อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (9) : ชี้แจงประเด็นนักวิทยาศาสตร์ประกาศยกเลิกหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง

เมื่อครูกลอนออกมานำเสนอประเด็น “นักวิทยาศาสตร์ประกาศยกเลิกหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง” โดยแปลข้อความบางตอนจาก http://m.youm7.com/story/2015/2/2/العلماء-يتراجعون-عن-أدلة-قيل-إنها-تثبت-الانفجار-الكونى-العظيم/2050662 ดังนี้ : แต่ในการวิจัยใหม่ที่จะนำออกเผยแพร่ (ในไม่ช้า) นายไบรต์ฯ จากมหาวิทยาลัยคาลิฟอเนีย และเป็นสมาชิกทีมวิจัย Bicep 2 กล่าวว่า “เราขอถอนอย่างชัดเจนถึงสมติฐานดังกล่าว(ที่เกี่ยวกับหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีบิกแบง)” เขายังเสริมว่า “มันเป็นเรื่องทำให้ผิดหวังอย่างยิ่ง หลังจากที่องค์การอวกาศยุโรปประกาศผล(วิจัย)ไปแล้ว ซึ่งมันเหมือนการค้นพบว่าสานต้าคร็อสไม่มีอยู่จริง แต่การต้องยอมรับความจริงมันเป็นเรื่องสำคัญมาก” วิพากษ์ ขอเท้าความถึงข่าวเมื่อมีนาคม ปี 2014 ก่อนคือมีการประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงช่วงกำเนิดจักรวาลหลังเกิดบิกแบงเป็นครั้งแรกจากการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ BICEP2 (Background Imaging of Cosmic Extragalactic Polarization 2) ที่ตั้งอยู่ที่ขั้วโลกใต้ คลื่นความโน้มถ่วงช่วงกำเนิดจักรวาลสามารถตรวจพบได้ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบคลื่นแสงจากบิกแบงให้มีระนาบการสั่นระนาบเดียวหรือที่เรียกว่าโพลาไรเซชัน (Polarisation) คลื่นแสงจากบิกแบงต่อมากลายเป็นคลื่นไมโครเวฟหลังจากเดินทางข้ามผ่านอวกาศ รู้จักกันในชื่อเรียกว่ารังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic Microwave Background Radiation : CMB) ซึ่ง BICEP2 มีหน้าที่ตรวจวัดการสั่นระนาบเดียวของคลื่นดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นการพิสูจน์เรื่องการขยายตัวของจักรวาลช่วงเริ่มต้น[1] ต่อมาปี 2015 จากข้อมูลของดาวเทียม Planck ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (8) : ตอบโต้การดิสต์เครดิตต่องานเขียนขององกรณ์รอบิเฏาะฮฺ

หลังจากเราได้นำเสนอบทความขององค์กรอัรรอบิเฏาะฮฺแห่งนครมักกะฮฺแผนกวิทยาศาสตร์ในอัลกุรอานไปในลิงค์นี้ (ตอนที่ 2) ก็ปรากฏว่ามีคนออกมาดิสต์เครดิตทักท้วงว่าองค์กรณ์นี้เชื่อถือไม่ได้ โดยพยายามลบล้างความน่าเชื่อถือขององค์กรนี้ในสองประเด็นดังนี้ (ประเด็นที่หนึ่ง) : อ้างว่าองค์กรนี้เน้นทำงานสังคมและมีบุคลากรในระดับแกนนำหลายคนไม่ได้จบศาสนา วิพากษ์ เราได้ชี้แจงไปแล้วจากบทความในลิงค์ข้างบนที่แนบมาว่า องค์กรนี้มีการทำงานในหลายมิติตั้งแต่ภาคสังคมและศาสนา ในส่วนของภาคสังคมนั้นไม่แปลกอะไรที่จะมีผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ที่ไม่ได้จบศาสนามาเพราะมักเป็นเรื่องการทำงานเชิงการทูตและการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามในแผนกย่อยหรือหน่วยย่อยขององกรณ์รอบิเฏาะฮฺนั้น มีหน่วยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาปัญหาศาสนาจากผู้มีความรู้โดยตรง เช่นหน่วยงานที่มีชื่อ المجمع الفقهي الإسلامي ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ) โดยที่สมาชิกของหน่วยนี้มีกันหลายท่านเช่น ท่านมุฟตีของซาอุดิอารเบีย ชัยคฺอับดุลอะซีส อาลเชค, ท่านชัยคฺอับดุลมุฮฺซิน อัตตุรกีย์ (ถูกกล่าวหาว่าเป็นอิควาน และมีภาพปรากฏกับ ดร.ลุตฟีย์บ่อย ๆ, ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ (มีอะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺ แต่บางคนก็ยกมาอ้างเรื่องธุรกรรม), ชัยคฺมุฮัมมัด บินมุฮัมมัดมุคตาร อัชชังกิฏีย์ (โดนวิจารณ์ว่ามีแนวคิดศูฟีย์), ชัยคฺมุฮัมมัดตะกีย์ อุษมานีย์ (เอียงทางอะชาอิเราะฮฺศูฟีย์เดียวบัน) และ ดร.นัศรฺฟะรีด มุฮัมมัดวาศิล (เอียงทางอะขาอิเราะฮฺ) เป็นต้น โปรดดูรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมได้ที่ http://ar.themwl.org/node/11 นี่คือตัวอย่างขององค์กรณ์ฟัตวาฟิกฮฺที่ทำงานภายใต้ชื่อรอบิเฏาะฮฺและเป็นกลุ่มนักการศาสนา ซึ่งหน่วยงานที่เขียนเรื่องบิกแบงก็มีลักษณะใกล้เคียงกันคือเป็นหน่วยงานที่มีนักวิชาการศาสนาหลากหลายร่วมกันทำงาน ฉะนั้นการสร้างภาพราวกับว่าองค์กรณ์รอบิเฏาะฮฺเชื่อถือในเรื่องศาสนาไม่ได้เลยถือว่าเป็นเรื่องอธรรม (ประเด็นที่สอง) […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561

ชัยคฺวะซียุลลอฮฺกล่าวถึงซากิรไนค์อย่างไร?

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาอย่างทั่วถึง ผู้ทรงเมตตาอย่างเฉพาะเจาะจง การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้อภิบาลแห่งสรรพสิ่ง และขออัลลอฮ์ทรงสรรเสริญ (ท่ามกลางหมู่มลาอิกะ​ฮ์ผู้อยู่เบื้องสูง) มอบความสันติ และความจำเริญ ให้แก่นบีมุฮัมมัดของเรา แก่ครอบครัวของท่าน และแก่สาวกของท่านทั้งหมดทั้งมวลด้วยเถิด اتصلت بالشيخ وصي الله عباس الآن وسألته عن ذاكر نايك فسألته عن تناقل بعض الإخوة التحذير منه وأنه منحرف في العقيدة وأنه ليس بسلفي ، فماذا تعرفون عنه؟! ฉันได้ติดต่อกับชัยคฺวะซียุลลอฮ์ อับบาซ เมื่อครู่นี้ และถามท่านถึงซากิร ไนค์ แล้วก็ถามถึงที่พี่น้องของเราบางคน ถ่ายทอดการเตือนให้ออกห่างจาก ซากิร ไนค์ และที่ซากิร ไนค์เป็นพวกเพี้ยนในเรื่องอะกีดะฮ์ และที่ซากิร ไนค์ไม่ใช่สะละฟีย์! แล้วพวกท่านรู้จักซากิร ไนค์เช่นไร ? […]

กองบรรณาธิการ

22/02/2561

ชัยคฺวะซียุลลอฮฺ อับบาซ ปราชญ์สะละฟีย์อาวุโส ชาวอินเดีย

หนึ่งในปราชญ์อาวุโส (กิบารอุละมาอ์) ร่วมสมัยที่อาจจะไม่ถูกกล่าวถึงกันมากสักเท่าไหร่หรืออาจจะไม่เป็นที่รู้จักกันสักเท่าไหร่ก็คือ อัชชัยคฺ ศ. ดร. อัล-อัลลามะฮฺ อัล-มุฮัดดิษ วะซียุลลอฮฺ อับบาซ (ฮะฟิเซาะฮุลลอฮฺ) ปัจจุบันท่านมีอายุ 67 ปี ท่านเป็นคนอินเดียโดยกำเนิด ประวัติโดยละเอียดของท่านเป็นภาษาอังกฤษสามารถโหลดได้ที่ คลิก ท่านเป็นปราชญ์นักฮะดีษและทำหน้าที่สอนในมัสยิดอัลฮะรอม 5 วันต่อสัปดาห์โดยท่านได้สอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นศาสตรจารย์อาวุโสของภาควิชา “ อัลกิตาบและซุนนะฮฺ” ของคณะดะอฺวะฮฺและอุซูลุดดีน ของมหาวิทยาลัยอุมมุ้ลกุรอ ที่นครมักกะฮฺ ตำราภาษาอาหรับที่ท่านได้สอนเสร็จสิ้นแล้วในขณะที่ได้สอนอยู่ในมัสยิดฮะรอมมีดังต่อไปนี้: ฟัตฮุ้ลบารีย์ ชัรฮฺ ซอเฮี๊ยะฮฺ อัลบุคคอรีย์ (ตำราอธิบายฮะดีษในเศาะฮีฮฺ อัลบุคคอรีย์ เขียนโดยท่านอิบนิฮะญัรอัลอัซเกาะลานีย์) ซึ่งท่านชัยคฺวะซียุลลอฮฺ อับบาซ ได้ใช้เวลาสอนอยู่นานถึง 11 ปี นัยลุ้ลเอาฎอร มิน อันซอร มุนตะกอ อัลอัคบาร ของท่านอิมามอัชเชากานีย์ ซึ่งเป็นตำราอธิบาย มุลตะกอ มินอะฮาดีษ อัลอะห์กาม ของชัยคุลอิสลามอิบนิตัยมียะฮฺ นุซฮะตุ้ลนะซอร ฟีเตาดีห์ นุคบะติ้ล […]

กองบรรณาธิการ

22/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (7) : การโบ้ยมั่วให้แก่คณะกรรมการถาวร กรณีบิกแบง

มีคนบางคนที่คัดค้านเรื่องบิกแบงได้อ้างว่า คณะกรรมการถาวรหรือลัจนะฮฺอัดดาอิมะฮฺ ได้ฟัตวาห้ามการนำแนวคิดบิกแบงเข้ามาอธิบายอัลกุรอาน ซึ่งข้อความที่ได้ถูกนำมาอ้างนั้นคือข้อความต่อไปนี้ السؤال: ماحكم الشرع في التفاسير التي تسمى بالتفاسير العلمية؟ وما مدى مشروعية ربط آيات القرآن ببعض الأمور العلمية التجريبية فقد كثر الجدل حول هذه المسائل ؟ الجواب : إذا كانت من جنس التفاسير التي تفسر قوله تعالى: {أو لم ير الذين كفروا أن السماوات والأرض كانتا رتقاً ففتقناهما وجعلنا من الماء […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (6) : คำยืนยันของ ดร.นาญีย์ ดาวูด ซะลามะฮฺ เรื่องความสอดคล้องระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับกำเนิดจักรวาลในอัลกุรอาน

ก่อนที่เราจะเข้าไปคุยเรื่องนี้กันนั้น ในเบื้องต้นผมอยากจะปูพื้นฐานแก่ผู้อ่านก่อนว่า เวลาเราจะคุยถึงความรู้เกี่ยวกับกำเนิดจักรวาล เราจะเรียกความรู้ชนิดนี้ว่าความรู้ทางดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีนักวิทยาศาสตร์สายนี้ทำการศึกษาถึงเรื่องข้อเท็จจริงในจักรวาลตามแต่ละสำนักไป สิ่งที่เราต้องเข้าใจในเบื้องต้นคือ นักดาราศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาและผลิตคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลนั้น จะมีอยู่ 2 สำนักหลักๆ คือ สำนักแรก นักวิทยาศาสตร์สายจักรวาลเป็นอนันต์ พวกนี้เชื่อว่าจักรวาลชั้นฟ้าที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีมาแบบนี้ตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ถูกสร้าง ไม่มีจุดกำเนิด ซึ่งความเชื่อของสำนักนี้เป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการอิสลามอย่างชัดเจน สำนักที่สอง นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น โดยกำเนิดตามขั้นตอนของ บิกแบง บทความในเว็ปไซต์อิสลามเว็ปได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ في أوائل القرن العشرين انقسم علماء الفيزياء الكونية (cosmology) إلي فريقين مختلفين حول طبيعة نشوء هذا الكون : فذهب فريق إلي أن هذا الكون هو في هذه الحالة التي نعرفها منذ القدم , […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (5) : ตอบโต้วาทกรรมของกลุ่มตักฟิรีย์เมืองไทย ใครเชื่อบิกแบงทำให้ตกมุรตัดได้!

ลักษณะหนึ่งของพวกตักฟิรีย์เคาะวาริจฺคือ การพยายามจะเชื่อมโยงหรือวางเงื่อนไขผิดๆ ให้แก่การกระทำหนึ่งกลายเป็นกุฟรฺให้ได้ โดยที่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำนั้นมิได้เป็นเงื่อนไขให้ได้ข้อสรุปเช่นนั้นแต่อย่างใดเลย เช่น ในอิสลามคนที่ซินาแต่ยอมรับว่าทำบาป ถือว่ายังเป็นมุสลิม แต่ถ้าทำซินา แล้วบอกหรือเชื่อว่าซินาฮะล้าล อันนี้เป็นกุฟรฺ ปรากฏว่าเคยมีคนที่อาจจะมีรากเหง้าจากเคาะวาริจฺ เคยใช้สูตรโยงผิดๆ ว่า “คนที่ทำซินาแล้วมาเล่าให้เพื่อนฟังอย่างเมาปาก แสดงว่าคนๆ นี้เชื่อว่าซินาไม่บาป ฉะนั้นผู้ทำซินาแล้วเล่าคนอื่นจึงถือว่าเป็นกาฟิรฺ เพราะถ้าเชื่อว่าซินาบาปจะไม่เล่า” นี่คือตัวอย่างการเชื่อมโยงพิลึกพิลั่นของพวกตักฟิรีย์ เช่นเดียวกับตัวอย่างประโยคสนทนาต่อไปนี้ หมอกาฟิรฺ: คนไข้ต้องพาลูกหลานไปรับวัคซีนต้านโปลิโอนะครับ จะได้ไม่เกิดโรค (แน่นอนว่าในใจของหมอไม่เคยเชื่อว่ามีพระเจ้าทำให้หายป่วยหรือกำหนดเบื้องหลังอยู่แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้นจากความบังเอิญ) คนไข้มุสลิม: ได้ครับหมอ ผมจะพาลูกไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ (ในใจเชื่อว่าอัลลอฮฺเป็นผู้กำหนดทั้งหมด) ตักฟิรีย์: คุณคนไข้มุสลิม บัดนี้คุณได้ล่วงล้ำสู่กุฟรฺแล้ว เพราะคุณเชื่อทฤษฎีทางการแพทย์ของหมอกาฟิรฺที่ไม่เชื่อว่าการหายป่วยมาจากกำหนดของพระเจ้า! นี่คือวิธีการโยงมั่วๆ เพื่อนำไปสู่การตักฟีร กลับมาที่ประเด็นบิกแบง พวกตักฟิรีย์บางคนพยายามจะทำให้มุสลิมที่เชื่อในชุดคำอธิบายแบบบิกแบงเป็นกาฟิรฺหรือไม่ก็กุฟรฺกันหมด โดยให้เหตุผลว่าทฤษฎีบิกแบงถูกอธิบายว่าจักรวาลเกิดขึ้นเองจากนักวิทยาศาสตร์กาฟิรฺ ฉะนั้นใครเชื่อในทฤษฎีนี้ผู้นั้นย่อมเป็นกาฟิรฺ! ชี้แจง ประการแรก ดูเหมือนคนพูดจะไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะบิกแบง สิ่งแรกที่คนพูดไม่รู้เลยก็คือ ผู้ที่เป็นต้นคิดกำเนิดคำอธิบายจักรวาลแบบบิกแบงคือบาทหลวงคริสเตียนนิกายคาธอลิค เป็นคนเชื่อพระเจ้าครับ! เขามีชื่อว่า ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวเบลเยียม มีสมณศักดิ์เป็นเพรเลต และเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน บางครั้งเรียกโดยย่อด้วยชื่อตำแหน่งว่า “คุณพ่อ” (Abbé) […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (4) : วิพากษ์การแก้เกี้ยวของบางคนเรื่องชัยคฺมุนัจญิดกรณีบิกแบง

หลังจากที่ได้โพสต์บทความที่พิสูจน์ว่าชัยคฺมุนัจญิดรับรองว่าบิกแบงมีความสอดล้องกับเนื้อหาในอัลกุรอานที่โพสต์นี้ (ตอนที่ 1) ก็ปรากฏว่ามีคนบางคนออกมาแก้เกี้ยวแถไถ ตะแบง จะเอาชนะให้ได้ ซึ่งจะขอวิพากษ์เร็วๆ ดังนี้ มีคนกล่าวว่า “เขาอ้างบทความอีกอันครับ ของเชคมุนัจญิดที่มีเนื้อหาประมาณว่าเห็นด้วยกะบิกแบง แต่ผมได้เข้าไปดูแล้ว พบว่ามันไม่ได้บ่งบอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยกับบิกแบง แต่แกเล่าผ่านบทความแกว่าพวกกาฟิรฺอ่านศึกษากุรอานแล้วเอาบิกแบงไปโยงกับอัลกุรอาน แล้วพบว่ามีจุดที่สอดคล้องกัน ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าเชคมุนัจญิดเห็นด้วยเลย คนละกรณี แต่โดนเอามาโยงให้เข้ากับการแอบอ้างของกลุ่มตัวเอง” นี่เป็นการแถที่น่าเกลียดที่สุด ด้วยเหตุผลประการต่อไปนี้ หนึ่ง ชัยคฺมุนัจญิดขึ้นต้นหัวข้อบรรยายของท่านมาด้วยหัวข้อว่า ความมหัศจรรย์ตลอดกาลของอัลกุรอาน معجزة القرآن الخالدة จากนั้นก็ยกเรื่องบิกแบงมากล่าวต่อ ถามว่าแบบนี้เชคมุนัจญิดยังไม่ได้รับรองอีกหรืออย่างไร แค่เล่าเฉยๆ หามิได้นี่คือการแก้ตัวที่น่าเวทนามาก สอง หลังจากชัยคฺมุนัจญิดเล่าให้ฟังว่าพวกกาฟิรค้นพบบิกแบงแล้ว เชคก็ได้กล่าวว่า هذا عين ما في القرآن “และนี่คือสาระที่อยู่ในอัลกุรอาน” ถามว่าพูดแบบนี้ยังไม่รับรองอีกเหรอ สาม หลังจากนั้นชัยคฺมุนัจญิดได้พูดปิดท้ายว่า و هم يعرفون ذلك، كيف اهتدى إلى هذا رجل أمي عاش قبل ألف […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (3) : อุละมาอ์ชื่อดังชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺกล่าวถึงบิกแบงค์ว่าสอดคล้องกับอัลกุรอาน

ใครที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือศาสนาภาษาอาหรับ จะต้องเคยได้ยินชื่อของชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวัยชฺบ้างไม่มากก็น้อย ในฐานะที่ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีผลงานในด้านการตะฮฺกี้ก (คือตรวจทานจัดพิมพ์) หนังสืออะกีดะฮฺและหนังสือวิชาการอิสลามหลายๆ เล่ม เช่น หนังสือ الاحتجاج بالقدر ของท่านอิบนุตัยมียะฮฺ, หนังสือ تيسير العزيز الحميد في شرح كتاب التوحيد الذي هو حق الله على العبي อันเป็นหนังสือเตาฮีดชื่อดังของท่านชัยคฺสุไลมาน บินอับดิลละฮฺ อาลเชค โดยจำนวนมากจากหนังสือที่ท่านชัยคฺซุฮัยรฺจัดพิมพ์จะร่วมกันทำกับท่านชัยคฺอัลบานีย์ โดยชัยคฺอัลบานีย์จะตรวจสอบสถานะหะดีษขณะที่ชัยคฺซุฮัยรฺจะตรวจสอบเนื้อหาและฟุตโน๊ตอ้างอิงตลอดทั้งเล่ม หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือหลายๆ เล่มที่ชัยคฺซุฮัยรฺได้ตะฮฺกี้กไปมีชื่อว่า ما دل عليه القرآن مما يعضد الهيئة الجديدة القويمة البرهان ซึ่งเขียนโดยท่านอิมามมะฮฺมู้ดชุกรีย์ อาลูซีย์ ซึ่งในเล่มนี้ท่านชัยคฺซุฮัยรฺเป็นผู้ตะฮฺกี้ก ขณะที่ชัยคฺอัลบานีย์ทำการตรวจสอบสถานะของหะดีษ ความเป็นมาหนังสือ ในหน้าที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ ท่านชัยคฺซุฮัยรฺได้ระบุว่า ท่านชัยคฺอับดุลมะลิก บินอิบรอฮีม อาลชัยคฺ […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (2) : คำชี้แจงขององค์กรสันนิบาตมุสลิมโลกเกี่ยวกับความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับบิกแบง

องค์กรรอบิเฏาะฮฺคือใคร? สันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) หรือ รอบิเฏาะฮ ในภาษาอาหรับ เป็นองค์กรเอกชนนานาชาติ (International Non-Governmental Organization) ตั้งอยู่ที่นครมักกะฮ์ ซาอุดีอาระเบีย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2505 (1962) โดยรัฐบาลซาอุดีฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ไฟซอล (Faisal bin Abdul Aziz Al-Saud) เพื่อให้เป็นองค์กรเผยแผ่ศาสนา ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและสาธารณกุศล โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ประสบความเดือดร้อนทั่วโลก บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรนี้และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานองค์กรรอบิเฏาะฮฺในอดีตคนสำคัญคนหนึ่งคือท่านชัยคฺอับดุลอะซีส บินบาซ (โปรดดูมัจมูอฺฟะตาวาย์ เล่ม 6 หน้า 147) ภายใต้การทำงานขององค์กรรอบิเฏาะฮฺนั้น ยังมีแผนกย่อยลงไปเพื่อแบ่งหน้าที่ในการทำงานทางวิชาการต่างกัน เช่น มีแผนก อัลมัจมะฮ์ อัลฟิกฮีย์ อัลอิสลามีย์ (المجمع الفقهي الإسلامي) ซึ่งเป็นแหล่งร่วมของคณะนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องฟิกฮฺโดยตรง โดยเฉพาะฟิกฮฺร่วมสมัยที่คณะกรรมการชุดนี้ได้มีบทบาทในการออกฟัตวาหลายๆ ประเด็นแก่โลกอิสลาม (คนบางกลุ่มในบ้านเราที่ชอบพูดเรื่องธุรกรรมสมัยใหม่และโต๊ะจีน,มุฎอเราะบะฮฺก็มักอ้างฟัตวาเรื่องธุรกรรมจากองค์กรนี้บ่อยๆ) เช่นเดียวกันองค์กรรอบิเฏาะฮฺยังมีแผนกที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกค้นคว้าประเด็นเรื่องความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺซึ่งใช้ชื่อแผนกกันในภาษาอาหรับว่า (الهيئة العالمية للإعجاز […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (1) : ชัยค์มุนัจญิดกับข้อเท็จจริงเรื่องบิกแบงตอบโต้การบิดเบือนของครูนักแต่งกลอน

ท่านชัยคฺมุนัจญิดได้กล่าวไว้ในคำบรรยายของท่านถึงความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานที่ท้าทายพวกกาฟิรฺในเรื่องของการกำเนิดจักรวาลไว้ว่า معجزة القرآن الخالدة و آخر من كبار باحثيهم، درس القرآن دراسة متأنية، و مما لفت نظره أمور، مثل: أن القرآن الكريم فيه سورة باسم مريم، و ليست في نظره من المنتسبين إلى هذا الدين، بل إنها محسوبة على دين النصارى، و ليس في القرآن سور باسم خديجة أو فاطمة أو عائشة، من نساء هذا […]

กองบรรณาธิการ

20/02/2561
1 2 3