ข้อกำหนด (หุกม์) ของการสมรส (นิกาห์) ตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม

مصطفى الخن ومصطفى البغا وعلي الشربجي ، ” الفقه المنهجي “ ، ط ١٣ ، ( دمش : دار القلم ، ١٤٣٣ ) ج ٢ ص ١٣ – ١٥ . การสมรสมิได้มีข้อกำหนดเพียงประการเดียว แต่ทว่ามีข้อกำหนดหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละบุคคล ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ : 1. ส่งเสริม (มุสตะหับ) : ในกรณีที่บุคคลนั้นต้องการสมรส : กล่าวคือตัวเขาเองมีความต้องการที่จะสมรส และเขามีค่าใช้จ่ายในการสมรส เช่น ค่าสมรส (มะฮัร) และมีค่าเลี้ยงดูสำหรับตนเองและภริยา ในขณะเดียวกันหากเขาไม่สมรส เขาก็ไม่เกรงว่าตนจะกระทำความผิดโดยละเมิดประเวณี (ซินา) กรณีเช่นนี้การสมรสถือเป็นการส่งเสริม (มุสตะหับ) เนื่องจากการสมรสของเขาจะเป็นการสืบทอดความคงอยู่ของมนุษยชาติเป็นการรักษาการสืบสกุลไว้ และยังจะมีผลดีในด้านต่างๆ อีกมาก […]

Om Omar Muktar

09/06/2561

[ฟัตวา] การถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าเลยตาตุ่ม เป็นปัญหาเห็นต่างหรือไม่?

คำถาม: เราสามารถนับเรื่องการถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ, การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าให้ลงมาเลยตาตุ่มโดยปราศจากการโอ้อวด ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นปัญหาที่สามารถเห็นต่างได้หรือไม่? คำตอบ: อัลฮัมดุลิลละฮ์ อันดับแรกคือ ก่อนที่เราจะลงไปตัดสินว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้อยู่ในหมวดของเรื่องที่สามารถเห็นต่างกันได้หรือไม่นั้น เราก็ควรรู้จักกฏเกณฑ์ “การเห็นต่างที่อนุญาตก่อน” ที่เราจะกล่าวคือ ประเด็นปัญหาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในหมู่นักวิชาการ จะถือว่าเป็นปัญหาเห็นต่างที่ได้รับการยอมรับได้นั้น ต้องประมวลไว้ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ก่อน 1. ปัญหาที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกรุอานและฮะดีษหรือมติเอกฉันท์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว (ว่าเป็นเอกฉันท์จริง) คือปัญหาที่ไม่มีตัวบทจากวะฮีหรืออิจมาอฺเกิดขึ้น ฉะนั้นแล้วปัญหานี้จะตั้งอยู่บนฐานของการวิเคราะห์และวินิจฉัย อุละมาอ์มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ แน่นอนว่าอัลลอฮ์ได้ประทานให้กับบางคนในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานให้กับอีกคนในเรื่องของความสามารถในการพิจารณาและการวิเคราะห์ (ประเด็นปัญหา) ท่านอิมามนะวาวีย์ -ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน- ได้กล่าวว่า: เช่นนั้นแหละพวกเขากล่าวว่า ไม่บังควรแก่ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาหรือผู้พิพากษาที่จะขัดขวางกับผู้ที่เห็นต่างจากเขาในเมื่อคนๆ นั้นยังไม่ได้ค้านกับตัวบทหรืออิจมาอฺหรือการเปรียบเทียบ (กิยาส) ที่มีความชัดเจน [ชะเราะฮ์มุสลิม (24/2)] ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะกีดะฮ์หรือเรื่องฟิกฮฺ เรื่องที่เกิดการเห็นต่างและได้รับการให้อภัยนั้นโดยส่วนมากเป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ เพราะว่ามติของเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการที่มีต่อเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท่านชัยคุลอิสลามอิบนิตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า: ไม่ต้องสงสัยเลยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ จะได้รับการให้อภัยกับประชาชาตินี้แม้ว่าความผิดพลาดนั้นจะอยู่ในปัญหาเรื่องวิชาการ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคนดีในประชาชาตินี้ก็ต้องพินาศกันเป็นแน่ [มัจมัวะฟะตาวา (165/20)] 2. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องแต่ไม่มีความชัดเจนในการที่จะถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆได้การเห็นต่างที่เกิดขึ้น ณ ที่นี้คือความเข้าใจซึ่งอัลลอฮ์ได้ทำให้ความเข้าใจนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันในหมู่มนุษย์ 3. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่มีความชัดเจนที่จะถูกใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องของความถูกต้องของตัวบท หรือตัวบทนั้นถูกค้านจากสิ่งที่มีน้ำหนักจากหลักฐานตัวอื่น พร้อมกันนั้นเองสิ่งที่ต้องระวังก็คือการเห็นต่างที่อนุญาตและได้รับการยอมรับนั้น มันจะต้องเป็นการเห็นต่างที่มีแหล่งที่มาจากนักวิชาการและนักการศาสนา ส่วนคนทั่วไปหรืออะไรทำนองนี้ การเห็นต่างของพวกเขาไม่มีประโยชน์อันใด และการชี้ขาด […]

กองบรรณาธิการ

06/06/2561

[ฟัตวา] อะไรคือหุก่มของการที่สตรีมองไปยังเพศชาย ทั้งจากโทรทัศน์ หรือการมองโดยธรรมชาติตามท้องถนน?

ท่านชัยคฺ มุฮัมมัด บินศอลิฮฺ บินอุซัยมีน เราะฮิมะฮุลลอฮ์ ถูกถามว่า : อะไรคือหุก่มของการที่สตรีมองไปยังเพศชาย ทั้งจากโทรทัศน์ หรือการมองโดยธรรมชาติตามท้องถนน? ชัยค์ตอบว่า: การมองของสตรีที่มองไปยังเพศชายนั้น จะไม่หนีไปจากสองสภาพซึ่งจะไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมองผ่านโทรทัศน์หรือจากที่อื่น 1 – การมองด้วยความใคร่และเพลิดเพลิน สิ่งนี้เป็นสิ่งฮะรอม เพราะในมันนั้นมีทั้งความเสียหายและฟิตนะฮ์ 2 – การมองโดยไม่มีความใคร่และไม่มีความเพลิดเพลิน สิ่งนี้ถือว่าไม่เป็นอะไรในทัศนะที่ถูกต้องจากบรรดาปวงปราชญ์ ซึ่งมันเป็นที่อนุญาต เนื่องด้วยหะดีษที่อยู่ในตำราเศาะฮีฮ์ทั้งสอง (บุคอรีย์และมุสลิม) ว่า (ท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เคยมองไปยังกลุ่มชายชาวฮะบะชะฮ์ ในขณะที่พวกเขากำลังละเล่นกันอยู่ และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อนุมัติให้นางมองพวกเขา) ท่านนบีได้ยอมรับการกระทำของนางในเรื่องดังกล่าว และเนื่องจากว่าบรรดาสตรีนั้น เมื่อพวกนางเดินตามตลาดและพวกนางก็จะมองไปยังผู้ชาย ถึงแม้พวกนางจะสวมฮิญาบอยู่ก็ตาม ฉะนั้นแล้ว บางทีสตรีอาจะมองไปยังเพศชายโดยที่เขาไม่ได้มองนางด้วยซ้ำ ด้วยกับเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีความใคร่และฟิตนะฮ์ในการมอง ถ้าหากมีความใคร่และฟิตนะฮ์ การมองก็จะเป็นที่ต้องห้าม ไม่ว่าจะมองทางโทรทัศน์ หรือมองจากที่อื่นก็ตาม ฟะตาวา อัลมัรอะติลมุสลิมะฮ์ 2/973 .  

กองบรรณาธิการ

06/06/2561

[ฟัตวา] ในเรื่องการวางสิ่งของต่างๆ ไว้บนตำราศาสนา…? หรือไม่ก็การวางตำราศาสนาซ้อนกัน?

คำถาม: อะไรคือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ ในเรื่องการวางสิ่งของต่าง ๆ ไว้บนตำราศาสนา ตำราฟิกฮ์ ตำราอะกีดะฮ์ ตำราตัฟซีรต่าง ๆ ? หรือไม่ก็การวางตำราศาสนาซ้อนกัน? คำตอบ: มวลการสรรญเสริญเป็นของอัลเลาะฮฺ ไม่มีข้อถกเถียงใด ๆ ในการวางหนังสือศาสนาบางส่วนของมันไว้ข้างบนอีกบางส่วน แต่ห้ามวางมันไว้บนมุศฮัฟ (คัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นเล่ม) ท่านอัลฮะกีม อัตติรมิซีย์ เราะฮิมะฮุลเลาะฮฺกล่าวว่า : และส่วนหนึ่งจากข้อห้ามของมุศฮัฟ ก็คือ เมื่อมันถูกวางก็อย่าได้เปิดมันทิ้งเอาไว้ และอย่าได้เอาหนังสือเล่มอื่นวางเหนือมัน จนกว่ามันจะอยู่เหนือหนังสือทั้งหลายแหล่ (นะวาดิร อัลอุซูล เล่ม 3 / 254) และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะวางหนังสืออื่นจากหนังสือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้ทางวัฒนธรรมทั้งหลาย หรืออื่นจากนี้ ไว้เหนือหนังสือศาสนา เช่นเดียวกับที่ไม่ควรวางสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะ เสื้อผ้า อาหาร หรือสิ่งอื่นจากนี้ไว้บนหนังสือศาสนา เพื่อเป็นการให้เกียรติสิ่งที่อยู่ในหนังสือ ทั้งจากการรำลึกถึงอัลเลาะฮฺ และความรู้ทางด้านศาสนา ท่านอัลฮัยตะมีย์ เราะฮิมะฮุลเลาะฮฺ กล่าวว่า : ท่านอัลบัยฮะกีย์ กล่าวไว้ เช่นเดียวกับท่านอัลฮะลีมีย์ ว่า: […]

กองบรรณาธิการ

05/06/2561

ละหมาดตารอเวี๊ยะในทัศนะของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์

รื่องจำนวนร็อกอัตในการละหมาดตารอเวี๊ยะ (อาจจะพูดถึงช้าหน่อย เพราะไม่ค่อยได้เล่นช่วงนี้) หลายๆคนคงจะได้ฟัง ได้รับรู้ กันมาแล้ว และบางคนอาจจะยึดทัศนะที่ว่าต้องละหมาดสิบเอ็ดหรือ สิบสาม ร็อกอัต และ บางคนก็อาจยึดว่า ต้องละหมาดยี่สิบร็อกอัต ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นเห็นต่างของบรรดานักวิชาการ และเป็นเรื่องที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ และจะไม่มีการอิงการ หรือ ตัดสินฝ่ายตรงข้ามว่าหลงผิด และในค่ำคืนนี้จะขอนำเสนอทัศนะคำอธิบายของผู้ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของแนวทางสะละฟีย์ในปัจจุบัน อย่างท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ โดยท่านชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า : “และที่มันคล้ายคลึงกันกับเรื่องดังกล่าวนี้ในบางแง่มุม คือ การขัดแย้งกันของบรรดาผู้รู้ในจำนวนร็อกอัตของการละหมาดตารอเวี๊ยะ(กิยามุ รอมาฎอน) เพราะว่าได้มีรายงานยืนยันมาว่าท่าน อุบัย บิน กะอฺ ได้เคยนำละหมาดผู้คน ยี่สิบ ร็อกอัตและทำ วิตรฺ อีกสามร็อกอัต ในการละหมาดตารอเวี๊ยะ และบรรดาผู้รู้หลายท่านได้มองสิ่งดังกล่าวนี้ว่ามันคือซุนนะห์ เพราะว่าท่านอุบัย ได้กระทำมันขึ้นท่ามกลาง ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอร โดยที่ไม่มีใครคัดค้านใดๆทั้งสิ้น และบรรดาผู้รู้กลุ่มอื่นถือว่าซุนนะห์ คือ สามสิบเก้าร็อกอัต โดยถือตามการปฏิบัติของชาวเมืองมาดีนะห์สมัยก่อน และบรรดาผู้รู้อีกกลุ่มนึงกล่าวว่า : ที่แท้จริงแล้วได้มีรายงานที่ถูกต้องยืนยันมาจากท่านหญิง อาอิชะห์ […]

อักรอม ชาจิตตะ

05/06/2561
1 2