บทนำ ตอนที่ 2: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.02)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิละยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทสซาอุดิอารเบีย] [โปรดอ่านตอนที่แล้ว] ส่วนคำว่าญาฮิลียะฮ์ เป้าหมายของคำ ๆ นี้ คือการพาดพิงไปสู่คำว่า ญะฮล์ (ความเขลา) ซึ่งคำว่าญะฮล์นั้นก็หมายถึงการไม่มีความรู้นั่นเอง และในส่วนของยุคญาฮิลียะฮ์ที่ไม่มีเราะซูลปรากฏตัวและไม่มีคัมภีร์ใดถูกประทานลงมา ความหมายของยุคดังกล่าวหมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ ความว่า: “และพวกนางจงอย่าแต่งตัวอวดโฉมดังสภาพการแต่งตัวอวดโฉมของสตรีญาฮิลียะฮ์ยุคต้น” [ซูเราะฮ์ อัลอะฮ์ซาบ อายะฮ์ที่ 33] หมายถึง ยุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมา เพราะว่ายุคก่อนที่ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะถูกส่งมานั้น โลกทั้งหมดกำลังปั่นป่วนอยู่ในความหลงผิด การปฏิเสธศรัทธา และการเฉไฉออกจากแนวทาง เนื่องเพราะสาส์นต่าง ๆ ก่อนหน้านั้นได้ถูกทำให้ลบเลือนหายไป พวกยะฮูดได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคัมภีร์เตาร๊อตของพวกเขา และได้นำเอาความเชื่อที่เป็นกุฟร์ (การปฏิเสธศรัทธา) ต่าง ๆ  […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

บทนำ ตอนที่ 1: หนังสือสารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (EP.01)

[เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านแปลมาจากหนังสือเล่มเล็กเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่า เขียนโดย ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ชื่อว่า มาซาอิลญาฮิลิยะฮ์ฯ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของหมู่ชนญาฮิลิยะฮ์ และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจาก ชัยค์ศอลิฮ์ บินเฟาซาน อัลเฟาซาน ปราชญ์อาวุโสจากประเทศซาอุดิอารเบีย] ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปราณียิ่ง ผู้ทรงเมตตา คำนำ มวลการสรรญเสริญทั้งลายเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งสากลโลก ขอพระองค์ทรงสรรเสริญและประทานความศานติแก่นบีมุฮัมมัดของเรา ตลอดจนวงศ์วานและสาวกของท่านโดยทั่วกัน อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เคยทำการเรียนการสอนชุดหนึ่งที่มัสญิดเอาไว้ ซึ่งการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการอธิบายขยายความถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ “สารพัดปัญหาแห่งหมู่ชนยุคญาฮิลียะฮ์ (อาหรับยุคก่อนที่ท่านนบีจะมาเผยแพร่ศาสนา)” ซึ่งท่านชัยคุลอิสลาม อัลมุญัดดิด ชัยค์มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮ์ฮาบ เราะหิมะฮุลลอฮ์ ได้เรียบเรียงประเด็นปัญหาเหล่านั้นเอาไว้ในสาส์นฉบับย่อฉบับหนึ่ง และมีนักศึกษาบางส่วน -ขออัลลอฮ์ทรงประทานความสำเร็จให้แก่พวกเขา- ได้บันทึกการเรียนการสอนครั้งนั้นเป็นเทปเอาไว้ ต่อมาจึงมีนักศึกษาบางคน -ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่เขา- ทำการแกะเทปการเรียนการสอนดังกล่าวออกมา พร้อมกับเขียนลงเป็นลายลักษณ์ และได้นำมาให้ข้าพเจ้าตรวจสอบดู เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านมันแล้วจึงเห็นดีด้วยที่จะให้มีการตีพิมพ์พร้อมทั้งเผยแพร่มันออกไป เพื่อที่จะให้มันเป็นประโยชน์สูงสุด เนื่องด้วยความบกพร่องและความผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้ในการอธิบายขยายความครั้งนี้ ทว่ามันก็ยังเป็นอย่างที่ผู้คนกล่าวกันว่า شيء خير من لا شيء  “การมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ถึงแม้จะบกพร่องไปบ้าง) มันก็ดีกว่าการที่ไม่มีอะไรเลย” ข้าพเจ้าจึงหวังจากผู้อ่านที่ได้อ่านคำอธิบาย (จากหนังสือเล่ม) นี้และเล็งเห็นถึงข้อผิดพลาดจุดใดก็ตาม ให้เขาได้มากล่าวเตือนข้าพเจ้าเพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้แก้ไขมันเสียใหม่ ขออัลลอฮ์ทรงช่วยเหลือให้พวกท่านทุกคนได้รับในความรู้ที่ยังประโยชน์พร้อมทั้งให้พวกท่านได้ปฏิบัติการงานที่ดี […]

กองบรรณาธิการ

11/06/2561

[ฟัตวา] การถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าเลยตาตุ่ม เป็นปัญหาเห็นต่างหรือไม่?

คำถาม: เราสามารถนับเรื่องการถ่ายรูปสิ่งที่มีวิญญาณ, การละหมาดญะมาอะฮ์และการปล่อยผ้าให้ลงมาเลยตาตุ่มโดยปราศจากการโอ้อวด ให้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นปัญหาที่สามารถเห็นต่างได้หรือไม่? คำตอบ: อัลฮัมดุลิลละฮ์ อันดับแรกคือ ก่อนที่เราจะลงไปตัดสินว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้อยู่ในหมวดของเรื่องที่สามารถเห็นต่างกันได้หรือไม่นั้น เราก็ควรรู้จักกฏเกณฑ์ “การเห็นต่างที่อนุญาตก่อน” ที่เราจะกล่าวคือ ประเด็นปัญหาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในหมู่นักวิชาการ จะถือว่าเป็นปัญหาเห็นต่างที่ได้รับการยอมรับได้นั้น ต้องประมวลไว้ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ก่อน 1. ปัญหาที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกรุอานและฮะดีษหรือมติเอกฉันท์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว (ว่าเป็นเอกฉันท์จริง) คือปัญหาที่ไม่มีตัวบทจากวะฮีหรืออิจมาอฺเกิดขึ้น ฉะนั้นแล้วปัญหานี้จะตั้งอยู่บนฐานของการวิเคราะห์และวินิจฉัย อุละมาอ์มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ แน่นอนว่าอัลลอฮ์ได้ประทานให้กับบางคนในสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานให้กับอีกคนในเรื่องของความสามารถในการพิจารณาและการวิเคราะห์ (ประเด็นปัญหา) ท่านอิมามนะวาวีย์ -ขออัลลอฮทรงเมตตาท่าน- ได้กล่าวว่า: เช่นนั้นแหละพวกเขากล่าวว่า ไม่บังควรแก่ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนาหรือผู้พิพากษาที่จะขัดขวางกับผู้ที่เห็นต่างจากเขาในเมื่อคนๆ นั้นยังไม่ได้ค้านกับตัวบทหรืออิจมาอฺหรือการเปรียบเทียบ (กิยาส) ที่มีความชัดเจน [ชะเราะฮ์มุสลิม (24/2)] ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะกีดะฮ์หรือเรื่องฟิกฮฺ เรื่องที่เกิดการเห็นต่างและได้รับการให้อภัยนั้นโดยส่วนมากเป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ เพราะว่ามติของเอกฉันท์ของบรรดานักวิชาการที่มีต่อเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท่านชัยคุลอิสลามอิบนิตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า: ไม่ต้องสงสัยเลยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านวิชาการ จะได้รับการให้อภัยกับประชาชาตินี้แม้ว่าความผิดพลาดนั้นจะอยู่ในปัญหาเรื่องวิชาการ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคนดีในประชาชาตินี้ก็ต้องพินาศกันเป็นแน่ [มัจมัวะฟะตาวา (165/20)] 2. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่ถูกต้องแต่ไม่มีความชัดเจนในการที่จะถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆได้การเห็นต่างที่เกิดขึ้น ณ ที่นี้คือความเข้าใจซึ่งอัลลอฮ์ได้ทำให้ความเข้าใจนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันในหมู่มนุษย์ 3. ปัญหาที่มีตัวบทหลักฐานที่มีความชัดเจนที่จะถูกใช้เป็นหลักฐานในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องของความถูกต้องของตัวบท หรือตัวบทนั้นถูกค้านจากสิ่งที่มีน้ำหนักจากหลักฐานตัวอื่น พร้อมกันนั้นเองสิ่งที่ต้องระวังก็คือการเห็นต่างที่อนุญาตและได้รับการยอมรับนั้น มันจะต้องเป็นการเห็นต่างที่มีแหล่งที่มาจากนักวิชาการและนักการศาสนา ส่วนคนทั่วไปหรืออะไรทำนองนี้ การเห็นต่างของพวกเขาไม่มีประโยชน์อันใด และการชี้ขาด […]

กองบรรณาธิการ

06/06/2561

[ฟัตวา] อะไรคือหุก่มของการที่สตรีมองไปยังเพศชาย ทั้งจากโทรทัศน์ หรือการมองโดยธรรมชาติตามท้องถนน?

ท่านชัยคฺ มุฮัมมัด บินศอลิฮฺ บินอุซัยมีน เราะฮิมะฮุลลอฮ์ ถูกถามว่า : อะไรคือหุก่มของการที่สตรีมองไปยังเพศชาย ทั้งจากโทรทัศน์ หรือการมองโดยธรรมชาติตามท้องถนน? ชัยค์ตอบว่า: การมองของสตรีที่มองไปยังเพศชายนั้น จะไม่หนีไปจากสองสภาพซึ่งจะไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมองผ่านโทรทัศน์หรือจากที่อื่น 1 – การมองด้วยความใคร่และเพลิดเพลิน สิ่งนี้เป็นสิ่งฮะรอม เพราะในมันนั้นมีทั้งความเสียหายและฟิตนะฮ์ 2 – การมองโดยไม่มีความใคร่และไม่มีความเพลิดเพลิน สิ่งนี้ถือว่าไม่เป็นอะไรในทัศนะที่ถูกต้องจากบรรดาปวงปราชญ์ ซึ่งมันเป็นที่อนุญาต เนื่องด้วยหะดีษที่อยู่ในตำราเศาะฮีฮ์ทั้งสอง (บุคอรีย์และมุสลิม) ว่า (ท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เคยมองไปยังกลุ่มชายชาวฮะบะชะฮ์ ในขณะที่พวกเขากำลังละเล่นกันอยู่ และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อนุมัติให้นางมองพวกเขา) ท่านนบีได้ยอมรับการกระทำของนางในเรื่องดังกล่าว และเนื่องจากว่าบรรดาสตรีนั้น เมื่อพวกนางเดินตามตลาดและพวกนางก็จะมองไปยังผู้ชาย ถึงแม้พวกนางจะสวมฮิญาบอยู่ก็ตาม ฉะนั้นแล้ว บางทีสตรีอาจะมองไปยังเพศชายโดยที่เขาไม่ได้มองนางด้วยซ้ำ ด้วยกับเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีความใคร่และฟิตนะฮ์ในการมอง ถ้าหากมีความใคร่และฟิตนะฮ์ การมองก็จะเป็นที่ต้องห้าม ไม่ว่าจะมองทางโทรทัศน์ หรือมองจากที่อื่นก็ตาม ฟะตาวา อัลมัรอะติลมุสลิมะฮ์ 2/973 .  

กองบรรณาธิการ

06/06/2561

[ฟัตวา] ในเรื่องการวางสิ่งของต่างๆ ไว้บนตำราศาสนา…? หรือไม่ก็การวางตำราศาสนาซ้อนกัน?

คำถาม: อะไรคือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ ในเรื่องการวางสิ่งของต่าง ๆ ไว้บนตำราศาสนา ตำราฟิกฮ์ ตำราอะกีดะฮ์ ตำราตัฟซีรต่าง ๆ ? หรือไม่ก็การวางตำราศาสนาซ้อนกัน? คำตอบ: มวลการสรรญเสริญเป็นของอัลเลาะฮฺ ไม่มีข้อถกเถียงใด ๆ ในการวางหนังสือศาสนาบางส่วนของมันไว้ข้างบนอีกบางส่วน แต่ห้ามวางมันไว้บนมุศฮัฟ (คัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นเล่ม) ท่านอัลฮะกีม อัตติรมิซีย์ เราะฮิมะฮุลเลาะฮฺกล่าวว่า : และส่วนหนึ่งจากข้อห้ามของมุศฮัฟ ก็คือ เมื่อมันถูกวางก็อย่าได้เปิดมันทิ้งเอาไว้ และอย่าได้เอาหนังสือเล่มอื่นวางเหนือมัน จนกว่ามันจะอยู่เหนือหนังสือทั้งหลายแหล่ (นะวาดิร อัลอุซูล เล่ม 3 / 254) และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะวางหนังสืออื่นจากหนังสือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้ทางวัฒนธรรมทั้งหลาย หรืออื่นจากนี้ ไว้เหนือหนังสือศาสนา เช่นเดียวกับที่ไม่ควรวางสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะ เสื้อผ้า อาหาร หรือสิ่งอื่นจากนี้ไว้บนหนังสือศาสนา เพื่อเป็นการให้เกียรติสิ่งที่อยู่ในหนังสือ ทั้งจากการรำลึกถึงอัลเลาะฮฺ และความรู้ทางด้านศาสนา ท่านอัลฮัยตะมีย์ เราะฮิมะฮุลเลาะฮฺ กล่าวว่า : ท่านอัลบัยฮะกีย์ กล่าวไว้ เช่นเดียวกับท่านอัลฮะลีมีย์ ว่า: […]

กองบรรณาธิการ

05/06/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (16) : ตอบโต้การแก้เกี้ยวเรื่องชัยคฺมุนัจญิดกรณีบิกแบง

เราได้เคยโพสต์จุดยืนของเชคมุนัดญิดเรื่องบิกแบงไปแล้ว (ตอนที่ 4) แนะนำว่าก่อนจะอ่านบทความนี้ไปอ่านตามลิงค์ข้างบนให้หมด ผู้คัดค้านบิกแบงอ้างว่าชัยคฺมุนัจญิดไม่เอาบิกแบงเพียงเพราะไปอ้างคำพูดทื่อๆ มาที่ตนอ่านไม่เข้าใจมานำเสนอดังนี้ “บิกแบงตามที่พวกเขาอ้างกันมันทำให้เกิดจักรวาลที่เป็นระเบียบตามวิธีการนี้ได้ด้วยหรือ หรือเป็นไปได้ไหมว่าแรงระเบิดจะทำให้พิมพ์บทกลอนออกมาได้ อย่างนั้นหรือ มันเป็นไปไม่ได้แน่นอนที่จะก่อเกิดความเป็นระเบียบที่สัมพันกันแบบนี้” هل يوجد هذا الانفجار العظيم كما يقولون كونًا مرتبًا بهذه الطريقة؟ وهل يمكن أن يوجد انفجار في مطبعة قصيدة؟ لا يمكن، بهذا الترتيب؟ بهذا التنسيق วิพากษ์ เราได้เสนอไปในบทความก่อนแล้วว่า หนึ่ง ชัยคฺมุนัจญิดขึ้นต้นข้อบรรยายของท่านมาด้วยหัวข้อว่า ความมหัศจรรย์ตลอดกาลของอัลกุรอาน معجزة القرآن الخالدة จากนั้นก็ยกเรื่องบิกแบงมากล่าวต่อ ถามว่าแบบนี้ชัยคฺมุนัดญิดยังไม่ได้รับรองอีกหรืออย่างไร แค่เล่าเฉยๆ หามิได้นี่คือการแก้ตัวที่น่าเวทนามาก สอง หลังจากชัยคฺมุนัจญิดเล่าให้ฟังว่าพวกกาฟิรค้นพบบิกแบงแล้ว ชัยคฺก็ได้กล่าวว่า هذا عين ما في القرآن “และนี่คือสาระที่อยู่ในอัลกุรอาน” […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (15) : ตอบโต้การแก้เกี้ยวใส่คำพูดสะลัฟเรื่อง กานะตา ชัยอัน วาฮิดัน มุลตะซิก่อตัยนิ (ฟ้ากับแผ่นดินได้เคยรวมติดเป็นสิ่งเดียวกัน)

หลังจากที่เราได้เสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในลิงค์นี้ (ตอนที่ 12) ก็ปรากฏว่าครูกลอนสยามได้ออกมาแถอีกตามเคยด้วยข้ออ้างดังนี้ ข้ออ้างแรก : คำว่า “คนไทยหัวใจดวงเดียว” การใช้คำนี้ไม่ได้แปลว่า หัวใจคนไทยหลอมละลายรวมกันทางกายภาพ ตอบ หากอ้างประโยคนี้เพื่อจะมาทำลายคำอธิบายของเราแล้วไซร้ เราขอถามว่าท่านไม่อ้างต่อล่ะว่า คำว่า “คนไทยหัวใจดวงเดียว” ก็ไม่ได้ให้ความหมายว่า หัวใจที่เป็นอวัยวะในร่างกายของคนไทยมาติดแนบกันเหมือนกระดาษติดกับลูกบอล!! เออสรุปแล้วยกประโยคนี้มาจะเอาอะไรผมยังไม่เข้าใจเลยครับ ข้ออ้างที่สอง : ผู้คัดค้านยกภาษาอาหรับประโยคหนึ่งที่ระบุว่า لَئِنْ عِشْتُ إِلَى هَذَا الْعَامِ الْمُقْبِلِ لَأُلْحِقَنَّ آخِرَ النَّاسِ بِأَوَّلِهِمْ حَتَّى يَكُونُوا شَيْئًا وَاحِدًا» ซึ่งผู้คัดค้านให้ความหมายว่า ท่านอุมัร กล่าวว่า “หากฉันมีชีวิตอยู่ถึงปีหน้า ฉันจะให้คนมาทีหลังและคนมาก่อนได้เท่าๆ กัน” ให้สังเกตุคำว่า “ฮัตตายะกูนู ชัยอันวาฮิดัน” แปลตรงๆ ได้ว่า “จนกว่าพวกเขาจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน” อันนี้คือแปลตรงๆ สำนวนนี้ไม่แตกต่างจากสำนวนในตัฟสีรของท่านอิหม่ามบะฆ่อวีที่ใช้ว่า “กานะตา ชัยอัน วาฮิดัน” หากตรงนี้ดึงดันจะแปลให้ได้ว่าหมายถึง “หลอมละลายรวมกันเป็นหนึ่ง” รายงานจากท่านอุมัรก็ต้องดึงดันแปลให้ได้ว่าหมายถึงท่านอุมัรจะจับคนทั้งหลายมาหลอมละลายให้กลายเป็นคนเดียว ส่วนวิธีใดนั้นคงต้องตีความกันต่อว่าจะใช้หม้อต้มดี […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (14) : ตอบโต้การดิสเครดิสต์และแก้เกี้ยวต่อข้อเขียนของชัยคฺอบูอัยมันและอิมามบัยฎอวีย์

หลังจากที่เราได้นำเสนอบทความของชัยคฺอบูอัยมัน อัสสะละฟีและท่านอิมามบัยฎอวีย์ย์ตรงนี้ (ตอนที่ 11) ก็ปรากฏว่าผู้คัดค้านเรื่องบิกแบงเจ้าเดิมได้ออกมาคัดค้านตามสไตล์การแถไถแบบเดิมๆ ดังนี้ กรณีชัยคฺอบูอัยมัน ประเด็นที่หนึ่ง อ้างว่าเชคอบูอัยมันเป็นแค่คนเล่นเว็บบอร์ดทั่วๆ ไป ตอบ นี่เป็นการดูถูกนักวิชาการที่น่าเกลียดที่สุด เราได้เสนอไปแล้วว่า ชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์ นั้นเป็นนักวิชาการที่ได้ถูกตัซกียะฮฺรับรองจากนักวิชาการสะละฟีย์อาวุโสอีกท่านคือท่านชัยคฺวาลิดหะซันบินอับดิลวะฮฺฮาบ อัลบันนา ฟังไฟล์เสียง : คลิก  ซึ่งปัจจุบันตัวท่านทำหน้าที่สอนวิชาอะกีดะฮฺแก่พี่น้องสะละฟีย์ในประเทศอียิปต์ไม่ใช่คนธรรมดาๆ แต่อย่างใด ประเด็นที่สอง : ผู้คัดค้านถามมาว่า ในเว็ปซะฮาบที่เราอ้างงานเขียนของชัยคฺอบูอัยมันมา มีคำฟัวาของเชคเฟาซานที่ค้านกับเรื่องนี้อยู่แล้ว ทำไมทางเราถึงไม่อ้างเชคเฟาซานบ้างในเมื่อเชคเฟาซานมีความรู้มากกว่า ตอบ การที่เราไม่อ้างชัยคฺเฟาซานในเรื่องนี้มา เพราะความเห็นและฟัตวาของชัยคฺเฟาซานในเรื่องวิทยาศาสตร์นี้สวนทางกับความเห็นของนักวิชาการท่านอื่นอย่างชัยคฺอุษัยมีนและชัยคฺศอลิฮฺ อาลเชค ชัยคฺเฟาซานนั้นคัดค้านการอธิบายอัลกุรอานด้วยวิทยาศาสตร์ทุกกรณี ซึ่งเราเห็นว่าไม่ถูกต้องและค้านกับความเห็นของชัยคฺอุษัยมีน น่าแปลกว่ามีแต่คนคัดค้านบิกแบงเองยังเคยป่าวประกาศว่าตนเองไม่ได้ปฏิเสธการอธิบายอัลกุรอานด้วยวิทยาศาสตร์ที่เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่ไปๆ มาๆ พอจะแย้งคนอื่นกลับขัดแข้งขัดขาตนเอง ยกชัยคฺเฟาซานที่ค้านกับคำพูดตนเองมานำเสนอ ผมต้องถามท่านมากกว่าท่านจะเอาอะไรกันแน่? ประเด็นที่สาม ชัยคฺอบูอัยมันยังได้เขียนในบทความว่าคำพูดของสะลัฟนั้นตรงกันกับทฤษฎีเนบิวล่า ซึ่งกิบารได้คัดค้านเรื่องนี้ไว้ ตอบ เรายกคำพูดชัยคฺมาในเรื่องบิกแบงนะครับ เรายังไม่ได้คุยเรื่องเนบิวล่า และเราก็ได้เขียนชี้แจงไปแล้วว่าทฤษฎีเนบิวล่าเป็นคนละเรื่องกับบิกแบงและเราก็ได้เขียนไปแล้วว่ากิบารได้ตำหนิว่าแนวคิดเรื่องเนบิวล่าเนคนละเรื่องกับเนื้อหาในซูเราะฮฺอัลอัมบิยาอ์ อ่านได้ที่ (ตอนที่ 7) ประเด็นที่สี่ : ผู้คัดค้านกล่าวหาเราอีกตามเคยว่า อ้างเวปซะฮาบเฉพาะที่ถูกใจ ตอบ […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (13) : คำอธิบายของท่านอัลลามะฮฺมุญีรุดดีน อัลอุลัยมีย์ อัลฮัมบะลีย์ที่ระบุว่าโลกกับชั้นฟ้าเคยรวมเป็นสิ่งเดียวกัน

ผู้ที่คัดค้านเรื่องบิกแบง พยายามจะปฏิเสธความจริงที่ว่า มีนักวิชาการตัฟซีรจำนวนหนึ่งได้อธิบายโองการที่ว่าฟ้ากับแผ่นดินเคยติดกันว่าหมายถึง เคยหลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งในบทนี้เราจะขอนำเสนอนักวิชาการที่มีคำอธิบายในทำนองนี้ ท่านอัลลามะฮฺมุญีรุดดีน อัลอุลัยมีย์ อัลฮัมบะลีย์ ได้อธิบายว่า {أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا} قرأ ابن كثير: (أَلَمْ) بغير واو كما هي في المصحف المكي، وقرأ الباقون: بواو قبل اللام كما هي في مصاحفهم (2)، المعنى: ألم يعلم الكافرون. {أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا} أي: جنساهما. {رَتْقًا} شيئًا واحدًا، والرتق: هو الضم والالتحام. {فَفَتَقْنَاهُمَا} فصلنا بينهما بالهواء، […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (12) : ตอบโต้คำแก้เกี้ยวที่มีต่อตัฟซีรบะเฆาะวีย์กรณีบิกแบง

หลังจากที่เราได้เขียนบทความยืนยันเรื่องความสอดคล้องระหว่างบิกแบงกับอัลกุรอานในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 11) ก็ปรากฏว่าฝ่ายคัดค้านได้ออกมาคัดค้านเราอีกตามเคย โดยรอบนี้ได้ออกมาแก้เกี้ยวกับคำพูดอิมามอัลบะเฆาะวีย์ซึ่งเราจะขอแยกประเด็นตอบโต้ดังต่อไปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง ผู้คัดค้านอ้างว่า คำว่า شَيْئًا وَاحِدًا مُلْتَزِقَتَيْنِ ““ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกันโดยติดกันอยู่”” ในคำตัฟซีรนั้น หมายถึง ฟ้าและโลกในสภาพเสร็จสมบูรณ์แล้วได้แนบติดกันเฉย ๆ ไม่ใช่ ไม่ใช่หลอมรวมกันแต่อย่างใด โดยผู้คัดค้านอ้างว่าเนื่องจากมีคำขยายว่า “มุลตะซิก่อตัยนิ” ซึ่งคำนี้ในภาษาอาหรับมิได้หมายถึงการหลอมรวมแต่หมายถึง การติดกันเฉย ๆ วิพากษ์ ข้อแรก คำว่า มุลตะซิก่อตัยนิ ในภาษาอาหรับเราทราบดีครับว่า มันหมายถึงการติดแนบ เช่นปากกาติดชิดกับดินสอ อย่างไรก็ตามคำๆ นี้ มันไม่ได้ถูกใช้ในประโยคนี้เดี่ยวๆ นะครับ แต่มันใช้ขยายคำว่า “ชัยอันวาฮิดัน” ที่แปลว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นการตีมึนโดยยกตัวอย่างภาษาอาหรับในกรณีอื่นมาเทียบงใช้คำว่า “มุลตะซิก่อตัยนิ” แต่เพียงลำพังจึงเป็นการอธิบายทางภาษาที่มั่วนิ่มและคนละกรณีครับ การพูดว่า “น้ำส้มกับน้ำเปล่าถูกเทลงในแก้วจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันที่ติดกัน” กับ “ปากกาและดินสอถูกวางติดกัน” สองประโยคนี้ให้ความหมายคนละอย่าง ประโยคแรกให้ความหมายในเชิงผสมเพราะมีคำว่า “กลายเป็นสิ่งเดียวกันที่ติดกัน” ส่วนตัวอย่างที่สองให้ความหมายว่าติดกันเฉยๆ ซึ่งการอยู่ติดกันของดินสอและปากกาไม่น่าจะเรียกว่าสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นตัวอย่างภาษาอาหรับทั้ง 6 ตัวอย่างที่ผู้คัดค้านยกมาเสนอเป็นตัวอย่างการใช้คำว่า “อิลตะซ่าก่อ” ในประโยคต่างๆ แบบเดี่ยวๆ ไม่ได้ใช้ขยายคำใดที่มีความหมายว่า […]

กองบรรณาธิการ

01/03/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (11) : คำยืนยันของชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์ (นักวิชาการสะละฟีย์) ถึงความสอดคล้องกันระหว่างอัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

พี่น้องนักวิชาการที่เคยผ่านการติดตามผลงานทางวิชาการของโลกสะละฟีย์ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงจะเคยผ่านการอ่านบทความที่อยู่ในเว็ปไซต์ www.sahab.net ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเว็ปสะละฟัย์ที่โด่งดังที่สุดเว็ปหนึ่งและได้รับการรับรองจากนักวิชาการหลายๆ ท่าน เช่น ท่านชัยคฺเราะบีอฺ อัลมัดเคาะลีย์เป็นต้น ในเว็ปไซต์ดังกล่าวปรากฏบทความชื่อว่า ذَهَابُ السُّهَادِ لِبَيَانِ خَلْقِ سَبْعِ أَرَضِينَ كَالسَّمَاوَاتِ ซึ่งบทความดังกล่าวนี้เขียนโดยท่านชัยคฺอบูมัรยัมอัยมัน อัลอาบิดีนีย์โดยที่ตัวท่านชัยคฺนั้นได้ถูกตัซกียะฮฺรับรองจากนักวิชาการสะละฟีย์อาวุโสอีกท่านคือท่านชัยคฺวาลิด หะซัน บินอับดิลวะฮฺฮาบ อัลบันนา ฟังไฟล์เสียง : คลิก ในบทความของท่านชัยคฺ ท่านชัยคฺได้ยกอายะฮฺอัลกุรอานที่ว่า قَالَ تَعَالَى:{ أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاءِ كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ }[الْأَنْبِيَاءِ:30]، และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นแต่ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเราได้แยกมันทั้งสองออกจากกัน และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ (21:30) หลังจากนั้นท่านชัยคฺก็ได้นำเสนอคำตัฟซีรของสะลัฟมาที่มีความหมายในทิศทางใกล้กัน แล้วท่านก็ยกคำพูดของท่านซะอี้ด […]

กองบรรณาธิการ

28/02/2561

อัลกุรอานกับทฤษฎีบิกแบง (10) : ตอบโต้การดิสต์เครดิคต่อชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวีช

หลังจากที่เราได้เขียนบทความชี้แจงไปแล้วในลิงค์ข้างล่างนี้ (ควรอ่านให้หมดสำหรับคนมาใหม่) ว่าชัยคฺซุฮัยรฺ ชาวีชได้เขียนอธิบายว่าบิกแบงมีเนื้อหาที่สอดรับกับอัลกุรอาน (ตอนที่ 3) ปรากฏว่ามีคนออกมาใช้ไม้เดิม ๆ คือดิสต์เครดิตว่าเชคซุเฮร ชาวีช เชื่อถือไม่ได้ ไม่ใช่นักวิชาการซึ่งเราสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ตามประเด็นต่อไปนี้ ข้ออ้างที่ 1 : ชัยคฺซุเฮร ไม่มีความรู้อะไรเลยในสายตาของชัยคฺอัลบานีย์ เพราะมีคำพูดที่ชัยคฺอัลบานีย์เคยตำหนิชัยคฺซุเฮรอย่างรุนแรง วิพากษ์ คำพูดดังกล่าวเป็นคำพูดที่ดูถูกนักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคนที่เคยผ่านการอ่านหนังสือศาสนาภาษาอาหรับย่อมทราบดีว่า ชัยคฺซุเฮรชาวีช มีผลงานด้านวิชาการศาสนาในการตีพิมพ์หนังสืออะกีดะฮฺร่วมกับเชคอัลบานีย์มาก็หลายเล่ม หากชัยคฺซุเฮร ชาวีชเป็นเด็กกะโปโลในสายตาชัยคฺอัลบานีย์จริง จะเป็นไปได้หรือที่ชัยคฺอัลบานีย์จะนั่งร่วมจัดทำหนังสือกับเชคซุเฮรหลากหลายเล่ม โดยให้ชัยคฺซุเฮรอยู่ในฐานะมุฮักกิกหนังสือซึ่งหน้าที่เหล่านี้เป็นหน้าที่ของอุละมาอ์ที่เชี่ยวชาญด้านการตีพิมพ์ตำราและวิชาการในตำราที่จะตีพิมพ์ คล้ายๆ กับกองบรรณาธิการในวารสารวิชาการนั่นแหละจะเอาเด็กกะโปโลที่ไหนไปนั่งตำแหน่งกองบรรณาธิการได้เล่า แล้วนี่ระดับมุฮักกิกหนังสือนั้นคนมีความรู้เขาทราบกันดีว่าต้องอาศัยความรู้ในการทำยิ่งกว่าบรรณาธิการวารสารเสียอีก สิ่งที่ผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนก็คือ ชัยคฺอัลบานีย์นั้นได้ร่วมงานช่วยเหลือการเผยแพร่ดะอฺวะฮฺแนวทางสะลัฟกับชัยคฺซุเฮร ชาวีชมาเป็นช่วงเวลานาน แต่ได้เกิดการขัดแย้งและพิพาทอย่างรุนแรงขึ้นในภายหลัง (จะด้วยกับเหตุผลอะไรก็ตามแต่ นั่นเป็นอีกประเด็นนึงที่จะต้องไม่ลากมาโยงกับเรื่องบิกแบงเพราะตอนเขียนเรื่องบิกแบงยังทำงานด้วยกันอยู่) ชัยคฺชาวีชนั้นเดิมทีเป็นผู้ที่ฝักใฝ่แนวทางอิควานแต่เพราะความใกล้ชิดที่มีต่อัยคฺอัลบานีย์และการศึกษาในมหาวิทยาลัยมะดีนะฮฺ เลยทำให้ท่านน้อมรับในการเผยแพร่ของแนวทางสะละฟีย์ ชัยคฺอัลบานีย์ได้กล่าวถึงเชคซุเฮร ชาวีชว่า ه أن كثيرا من إخواننا الإخوان المسلمين تلقوا الدعوة السلفية بكل فرح وسرور ولسنا بحاجة […]

กองบรรณาธิการ

25/02/2561
1 2 3