หะดีษ 73 กลุ่ม และอุศู้ล ตัวชี้วัดความหลงผิด

กองบรรณาธิการเกริ่นนำ: (หลังจากที่มีการปล่อยบทความ ชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺริบีย์: ระหว่างแนวทางกับตัวบุคคุลของกลุ่มอิควานมุสลีมูน และบทความ ความผิดของกลุ่มและตัวคนในกลุ่ม ก็มีกระแสข่าวออกมาว่าทางสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนมีการเปลี่ยนทัศนะแบบเนียน ๆ ว่ามีการแยกกันระหว่างการฮุกุ่มแนวทางกับตัวบทบุคคล ซึ่งที่จริงทางสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนไม่ได้มีการเปลี่ยนทัศนะแต่อย่างใดทั้งสิ้น บทความ ชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺริบีย์: ระหว่างแนวทางกับตัวบุคคุลของกลุ่มอิควานมุสลีมูน เขียนขึ้นครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม 2013 (2556) ทัศนะในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องพื้นฐานของนักวิชาการอิสลามที่จำเป็นต้องรู้ และบทความที่กำลังจะได้อ่าน เป็นบทความที่ถูกเขียนขึ้นโดยอาจารย์ชะรีฟ วงศ์เสงี่ยม อามีรสำนักพิมพ์อัซซาบิกูนที่ถูกตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือที่มีชื่อว่า สามด่าน กับการปกป้องต้นเองให้พ้นจากไฟนรก อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่พิมพ์ครั้งแรกในช่วงเดือน พฤษภาคม 2557 และบทความนี้ (หะดีษ 73 กลุ่มและอุศู้ล ตัวชี้วัดความหลงผิด) ก็เขียนขึ้นมาก่อนหน้านี้มาพอสมควรแล้ว หากจะนับบทความ ด้วยรักและห่วงใย ที่ชัยคฺริฎอ อะห์มัด สะมะดี ออกโรงปกป้องแนวทางอิควานมุสลิมีนที่ลงวันที่ 25/07/2012 (2555) เป็นจุดอ้างอิง ก็นับว่าบทความชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺรีบีย์ ห่างกันประมาณ 1 ปีเศษ ไม่ต้องพูดถึงการเรียบเรียงความคิด ทัศนะ แล้วประมวลผลออกมาเป็นข้อเขียนออกมาว่าจะมีมาก่อนหน้านั้นมานานเพียงไร (อย่างที่ได้บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าเรื่องการจำแนกแนวทางกับตัวบุคคลเป็นเรื่องพื้นฐานที่นักวิชาการต้องรู้และผู้ศึกษาทั่วไปก็ต้องรู้ด้วย) ที่แอดมินเพจเกริ่นก่อนเข้าก็เพื่อชี้แจงให้ทราบต่อบรรดาผู้ไม่เคยฟัง ไม่เคยอ่าน […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

25/06/2561

ความผิดของกลุ่มและตัวคนในกลุ่ม

[เผยแพร่แล้วในเว็บไซต์ https://th-th.facebook.com/thvoiceofgen/ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2016 (พ.ศ. 2559) 1. เมื่อเราพูดถึงประเด็นนี้ เราอาจจะมุ่งประเด็นมาที่คำถามที่ในทำนองว่า “คุณยอมรับหรือไม่ว่ากลุ่มอิควาน กลุ่มอะชาอะเราะฮฺ หรือกลุ่มซูฟีย์นั้นมีความผิดที่ทำให้ออกจากการเป็นชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ โดยที่ตัวคนใครก็ตาม (ที่อาจจะอยู่หรือไม่ได้อยู่ในกลุ่มทั้ง 3 นี้) ที่จงใจที่จะยึดในความผิดดังกล่าวนี้อีกภายหลังจากที่เขาได้รับรู้แล้วถึงความผิดนั้น ก็ถือว่าเขาผู้นั้นได้สิ้นจากการเป็นชาวซุนนะฮฺ (นั่นคือกลายเป็นผู้ที่ดื้อดึงในบิดอะฮฺหรือที่เรียกเป็นภาษาอรับว่ามุ๊บตะดิอฺ)” ที่ให้เริ่มต้นถามคำถามในทำนองนี้ก็เพื่อว่าจะได้เกิดความชัดเจนและตรงประเด็นตั้งแต่เริ่มต้น 2. คำพูดในทำนองที่ว่า “ผมไม่ได้เป็นอิควาน แต่ผมแค่เห็นด้วยกับบางสิ่งของกลุ่มอิควาน” ถามว่า บางสิ่งที่เห็นด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นสิ่งที่ทำให้หลงผิดหรือไม่ ถ้าตอบว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีอะไรผิดแต่อย่างใด คำถามก็คือ อย่างนั้นผมจะพูดบ้างได้หรือไม่ว่า “ผมไม่ได้เป็นชีอะฮฺ แต่ผมเพียงแค่เห็นด้วยกับบางสิ่งของกลุ่มชีอะฮฺเท่านั้น” ซึ่งการพูดเช่นนี้ถือว่าคำพูดที่คลุมเคลือ ทำให้เกิดความสงสัยได้ และเราจะเห็นได้ว่าคำพูดในทำนองดังกล่าวนี้มักจะมาจากผู้ที่มีความโน้มเอียงไปยังแนวทางของกลุ่มนั้นที่ถูกกล่าวถึงอยู่ (เช่นกลุ่มอิควาน) และละเลยหรือนิ่งเฉยต่อความผิดที่กลุ่มนั้นที่มีอยู่โดยไม่ยอมโต้ตอบและชี้แจงความหลงที่กลุ่มนั้น ๆ มีอยู่ 3. กลุ่มชีอะฮฺมีความผิดที่เข้าทั้งด่าน 1 และด่าน 2 แต่ถ้ามีใครคนใดพูดขึ้นมาว่า “ผมเป็นชีอะฮฺน่ะครับ แต่เป็นชีอะฮฺในความหมายที่ว่าผมเห็นด้วยกับสิ่งถูกต้องที่มีอยู่ในกลุ่มชีอะฮฺ และไม่ได้ขอเกี่ยวข้องอะไรกับความผิดที่กลุ่มชีอะฮฺมี ทั้งที่เป็นความผิดด่าน 1 และด่าน 2 […]

ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

25/06/2561

ชัยคฺอัลบานีย์ ชัยคฺมะอฺริบีย์: ระหว่างแนวทางกับตัวบุคคุลของกลุ่มอิควานมุสลีมูน

[เผยแพร่แล้วในเว็บไซต์ https://th-th.facebook.com/thvoiceofgen/ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2016 (พ.ศ. 2559): (เป็นบทความที่มีการเสริมเนื้อหาเพิ่มเติมจากการเผยแพร่ครั้งแรก – 29 ตุลาคม 2013 – ในเพจวารสารแนวหน้าปริทัศน์ในชื่อว่า “ปรากฎการณ์ตาสว่างกับเรื่องที่อิควานไม่เข้าใจชัยคฺอัลบานีย์ไม่หุกุ่มอิควานว่าออกจากสุนนะฮฺจริงหรือ ?” แต่แอดมินเพจถือวิสาสะเปลี่ยนชื่อบทความใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่มีการกล่าวถึง)] มี “อิควาน” ในไทยบางรายได้นำเทปของชัยคฺอัลบานีย์ในชื่อชุดว่า ซิลซิละฮฺอัลฮูดา วัลนูร หมายเลข: 849 มานำเสนอโดยอ้างว่าชัยคฺอัลบานีย์ได้ถอนจากความเห็นที่ที่เคยหุกุ่มอิควานออกจากแนวทางซุนนะฮฺ ซึ่งเราจะมาติดตามเรื่องนี้กัน ชัยคฺอัลบานีย์ กล่าวว่า أن الإخوان المسلمين ليسوا من الفرق الضالة ولا أعتقد أني قلت ذلك ولو قلته فإنى أتراجع عنه ولا أعتقد أن يصل بى الأمر إلى أن أحكم […]

กองบรรณาธิการ

25/06/2561

[Vdo Series] สรุปการประหารชีวิตในอิสลาม

การประหารชีวิตในอิสลาม ตอนที่ 1/2 [iframely] [/iframely] การประหารชีวิตในอิสลาม ตอนที่ 2/2 : คนแต่งงานมีชู้, ผู้ที่มุรตัด, ผู้ที่ฆ่าคนอื่น [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 1/3 [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 2/3 [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 3/3 [iframely] [/iframely] ใครออกจากศาสนาอิสลามต้องโดนประหารจริงหรือ? [iframely] [/iframely]

กองบรรณาธิการ

21/06/2561

บทนำ ตอนที่ 3: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.03)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] คำว่าญาฮิลียะฮ์ ดังที่เรากล่าวไปแล้ว ว่ามันพาดพิงไปหาคำว่า ญะฮล์ ซึ่งหมายถึง การไร้ความรู้ และเรื่องใดก็ตามที่ถูกพาดพิงกลับไปหาญาฮิลียะฮ์ เรื่อง ๆ นั้นจะถือเป็นเรื่องที่ต้องถูกตำหนิ ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์ตะอาลาจึงตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] อัลลอฮ์ทรงห้ามบรรดาภรรยาของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ให้ทำการตะบัรรุจ (แต่งตัวอวดโฉม) ซึ่งหมายถึงการเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนางตามท้องตลาด และต่อหน้าสาธารณะชน เพราะพวกญาฮิลียะฮ์นั้น ผู้หญิงของพวกเขาต่างก็ทำการแต่งตัวอวดโฉม ยิ่งไปกว่านั้นพวกนางยังเปิดเผยเอาเราะฮ์ของตัวเองอีกต่างหาก เหมือนกับในตอนที่พวกเขาทำการเฏาะวาฟ พวกเขามองว่าการทำแบบนี้ถือเป็นการได้อวดเบ่งกัน และอัลลอฮ์ตะอาลากล่าวว่า إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ ความว่า: […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 2: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.02)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] ส่วนคำว่าญาฮิลียะฮ์ เป้าหมายของคำ ๆ นี้ คือการพาดพิงไปสู่คำว่า ญะฮล์ (ความเขลา) ซึ่งคำว่าญะฮล์นั้นก็หมายถึงการไม่มีความรู้นั่นเอง และในส่วนของยุคญาฮิลียะฮ์ที่ไม่มีเราะซูลปรากฏตัวและไม่มีคัมภีร์ใดถูกประทานลงมา ความหมายของยุคดังกล่าวหมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] หมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา เพราะว่ายุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมานั้น โลกทั้งหมดกำลังปั่นป่วนอยู่ในความหลงผิด การปฏิเสธศรัทธา และการเฉไฉออกจากแนวทาง เนื่องเพราะสาส์นต่าง ๆ ก่อนหน้านั้นได้ถูกทำให้ลบเลือนหายไป พวกยะฮูดได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคัมภีร์เตาร๊อตของพวกเขา และได้นำเอาความเชื่อที่เป็นกุฟร์ (การปฏิเสธศรัทธา) ต่าง ๆ  […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 1: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.01)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิลิยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทศซาอุดิอารเบีย] ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปราณียิ่ง ผู้ทรงเมตตา คำนำ มวลการสรรญเสริญทั้งลายเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งสากลโลก ขอพระองค์ทรงสรรเสริญและประทานความศานติแก่นบีมุฮัมมัดของเรา ตลอดจนวงศ์วานและสาวกของท่านโดยทั่วกัน อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เคยทำการเรียนการสอนชุดหนึ่งที่มัสญิดเอาไว้ ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการอธิบายขยายความถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ “สารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (อาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีจะมาเผยแพร่ศาสนา)” ซึ่งท่านชัยคุลอิสลาม อัลมุญัดดิด ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ เราะหิมะฮุลลอฮ์ ได้เรียบเรียงประเด็นปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ในสาส์นฉบับย่อฉบับหนึ่ง และมีนักศึกษาบางส่วน -ขออัลลอฮ์ทรงประทานความสำเร็จให้แก่พวกเขา- ได้บันทึกการเรียนการสอนครั้งนั้นเป็นเทปเอาไว้ ต่อมาจึงมีนักศึกษาบางคน -ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่เขา- ทำการแกะเทปการเรียนการสอนดังกล่าวออกมา พร้อมกับเขียนลงเป็นลายลักษณ์ และได้นำมาให้ข้าพเจ้าตรวจสอบดู เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านมันแล้วจึงเห็นดีด้วยที่จะให้มีการตีพิมพ์พร้อมทั้งเผยแพร่มันออกไป เพื่อที่จะให้มันเป็นประโยชน์สูงสุด เนื่องด้วยความบกพร่องและความผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้ในการอธิบายขยายความครั้งนี้ ทว่ามันก็ยังเป็นอย่างที่ผู้คนกล่าวกันว่า شيء خير من لا شيء  “การมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ถึงแม้จะบกพร่องไปบ้าง) มันก็ดีกว่าการที่ไม่มีอะไรเลย” ข้าพเจ้าจึงหวังจากผู้อ่านที่ได้อ่านคำอธิบาย (จากหนังสือเล่ม) นี้และเล็งเห็นถึงข้อผิดพลาดจุดใดก็ตาม ให้เขาได้มากล่าวเตือนข้าพเจ้าเพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้แก้ไขมันเสียใหม่ ขออัลลอฮ์ทรงช่วยเหลือให้พวกท่านทุกคนได้รับในความรู้ที่ยังประโยชน์พร้อมทั้งให้พวกท่านได้ปฏิบัติการงานที่ดี […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

อิสลามขึ้นอยู่กับการตีความจริงหรือ?

คุณเป็นมุสลิมหรืออิสลามสายไหนล่ะ? คำถามหนึ่งดังก้องขึ้นมากลางห้องประชุมระหว่างที่ข้าฯ กำลังนำเสนอหัวข้อรายงานเรื่อง “รัฐอิสลาม” อยู่ แน่นอนว่าคำถามดังกล่าวไม่ได้ถูกถามขึ้นโดยปากของมุสลิมหรอกครับ หากแต่ถูกถามขึ้นจากความสงสัยของ “ชนต่างศาสนิก” ที่กำลังรับฟังการนำเสนอรายงานของข้าฯ อยู่นั่นเอง เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนได้เสนอรายงานเกี่ยวกับการปกครองรัฐหรือประเทศตามรูปแบบของอิสลาม และในระหว่างอภิปรายอยู่นั้น ผู้เขียนได้กล่าวขึ้นว่า “ผู้นำ” ของรัฐอิสลามจะต้องมีคุณสมบัติกำหนดคือเรื่อง “ความยุติธรรม” พร้อมกันนั้นผู้เขียนจึงพูดติดตลกไปว่า หากผู้นำคนใดดื่มสุราก็คงเป็นผู้นำของรัฐอิสลามไม่ได้เพราะการดื่มสุราขัดแย้งกับรากฐานของความยุติธรรมที่ผู้นำพึงมี! อาจารย์ผู้สอนจึงถามผู้เขียนว่า นี่คุณ ผมทราบมาว่าอิสลาม (จริงๆ ก็คือมุสลิมนะแหละ) นี่มีหลายสาย หลายแบบนะ เช่นที่ประเทศอินโดนิเซียก็มีอิสลามสายเสรีนิยมหรือสายทันสมัย (?) บอกว่าเหล้าดื่มได้แล้ว, หมูก็กินได้แล้ว (เพราะวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทำให้มันสะอาดได้) ฮิญาบก็ไม่จำเป็นต้องสวมแล้วเพราะเขาบอกว่า ฮิญาบเป็นแค่การแต่งกายของชาวอาหรับไม่ใช่บัญญัติอิสลาม, แต่ขณะเดียวกันก็มีอิสลามสายอนุรักษ์นิยมที่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับอิสลามสายสุดโต่งแบบกลุ่มของ “บินลาดิน”  ที่ต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตกด้วยการก่อวินาศกรรมไปต่างๆ นานา ตั้งแต่วางระเบิด, พลีชีพ, ตัดหัวตัวประกัน, นี่ยังไม่รวมมุสลิมสายกลาง, หรือหากจะให้แยกอิสลามเป็นนิกายก็คงแบ่งได้เป็นนิกายชีอะฮฺ,วะฮาบีย์,ซุนนีย์,ชาฟิอีย์,มาลิกีย์!? แล้วตกลงแบบนี้เราจะสามารถพิสูจน์ได้ไหมว่าอะไรคืออิสลามของแท้ อะไรคืออิสลามของปลอม หรือว่าท้ายที่สุดแล้วอิสลามก็ขึ้นอยู่กับการ  “ตีความ” ของบรรดาผู้รู้ศาสนาเอาเองกันไปต่างๆ นานา เพราะฉะนั้นที่คุณเสนอมาว่าอิสลามห้ามดื่มสุราน่ะ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอิสลามห้ามดื่มสุราจริงๆ มิใช่เป็นการตีความอธิบายเอาเอง, แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนของอิสลามในสมัยนี้จะไม่ใช่คำสอนที่ถูกต่อเติมตีความขึ้นอีกทีจากบรรดาผู้รู้ศาสนา? คำถามที่ประดังเข้ามาข้างต้นคือข้อสงสัยของชนต่างศาสนิกต่ออิสลามอย่างแท้จริง และคงไปต่อว่าต่อขานเขาไม่ได้ว่า ทำไมคุณถึงมาสงสัยอิสลามแบบนี้ […]

อามีน ลอนา

01/03/2561
1 2