รวมการบรรยายเผยแพร่อิสลามแก่ต่างศาสนิก
รวมการบรรยายเผยแพร่อิสลามแก่ต่างศาสนิก
รวมการบรรยายเผยแพร่อิสลามแก่ต่างศาสนิก
คำถาม : ผมได้ยินท่านชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน กล่าวในเทปบรรยายแรกจาก การอธิบายหนังสือ “ซาดุ้ลมุสตัฆนิอฺ” ว่า การตักลีด (เลียนแบบตามผู้รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งในศาสนา ผู้แปล) เป็นที่ต้องห้าม ไม่อนุญาติให้คนหนึ่งคนใดปฏิบัติโดยปราศจากหลักฐาน และบรรดาผู้รู้ไม่ได้เรียกคนที่เลียนแบบตามผู้อื่นว่าเป็นผู้รู้ และผมมีคำถามจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมหวังว่าชัยคฺจะตอบมันทีละคำถามก็คือ ที่ชัยคฺ (อุษัยมีน) หมายถึง คือ การตักลีดเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาอย่างเดียวใช่ไหมครับ หรือว่าสำหรับคนทั่วไปด้วย? และถ้าหากว่ามันเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาและคนทั่วไป แล้วคนทั่วไปจะรู้จักหลักฐานได้อย่างไรละครับ และอะไรคือความแตกต่างระหว่างคนทั่วไปและนักศึกษาศาสนา? และผมหวัง (คำแนะนำ) จากชัยคฺว่า อะไรคือแนวทางที่นักศึกษาศาสนาควรปฏิบัติเพื่อออกห่างจากการตักลีด คือ เขาจะต้องท่องจำอัลกุรอาน และตัวบทฮะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวกับฮูก่มข้อตัดสิน เป็นต้น หรือว่าเขาจะต้องทำอะไรดีครับ? และคำถามสุดท้ายของผม ซึ่งมันสำคัญสำหรับผมมาก ผมขอความกรุณาให้ชัยคฺช่วยตอบคำถามอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยครับคือ ผมจะทำอย่างไรดีครับ ถ้าหากว่าผมฟังเทปบรรยายเกี่ยวกับฟิกฮฺ หรือฟังผู้บรรยายคนหนึ่ง หรืออะไรก็ตาม อาทิ เช่น เทปบรรยายหนังสือ “อัคศอรุ้ล มุคตะศอรอต” ของท่านชัยคฺซอลิฮ์ เฟาซาน ตัวอย่างเช่น ขณะที่ชัยคฺกล่าวว่า : “มีซุนนะห์ ขณะลุกขึ้นมาจากสุญูด ให้เอามือทั้งสองค้ำยันไปบนหัวเข่าทั้งสองข้าง” […]
มีคำถามจากพี่น้องมุสลิมชาวอียิปต์บางท่านได้ส่งมาโดยขอให้ทำการชี้แจงเกี่ยวกับข้อตัดสินในเรื่องการโค่นล้มผู้นำสูงสุดด้วยกับบทบัญญัติทางหลักการศาสนา ผู้ถาม ชัยค์ผู้เป็นที่รักของเรา คำถามต่างๆ เหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์ที่สำคัญอยู่ ที่เราต้องการคำตอบของคำถามเหล่านี้จากพวกท่าน. ประเด็นแรก : ถูกต้องหรือไม่ ที่นักวิชาการคนหนึ่งจากบรรดานักวิชาการชาวสะลัฟมีทัศนะว่าอนุญาติให้โค่นล้มผู้นำเมื่อเขาประพฤติชั่ว แต่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ : การประพฤติชั่วของเขานั้น จะต้องเป็นความประพฤติชั่วที่เป็นบาปใหญ่และเป็นเรื่องที่ใหญ่โต การถอดถอนผู้นำนั้นจะต้องมาจากทางด้านของผู้ที่มีสิทธิในการปรับปรุงแก้ไข และผู้ที่มีส่วนร่วมในสนธิสัญญา และผู้ที่มีความพร้อมในด้านความสามารถ และจะต้องไม่ใช่การถอดถอนจากบรรดาคนเอาวาม (สามัญชนทั่วไป) จะต้องไม่ก่อให้เกิดฟิตนะอ์จาก (การดำเนินการ) โค่นล้มผู้นำ ประเด็นที่สอง : มีคำพูดของนักวิชาการชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งได้บอกว่าระหว่างการ ออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และ การถอดถอนผู้นำและการตีตัวออกห่างจากผู้นำ และแท้ที่จริงแล้วการออกจากการเชื่อฟังต่อผู้นำ และการตีตัวออกห่างจากผู้นำ นั้นเป็นที่ต้องห้ามด้วยกับอิจมาอ์ (มติเอกฉันฑ์) และส่วนการถอดถอนนั้นเป็นที่อนุญาต ตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กล่าวมานี้หรือไม่ ? ประการที่สาม : ถูกต้องหรือไม่สำหรับการพาดพิงเรื่องดังกล่าวนี้ไปยังคนหนึ่งคนใดจากชาวสะลัฟ หรือบอกว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสะลัฟ (หมายถึงประเด็นเรื่องการถอดถอนผู้นำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น) ฉัน (ชัยค์ ฟัรกูซ) จะขอกล่าวถึงคำตอบของคำถามดังนี้ ของอัลลอฮ์ทรงให้การช่วยเหลือ พึงทราบเถิดว่าส่วนหนึ่งจากบรรดาเงื่อนไขต่างๆ ของการเป็นผู้นำสูงสุดนั้น จะไม่มีใครได้รับตำแหน่งนี้ตั้งแต่แรก ยกเว้น ผู้ที่เป็นมุสลิมที่มีคุณธรรม ดังนั้นตำแหน่งผู้นำนั้นจะไม่ถูกแต่งตั้งให้แก่คนชั่ว ยิ่งไปกว่านั้นก็สำหรับกาเฟร และนี่เป็นเงื่อนไขที่บรรดาผู้รู้นั้นเห็นตรงกัน […]
ในสองตอนแรก (ตอนที่ 1 –คลิกอ่าน– และตอนที่ 2 –คลิกอ่าน-) เราได้วิพากษ์บทความของ ดร.อิบรอฮีม สือแม กันไปแล้ว ซึ่งเรายังมีประเด็นที่ต้องโต้แย้งอีกส่วนหนึ่งจากหลักฐานที่ ดร.อิบรอฮีม ยกมา ความจริงถ้าท่าน ดร.จะกรุณาเราขอให้ท่านรอเราชี้แจงบทความของท่านให้หมดก่อน แล้วท่านค่อยตอบเรามาก็ได้ จะได้ไม่เป็นการแย้งไปมาแบบคละประเด็นกัน อันนี้เราเสนอไปแล้วแต่ว่าท่านจะยอมรับหรือไม่ ประเด็นที่หนึ่ง : ประเด็นเรื่องของท่านอัซซะฟากุซีย์ ในตอนที่ผ่านมา เราได้ท้วงการยกคำพูดของท่านอัซซะฟากุซีย์ ที่ตัวบทเต็ม ๆ เป็นดังนี้ وقول السفاقسي أجمعوا أن الخليفة إذا دعا إلى كفر أو بدعة يقام عليه تعقب بأن المأمون والمعتصم والواثق كلٌّ منهم دعا إلى بدعة القول بخلق القرآن وعاقبوا العلماء […]
เราได้นำเสนอบทความเรื่องนี้กันไปก่อนแล้วใน ตอนที่ 1 –คลิกอ่าน– ซึ่งทางเราหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความกระจ่างในเรื่องนี้ในระดับเบื้องต้นกันไปแล้ว ครั้งนี้ตอนที่ 2 เราจะมาเขียนชี้แจงหลักฐานส่วนที่เหลือซึ่ง ดร.อิบรอฮีม สือแม ได้ยกมาเพื่ออ้างว่า “ไม่มีอิจมาอ์” ในเรื่องนี้กัน หลักฐานที่ 1 : ท่านอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะโค่นล้มผู้นำ ท่าน ดร.อิบรอฮีม สือแม ได้อ้างงานเขียนของท่านอัลญัศศอศที่ “อ้าง” ว่าท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะในการโค่นล้มผู้นำ โดยท่านอิมามอัลญัศศอศได้ยกเรื่องราวของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺที่ให้การสนับสนุนไซด์ บินอะลี ที่ต่อต้านรัฐบาลอุมะวียะห์ภายใต้การนำของฮิชาม บินอับดุลมะลิกด้วยอาวุธ ข้อโต้แย้ง : เราไม่ปฏิเสธเลยว่ามีนักวิชาการรุ่นหลังจำนวนหนึ่งกล่าว “อ้าง” ว่าท่านอบูฮะนีฟะฮฺมีทัศนะในการโค่นล้มผู้นำ ซึ่งท่านอิมามอัลญัศศอศเองมีความเข้าใจเช่นนี้อยู่ อย่างไรก็ตามแต่สำหรับคนที่แสวงหาความจริงและมีความละเอียดรอบคอบแล้ว เขาไม่ควรจะรีบด่วน “ตักลีด” ตามคำอ้างในทุกกรณี ความจริงคนที่พอจะมีความรู้กันบ้างก็จะทราบกันดีว่า การอ้างของนักวิชาการรุ่นหลังว่า “คนรุ่นสะลัฟ” เชื่อแบบนั้น แบบนี้โดยอาศัย “การเข้าใจ” ที่เขาเหล่านั้นมีอยู่เป็นพื้นฐานคำอธิบาย เป็นสิ่งที่มีเห็นกันได้ตลอด แต่นั่นมิได้หมายความว่า “สิ่งที่ถูกอ้าง” กลับไปใส่คนรุ่นอดีตจะต้องเป็นจริงตามที่อ้างเสมอไป เราคิดว่า ดร.อิบรอฮีม สือแม ก็น่าจะทราบกันดีว่ากรณีการอ้างทัศนะใส่คนรุ่นแรกแบบผิด ๆ มีให้เห็นกันบ่อยมากจากนักวิชาการในรุ่นหลัง เช่น ท่านอิบนุลเญาซีย์อ้างว่าอิมามอะฮฺมัดตีความศิฟัตของพระองค์ หรือท่านอิมามอันนะวะวีย์อ้างว่าชาวสะลัฟได้มีการตีความศิฟัตของอัลลอฮฺแบบนั้นแบบนี้ […]
อบูมุเฏียะอฺ อัลบัลคียฺ ได้กล่าวกับท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺว่า: “ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับผู้ที่สั่งใช้ในเรื่องความดีและห้ามปราบจากเรื่องความชั่ว มีผู้คนปฏิบัติตามเขา แล้วเขาก็ออกกมาทำการก่อกบฏ ท่านเห็นด้วยกับการกระทำของเขาหรือไม่? ท่านอิหม่ามตอบว่า: “ไม่” ฉัน (อบูมุเฏียะอฺ) ก็กล่าวว่า: เพราะเหตุใดท่านถึงไม่เห็นด้วยล่ะ? อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้วางบทบัญญัติให้สั่งใช้ในเรื่องความดีและห้ามปราบความชั่ว มันเป็นฟัรฎูที่จำเป็นไม่ใช่หรือ? ท่านอิหม่ามกล่าวว่า: “ก็ใช่ แต่พวกเขาสร้างความเสียหายมากกว่าผลดี ซึ่งก็คือการนองเลือดและการอนุมัติสิ่งที่เป็นที่ต้องห้าม” อ้างอิง: (الفقه الأكبر لأبي مطيع البلخي ص٤٤ / الفتوى الحموية لشيخ الإسلام ابن تيمية ص٣٠٥) ท่านชัยคฺอับดุลอะซีซ อิบนุบาซได้อธิบายคำพูดดังกล่าวว่า: และด้วยเหตุนี้เองท่านอบูฮะนีฟะฮฺได้แสดงการปฏิเสธบรรดาคนเหล่านั้นที่ทำการก่อกบฏต่อผู้นำ และท่านได้กล่าวว่าพวกเขาสร้างความเสียมากกว่าสร้างผลดี มันเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแสดงการปฏิเสธความชั่วและเรียกร้องไปสู่ความดี ทว่าก็โดยปราศจากการใช้อาวุธ ส่วนการออกไปก่อกบฏโดยใช้อาวุธเพื่อเข่นฆ่าบรรดามุสลิม เพื่อเข่นฆ่าบรรดาผู้นำโดยอ้างว่าเป็นการแสดงการปฏิเสธความชั่ว นี่เป็นงานของพวกค่อวาริจและงานของพวกมัวะอฺตะซิละฮฺที่สร้างผลเสียมากกว่าผลดี พวกเขาได้ทำตรงกันข้ามกับคำสั่งของท่านนบี صلى الله عليه وسلم ที่ว่า : “ผู้ที่เห็นที่สิ่งใดก็ตามที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮฺจากผู้นำ เขาก็จงเกลียดการฝ่าฝืนอัลลอฮฺที่ผู้นำได้กระทำ ทว่าอย่าได้ถอนมือออกจากการเชื่อฟังเด็ดขาด” และเนื่องจากที่ท่านนบีได้กล่าวว่า : […]
ในช่วงนี้เราได้เห็นกระแสทางโซเชี่ยล แสดงความเห็นกันเรื่องการล้มผู้นำไปคนละทางสองทาง บทความนี้มีเจตนาในการวิเคราะห์ข้อเขียนของฝ่ายที่พยายามจะอ้างว่าการห้ามโค่นล้มผู้นำมุสลิม “ไม่มีอิจมาอ์” ในเรื่องนี้ โดยการยกหลักฐานต่าง ๆ มานำเสนอซึ่งเราจะวิเคราะห์กันดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก: สาเหตุของการปลดผู้นำออกจากตำแหน่ง มีการระบุกันว่าสาเหตุที่ผู้นำจะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนั้นมีสี่สาเหตุคือ ผู้นำที่แสดงการกุฟรฺหรือกลายเป็นกาฟิรฺ ผู้นำที่ละทิ้งละหมาดและทิ้งการเรียกร้องสู่การละหมาด ผู้นำที่ไม่ตัดสินด้วยชารีอะห์อิสลาม ผู้นำที่มีความฟาซิก อธรรม และบิดอะห์ วิจารณ์ ข้อเขียนสี่ประการข้างต้นนั้นหากเราไปเสาะแสวงหาดู เราจะพบว่ามันเป็นข้อเขียนของอับดุลลอฮฺ อัดดะมีญีย์ ในหนังสือ الإمامة العظمى عند أهل السنة والجماعة ซึ่งข้อเขียนของเขานั้นไม่ใช่งานเขียนจากยุคสะลัฟ และตัวเขาเองยังไม่ใช่นักวิชาการที่เป็นที่ “อ้างอิง” หลักของวงวิชาการ ฉะนั้นข้อเขียนหรือความเห็นตรงไหนของตัวเขาที่ไม่มี “นักวิชาการในยุคก่อนหน้านี้” พูดมาก่อน เราก็ถือว่าไม่ใช่หลักฐานทางวิชาการในการจะนำเอามานำเสนอกัน ซึ่งจากข้อเขียนของเขาข้างต้น เรามีทั้งข้อที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ข้อแรก ผู้นำที่เป็นกาฟิรฺไปแล้ว แน่นอนว่าฝ่ายสะละฟีย์ทุกคนเห็นพ้องกันอยู่แล้วว่าผู้นำที่เป็นกาฟิรนั้น จะต้องถูกถอดถอนออกและอนุญาตให้ทำการสู้รบโค่นล้มได้ อย่างไรก็ตามแต่นักวิชาการได้อธิบายต่อไปว่าเงื่อนไขของการโค่นล้มผู้นำชนิดที่เป็นกาฟิรฺนี้จะต้องเกิดประโยชน์มากกว่าโทษเท่านั้น หมายความว่าผู้นำกาฟิรฺที่จะถูกปลดออกนั้นจะต้องถูกปลดออกในสภาพที่ไม่เกิดความเสียหายและความชั่วร้ายมากกว่าเดิม แต่หากการสู้รบกับผู้นำประเภทนี้ส่งผลเสียหายกว่าเดิมเช่นนั้นถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำ (มัจมูอฺฟะตาวาย์ อิบนุบาซฺ เล่ม 8 หน้า 202) ส่วนข้อที่สอง คือ ผู้นำที่ละทิ้งละหมาดและทิ้งการเรียกร้องสู่การละหมาด กรณีเช่นนี้ก็อนุญาตให้สู้รบได้ซึ่งไม่มีข้อโต้เถียงในผู้นำประเภทนี้ […]
อิจมาอ์เกือบทุกเรื่องในศาสนา เวลามีการสรุปแล้วว่ามีอิจมาอ์ ก็จะมี 2 กรณีที่เกิดการค้านอิจมาอ์นั้น 1. มีความเห็นหรือการกระทำที่ค้านอิจมาอ์ ซึ่งอุละมาอ์ที่ค้านอิจมาอ์ อาจจะไม่ทราบ หรือไม่รับรู้ว่ามีอิจมาอ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้น 2. กรณีที่มีรายงานอิจมาอ์มาแล้ว แต่มีคนไม่รับอิจมาอ์นั้น และออกมาค้านว่าอิจมาอ์นั้นว่าใช้ไม่ได้ เป็นการมุ่งไปที่ตัวอิจมาอ์ ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไปเอารายงานจากยุคสะลัฟมา หรืออาจเป็นการกระทำของสะลัฟ แล้วมาสรุปอิจมาอ์ –อิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการตีความ ไม่ใช่อิจมาอ์บิลนักลิ เข้าใจอิจมาอ์ผ่านการรายงาน ซึ่งอุละมาอ์พลาดในแบบแรกกันเยอะมาก และแบบที่ 2 นั้นมีน้ำหนักและความแม่นยำกว่า- [รายละเอียดเพิ่มเติมฟังได้ที่: เจตนารมณ์แห่งอัสสะละฟุศศอและห์ ตอน 1 : แนวทางสลัฟ คือ อะไร? เจตนารมณ์ของคำนี้คืออะไร?] ยกตัวอย่างเรื่องซิฟาต (คุณลักษณะของอัลเลาะฮ์) ซึ่งมีอิจมาอ์หมดแล้วทั้งเรื่องอัลเลาะฮ์เสด็จลงมา เรื่องบัลลังก์ ฯลฯ แต่ก็จะมีรายงานสะลัฟที่สับสน เข้าไม่ถึงข้อมูล ที่นำไปสู่การสรุปอิจมาอ์ใหม่ว่าเรื่องนี้มีคิลาฟ เรื่องนี้ไม่มีอิจมาอ์ เช่น มีรายงานคำพูดอิมามอะฮ์หมัดว่า “ลากัยฟะ วะลามะนา {ไม่มีวิธีการ ไม่มีความหมาย}” คนรุ่นหลังก็ไปเอาคำพูดนี้มาสรุปอิจมาอ์บิลฟะฮ์มิ ว่าอิมามอะฮ์หมัดตีความ (จริงๆ “ลามะนา” […]
บทความโดย ชัยคฺ บันดัร อัล-มะหฺยานียฺ หะฟิเศาะฮุลลอฮฺ มีคนๆ หนึ่งในยุคสะลัฟ มีความเลื่องลือในเรื่องของความรู้ และการทำอิบาดะฮฺอย่างมากมาย แต่ทว่าบุคคลนี้มีความคิดว่า สามารถอนุญาตให้ออกไปโค่นล้มบรรดาผู้นำมุสลิมได้ ชาวสะลัฟจึงตัดสินเขาผู้นี้ว่าเป็นผู้อุตริกรรม (มุบตะดิอฺ) และเตือนให้ออกห่างจากเขา และพวกเขาก็ไม่ปฎิบัติดีกับบุคคลนี้ ฉันจะขอหยิบยกเรื่องราวที่น่าประหลาดใจเช่นนี้มาให้พวกท่านได้รับรู้ เขาผู้นี้คือ หะซัน บินศอลิหฺ บินหัย อัล-ฮัมดานียฺ เสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 169 เขาเป็นบุคคลร่วมสมัยกับบรรดาอุละมาอ์สะลัฟ ในเรื่องของความรู้ และการทำอิบาดะฮฺ เช่น อิมามซุฟยาน อัษ-เษารียฺ และบุคคลอื่นๆ ท่านหะซัน ผู้นี้เป็นหนึ่งจากผู้รายงานหะดิษ ช่างเป็นตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แม้กระทั่งท่าน อบูฮาติม อัร-รอซียฺ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในเรื่องความเข้มงวดในเรื่องการให้การยอมรับผู้ที่รายงานหะดิษ และการตำหนิผู้ที่รายงานหะดิษ ยังเคยกล่าวถึงเขาว่า บุคคลนี้ (หะซัน บินศอลิหฺ) ว่าเป็นคนที่มีความ ซื่อสัตย์ ความจำดี และเป็นคนที่มีความประณีตในการรายงานหะดีษ ความน่าประหลาดใจของเขาในเรื่องความเกรงกลัว ก็คือ เขาเป็นผู้ที่อ่อนไหวง่าย อีกทั้งยังร้องให้ง่าย ท่าน ยะหฺยา บินอบีบักรฺ กล่าวว่า ฉันเคยกล่าวกับเขาว่า […]
[เผยแพร่แล้วในเว็บไซต์ https://th-th.facebook.com/thvoiceofgen/ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2016 (พ.ศ. 2559): (เป็นบทความที่มีการเสริมเนื้อหาเพิ่มเติมจากการเผยแพร่ครั้งแรก – 29 ตุลาคม 2013 – ในเพจวารสารแนวหน้าปริทัศน์ในชื่อว่า “ปรากฎการณ์ตาสว่างกับเรื่องที่อิควานไม่เข้าใจชัยคฺอัลบานีย์ไม่หุกุ่มอิควานว่าออกจากสุนนะฮฺจริงหรือ ?” แต่แอดมินเพจถือวิสาสะเปลี่ยนชื่อบทความใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่มีการกล่าวถึง)] มี “อิควาน” ในไทยบางรายได้นำเทปของชัยคฺอัลบานีย์ในชื่อชุดว่า ซิลซิละฮฺอัลฮูดา วัลนูร หมายเลข: 849 มานำเสนอโดยอ้างว่าชัยคฺอัลบานีย์ได้ถอนจากความเห็นที่ที่เคยหุกุ่มอิควานออกจากแนวทางซุนนะฮฺ ซึ่งเราจะมาติดตามเรื่องนี้กัน ชัยคฺอัลบานีย์ กล่าวว่า أن الإخوان المسلمين ليسوا من الفرق الضالة ولا أعتقد أني قلت ذلك ولو قلته فإنى أتراجع عنه ولا أعتقد أن يصل بى الأمر إلى أن أحكم […]
การประหารชีวิตในอิสลาม ตอนที่ 1/2 [iframely] [/iframely] การประหารชีวิตในอิสลาม ตอนที่ 2/2 : คนแต่งงานมีชู้, ผู้ที่มุรตัด, ผู้ที่ฆ่าคนอื่น [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 1/3 [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 2/3 [iframely] [/iframely] นักโทษข่มขืนต้องประหารหรือไม่ ตอนที่ 3/3 [iframely] [/iframely] ใครออกจากศาสนาอิสลามต้องโดนประหารจริงหรือ? [iframely] [/iframely]
[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] คำว่าญาฮิลียะฮ์ ดังที่เรากล่าวไปแล้ว ว่ามันพาดพิงไปหาคำว่า ญะฮล์ ซึ่งหมายถึง การไร้ความรู้ และเรื่องใดก็ตามที่ถูกพาดพิงกลับไปหาญาฮิลียะฮ์ เรื่อง ๆ นั้นจะถือเป็นเรื่องที่ต้องถูกตำหนิ ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์ตะอาลาจึงตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] อัลลอฮ์ทรงห้ามบรรดาภรรยาของท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ให้ทำการตะบัรรุจ (แต่งตัวอวดโฉม) ซึ่งหมายถึงการเปิดเผยเครื่องประดับของพวกนางตามท้องตลาด และต่อหน้าสาธารณะชน เพราะพวกญาฮิลียะฮ์นั้น ผู้หญิงของพวกเขาต่างก็ทำการแต่งตัวอวดโฉม ยิ่งไปกว่านั้นพวกนางยังเปิดเผยเอาเราะฮ์ของตัวเองอีกต่างหาก เหมือนกับในตอนที่พวกเขาทำการเฏาะวาฟ พวกเขามองว่าการทำแบบนี้ถือเป็นการได้อวดเบ่งกัน และอัลลอฮ์ตะอาลากล่าวว่า إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ ความว่า: […]