ณ เมืองใดเมืองหนึ่ง และไม่มีการยืนยันว่าเห็นจันทร์เสี้ยว ณ เมืองอื่น ๆ บรรดานักวิชาการมีทรรศนะที่แตกต่างกันในเรื่องนี้เป็นสองทรรศนะ ดังนี้ :- (1) ให้แต่ละเมืองใช้เกณฑ์การเห็นจันทร์เสี้ยวของตนเอง (โดยที่ประเทศอื่นไม่จำเป็น (ไม่วาญิบ) ต้องตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของประเทศดังกล่าว) นี่คือทรรศนะของอิกริมะฮ์, อิสหาก (อิบนุรอฮะวัยฮ์), อัลกอสิม และสาลิม (2) แต่ท่านอื่น ๆ กลับกล่าวว่า : เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งหลายว่าประชาชนของเมืองใดเมืองหนึ่งได้เห็นจันทร์เสี้ยว พวกเขาทั้งหมดจำเป็นต้องตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของเมืองนั้น โดยที่พวกเขาต้องถือศีลอดชดใช้ (เกาะฎออ์) อันเนื่องมาจากพวกเขาไม่ได้ถือศีลอดในวันนั้น นี่คือทรรศนะของอิมามอัลลัยษ์ อิบนุสะอฺด์, อิมามอัชชาฟิอี และอิมามอะห์มัด (อิบนุหัมบัล) รวมถึงอัลมะดะนี (หมายถึง อิมามมาลิก อิบนุอะนัส) […]

Om Omar Muktar

10/06/2561

ละหมาดตารอเวี๊ยะในทัศนะของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์

รื่องจำนวนร็อกอัตในการละหมาดตารอเวี๊ยะ (อาจจะพูดถึงช้าหน่อย เพราะไม่ค่อยได้เล่นช่วงนี้) หลายๆคนคงจะได้ฟัง ได้รับรู้ กันมาแล้ว และบางคนอาจจะยึดทัศนะที่ว่าต้องละหมาดสิบเอ็ดหรือ สิบสาม ร็อกอัต และ บางคนก็อาจยึดว่า ต้องละหมาดยี่สิบร็อกอัต ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นเห็นต่างของบรรดานักวิชาการ และเป็นเรื่องที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ และจะไม่มีการอิงการ หรือ ตัดสินฝ่ายตรงข้ามว่าหลงผิด และในค่ำคืนนี้จะขอนำเสนอทัศนะคำอธิบายของผู้ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของแนวทางสะละฟีย์ในปัจจุบัน อย่างท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ โดยท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า : “และที่มันคล้ายคลึงกันกับเรื่องดังกล่าวนี้ในบางแง่มุม คือ การขัดแย้งกันของบรรดาผู้รู้ในจำนวนร็อกอัตของการละหมาดตารอเวี๊ยะ(กิยามุ รอมาฎอน) เพราะว่าได้มีรายงานยืนยันมาว่าท่าน อุบัย บิน กะอฺ ได้เคยนำละหมาดผู้คน ยี่สิบ ร็อกอัตและทำ วิตรฺ อีกสามร็อกอัต ในการละหมาดตารอเวี๊ยะ และบรรดาผู้รู้หลายท่านได้มองสิ่งดังกล่าวนี้ว่ามันคือซุนนะห์ เพราะว่าท่านอุบัย ได้กระทำมันขึ้นท่ามกลาง ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอร โดยที่ไม่มีใครคัดค้านใดๆทั้งสิ้น และบรรดาผู้รู้กลุ่มอื่นถือว่าซุนนะห์ คือ สามสิบเก้าร็อกอัต โดยถือตามการปฏิบัติของชาวเมืองมาดีนะห์สมัยก่อน และบรรดาผู้รู้อีกกลุ่มนึงกล่าวว่า : ที่แท้จริงแล้วได้มีรายงานที่ถูกต้องยืนยันมาจากท่านหญิง อาอิชะห์ […]

อักรอม ชาจิตตะ

05/06/2561