ความหมายของประเด็นอิจติฮาด

ประเด็นเรื่องการเห็นต่างในศาสนาแบ่งออกเป็น สองประเภท คือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาตให้เห็นต่างได้ และประเด็นที่ไม่อนุญาตให้เห็นต่าง และสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือ ประเด็นที่ศาสนาอนุญาติให้เห็นต่างได้ โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการ “อิจติฮาด” (ย้ำไม่ใช่ประเด็นคิลาฟียะห์ที่บรรดาอุละมาอ์ไม่รับพิจารณา หรือ ที่เรียกว่า คิลาฟฎออีฟ) ซึ่งในภาษาอาหรับอุละมาอ์ใช้คำว่า “คิลาฟ ซาอิฆ” หรือ “คิลาฟกอวีย์” หรือ “คิลาฟมุอฺตะบัร” และผมจะพยายามเขียนให้สั้นๆ เพื่อพี่น้องจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ อินชาอัลลอฮ และความหมายของประเด็นอิจติฮาดนั้น ท่านชัยคฺ ดร. สุไลมาน อัรรุฮัยลีย์ (ท่านเป็นอุละมาอ์สะละฟีย์ ในยุคปัจจุบัน นักเรียนมะดีนะห์ หรือ คนที่จบมาจากมหาลัยมะดีนะห์ คงรู้จักกันดี โดยท่านได้สอนอยู่ที่มัสยิดนบี) ฮะฟิเศาะฮุ้ลลอฮ ได้อธิบายเอาไว้ว่า : المسألةُ الاجتِهاديَّة: هي الَّتي تتقاربُ فيها الأدِلَّة، يعني يكون لكُلِّ قول دليل لهُ قُوَّة؛ فتتقاربُ الأدِلَّة، حتَّى […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561

การเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท และท่าทีของชาวสะลัฟที่มีต่อผู้เห็นต่าง

เรายอมรับหรือไม่ว่าในศาสนามีเรื่องเห็นต่าง? ถ้ายอมรับว่ามี แล้วการเห็นต่างในศาสนามีกี่ประเภท? และคำตอบคือ มี สองประเภท คือ : หนึ่ง : เรื่องที่ศาสนาไม่อนุญาตให้เห็นต่างได้ (خلاف غير سائغ ) นั่นก็คือ เรื่องที่เป็นอุศู้ลของศาสนา เป็นเรื่องอะกีดะฮฺหลักความเชื่อ เป็นเรื่องที่มีอิจมาอ์ (มติเอกฉันท์) ที่ถูกต้องยืนยันเอาไว้ ซึ่ง การเห็นต่างนี้จะใช้ชี้วัดว่า ใครหลงผิด หรือ ไม่หลงผิด สอง : เรื่องที่ศาสนาอนุญาตให้มีการเห็นต่างได้ (خلاف سائغ ) เช่น ในเรื่องปลีกย่อย เรื่องที่ไม่มีอิจมาอ์มายืนยัน เรื่องที่ชาวสะลัฟมีการเห็นต่าง หรือเรื่องที่เป็นการอิจติฮาด (การวินิจฉัยของปราชญ์) ซึ่งมีหลักฐานชุดเดียวกัน คือ ต่างมีหลักฐานทั้งคู่แต่ได้ข้อสรุปต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้ บรรดาชาวสะลัฟฟุศอและฮฺตลอดจนอุละมาอ์สะละฟีย์ในยุคปัจจุบันจะไม่เอาเป็นเอาตายกัน และจะไม่เอาเรื่องนี้มาตัดสินอีกฝ่ายว่าหลงผิด ไม่ยอมยืนหยัด หรือ ไม่ใช่อะลิสซุนนะห์ หรือ ดูถูกเหน็บแนมกัน ส่วนตัวอย่างจากชาวสะลัฟมีมากมายถ้ามีโอกาสจะนำมาเสนอกัน อินชาอัลลอฮ ผมเชื่อว่าหลายคนพอจะรู้และเข้าใจในประเด็นนี้กันดีอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่าการปฏิบัติของเรา การวางตัว การมีท่าทีของเรา […]

อักรอม ชาจิตตะ

09/12/2561

เมื่อโดนใส่ไคล้ว่าทำลายความน่าเชื่อถือของเศาะฮาบะฮ์ ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วอธรรมใส่คนอื่น

ในศาสตร์ของหะดีษนั้น เป็นเรื่องปกติที่นักวิชาการจะมีการขัดแย้งกันว่า บุคคลหรือผู้รายงานบางท่านจะมีสถานะเป็นเศาะฮาบะฮฺหรือไม่ เช่น กรณีของ ฮิจรฺ บินอะดีย์ ที่นักวิชาการขัดแย้งกันว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮฺหรือเป็นตาบิอีน โดยปราชญ์ส่วนมากถือว่าเขาคือตาบิอีน การที่เรานำเสนอทัศนะทั้งหมดว่า นักวิชาการมีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับผู้รายงานแบบนี้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจถึงมุมต่างของนักหะดีษในการออกผลสรุปที่แตกต่างกันของประเด็นหนึ่ง ๆ ในทางวิชาการไม่มีใครเขาเรียกว่าเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของบรรดาสาวก นี่เป็นการสร้างมาตรฐานผิดๆ ของนักสอนศาสนาบางคน ถ้าใช้ตรรกะแบบนี้ สงสัยบุคคลที่ปราชญ์เขาขัดแย้งกันว่าเป็นนบีหรือไม่ เช่น นบีคอดิร แล้วถ้าเราเสนอทัศนะว่ามีนักวิชาการมีความเห็นว่าท่านมิใช่นบี แบบนี้เราไม่กล่าวหาคนว่าลดเกียรตินบีหรอกหรือ วัลอิยาสุบิลละฮฺ นี่คือมาตรฐานผิด ๆ ของนักบรรยายบางคน ผมเคยบรรยายไปในครั้งหนึ่งว่า หะดีษที่สาวกท่านหนึ่ง (ท่านฏอริก) หุกุ่มกุนูตว่าเป็นบิดอะฮฺนั้น ในทางปฏิบัติยังอาจมีนักวิชาการบางท่านไม่รับหะดีษนั้นเป็นหลักฐานเพราะไม่คิดว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮฺ เมื่อไม่ใช่เศาะฮาบะฮฺนักวิชาการที่เห็นแบบนี้ก็ย่อมมองว่าใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ ที่ผมพูดแบบนี้เพราะมีคนบรรยายบางคนไปหลุดปากพูดว่าหะดีษบทนี้นักวิชาการ “ทุกคน” เห็นพ้องว่าเศาะฮีฮฺ อีกทั้งผมต้องการนำเสนอให้ผู้ฟังทราบถึงข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่าย ส่วนในการให้นำหนัก ผมก็พูดชัดเจนว่าเขาคือสาวกนบี และที่ท่านเคาะฏีบค้านเรื่องนี้นั้นไม่มีน้ำหนัก ฉะนั้นในมุมมองของเราหะดีษบทนี้จึงถูกต้อง แต่บางคนไม่รู้สับสนอะไร ออกมาโต้แย้งเราแบบหลงประเด็นโต้ลม 1. กล่าวหาเราว่าทำลายความน่าเชื่อถือของเศาะฮาบะฮฺ ทั้งที่เราเองให้น้ำหนักว่าเขาคือ เศาะฮาบะฮฺ ตกลงการที่ท่านเคาะฏีบสงสัยในการเป็นสาวกของเขา ท่านไม่กล่าวหาท่านเคาะฏีบเลยล่ะว่าทำลายฐานะเศาะฮาบะฮฺ 2. เราเสนอความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักวิชาการ เพื่อให้ทราบว่าทำไมนักวิชาการบางท่านไม่รับหะดีษบทนี้ แต่กลายเป็นว่าแบบนี้ คือการทำลายสาวก นี่คือการสร้างมาตรฐานผิดๆ ในโลกวิชาการ […]

อามีน ลอนา

04/11/2561

ข้อกำหนด (หุกม์) ของการ “ตักลีด” และเงื่อนไขของมุจญ์ตะฮิด

คำถาม : ผมได้ยินท่านชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน กล่าวในเทปบรรยายแรกจาก การอธิบายหนังสือ “ซาดุ้ลมุสตัฆนิอฺ” ว่า การตักลีด (เลียนแบบตามผู้รู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งในศาสนา ผู้แปล) เป็นที่ต้องห้าม ไม่อนุญาติให้คนหนึ่งคนใดปฏิบัติโดยปราศจากหลักฐาน และบรรดาผู้รู้ไม่ได้เรียกคนที่เลียนแบบตามผู้อื่นว่าเป็นผู้รู้ และผมมีคำถามจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมหวังว่าชัยคฺจะตอบมันทีละคำถามก็คือ ที่ชัยคฺ (อุษัยมีน) หมายถึง คือ การตักลีดเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาอย่างเดียวใช่ไหมครับ หรือว่าสำหรับคนทั่วไปด้วย? และถ้าหากว่ามันเป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักศึกษาศาสนาและคนทั่วไป แล้วคนทั่วไปจะรู้จักหลักฐานได้อย่างไรละครับ และอะไรคือความแตกต่างระหว่างคนทั่วไปและนักศึกษาศาสนา? และผมหวัง (คำแนะนำ) จากชัยคฺว่า อะไรคือแนวทางที่นักศึกษาศาสนาควรปฏิบัติเพื่อออกห่างจากการตักลีด คือ เขาจะต้องท่องจำอัลกุรอาน และตัวบทฮะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวกับฮูก่มข้อตัดสิน เป็นต้น หรือว่าเขาจะต้องทำอะไรดีครับ? และคำถามสุดท้ายของผม ซึ่งมันสำคัญสำหรับผมมาก ผมขอความกรุณาให้ชัยคฺช่วยตอบคำถามอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยครับคือ ผมจะทำอย่างไรดีครับ ถ้าหากว่าผมฟังเทปบรรยายเกี่ยวกับฟิกฮฺ หรือฟังผู้บรรยายคนหนึ่ง หรืออะไรก็ตาม อาทิ เช่น เทปบรรยายหนังสือ “อัคศอรุ้ล มุคตะศอรอต” ของท่านชัยคฺซอลิฮ์ เฟาซาน ตัวอย่างเช่น ขณะที่ชัยคฺกล่าวว่า : “มีซุนนะห์ ขณะลุกขึ้นมาจากสุญูด ให้เอามือทั้งสองค้ำยันไปบนหัวเข่าทั้งสองข้าง” […]

กองบรรณาธิการ

17/09/2561

ส่งเสริมให้ถือศีลอด 8 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮ์และวันอะเราะฟะฮ์

❝ปวงปราชญ์ด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุเกาะฮาอ์) มีทรรศนะเห็นพ้องกัน (อิตติฟาก) ว่าส่งเสริม (มุสตะหับ) ให้ถือศีลอด 8 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮ์ก่อนวันอะเราะฟะฮ์ ทั้งนี้ จากอับดุลลอฮ์ อิบนุอับบาส รายงานว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮ์ ﷺ ได้กล่าวว่า: ‘ไม่มีวันใดอีกแล้วที่การทำกิจกรรมที่ดีจะเป็นที่รักของอัลลอฮ์ยิ่งไปกว่าในวันเหล่านี้’ −ท่านหมายถึงวันทั้งสิบ (แรกของเดือนซุลหิจญะฮ์)– บรรดาเศาะหาบะฮ์ถามว่า: ‘โอ้เราะสูลุลลอฮ์ แม้แต่ญิฮาดในวิถีทางของอัลลอฮ์ก็ไม่อาจเทียบได้กระนั้นหรือ ?’ ท่านตอบว่า: ‘แม้แต่ญิฮาดในวิถีทางของอัลลอฮ์ก็ไม่อาจเทียบได้ เว้นแต่ชายคนหนึ่งเขาได้ออกไปรบโดยพาชีวิตและทรัพย์สินของเขาออกไป แล้วเขาก็ไม่ได้กลับคืนมาเลยสักสิ่งหนึ่งจากนั้น (ไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือทรัพย์สินก็ตาม คนนี้เท่านั้นที่จะมีฐานะเหนือกว่า)’❞ [กระทรวงสาธารณสมบัติและกิจการอิสลาม, “อัลเมาสูอะฮ์ อัลฟิกฮียะฮ์,” 45 เล่ม, (คูเวต: กระทรวงสาธารณสมบัติและกิจการอิสลาม, ฮ.ศ. 1413 / ค.ศ. 1993), เล่ม 28: หน้า 91.] อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี ได้กล่าวว่า: ❝หะดีษนี้ถูกนำมาอ้างอิงหลักฐานยืนยันถึงความประเสริฐของการถือศีลอด 10 วันของเดือนซุลหิจญะฮ์เนื่องจากการถือศีลอดได้ครอบคลุมอยู่ในการกระทำความดีงาม❞ [อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานี, “ฟัตหุลบารี […]

Om Omar Muktar

12/08/2561

“รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล

“รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล ในอียิปต์ก็มีเรื่องทำนองนี้ คือ เรียกวันออกบวช 6 ว่า ‘อีดิลอับรอร’ โดยผู้คนจะไปรวมตัวกันที่มัสญิดอัลหุสัยน์ หรือมัสญิดซัยนับ แล้วก็มีการกลับไปทำอาหารพิเศษ เช่น ข้าวหุงกับนมรับประทานกันที่บ้าน โดยชัยค์มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และท่านเรียกอีดนี้ว่า ‘อีดิลฟุจญาร’ คือ อีดของคนชั่ว ไม่ใช่ ‘อีดิลอับรอร’ คือ อีดของคนดี [ดูเพิ่มเติมได้ที่ มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี, อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาตฯ, (ไคโร: ดารุลกิตาบ วัสสุนนะฮ์, 2010), น. 186.] ❝ส่วนการยึดถือเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด (นำมาสมโภชเฉลิมฉลอง) –นอกเหนือไปจากเทศกาลที่มีระบุไว้ตามศาสนบัญญัติ– เช่น บางคืนของเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกกันว่า ‘คืนเมาลิด’ หรือบางคืนของเดือนเราะญับ หรือวันที่ […]

Om Omar Muktar

17/06/2561

การถือศีลอดกิจอาสาสำหรับผู้ที่ยังติดค้างการถือศีลอดชดใช้เดือนเราะมะฎอน

การถือศีลอดกิจอาสาสำหรับผู้ที่ยังติดค้างการถือศีลอดชดใช้เดือนเราะมะฎอน   “บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหุกม์ของการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ก่อนจะมีการชดใช้ (เกาะฎออ์) ศีลอดเราะมะฎอนให้แล้วเสร็จ โดยที่มัซฮับอัลหะนะฟียะฮ์ถือว่าอนุญาต (ญะวาซ) ให้ถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) อย่างไม่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) แต่อย่างใด เพราะการชดใช้ศีลอดเราะมะฎอนไม่ได้ถูกบังคับให้กระทำโดยทันที . . . ขณะที่มัซฮับอัลมาลิกียะฮ์และอัชชาฟิอียะฮ์ ถือว่าอนุญาต (ญะวาซ) แต่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) เพราะเท่ากับว่าเป็นการละทิ้งสิ่งที่เป็นวาญิบไว้เบื้องหลัง (แทนที่จะจัดการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะทำในสิ่งที่เป็นตะเฏาวุอ์) อัดดุสูกี กล่าวว่า: ‘เป็นการน่ารังเกียจที่จะถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) สำหรับผู้ที่ยังมีศีลอดวาญิบค้างอยู่ เช่น ศีลอดเนื่องจากการบนบาน (นะซัร) ศีลอดที่ค้างอยู่ (เกาะฎออ์) และศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ ไม่ว่าการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ที่เขาจะถือปฏิบัติก่อนที่จะมีการถือศีลอดวาญิบนั้นจะเป็นสุนนะฮ์ไม่มุอักกะดะฮ์หรือสุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์ เช่นการถือศีลอดวันอาชูรออ์ และวันที่ 9 ของเดือนซุลหิจญะฮ์ (วันอะเราะฟะฮ์) ก็ตาม ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า (รอญิห์)’ ส่วนมัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ ถือว่าเป็นบาปที่จะถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) ก่อนที่จะมีการชดใช้ (เกาะฎออ์) ศีลอดเราะมะฎอนให้แล้วเสร็จ และถือว่าการถือศีลอดที่เป็นกิจอาสา (ตะเฏาวุอ์) […]

Om Omar Muktar

17/06/2561

ศาสนามีข้อกำหนด (หุกม์) อย่างไรเกี่ยวกับการรับชมการแข่งขันกีฬา?

๏ คำถามที่สองจากคำวินิจฉัย (ฟัตวา) เลขที่ 18951 คำถาม: ศาสนามีข้อกำหนด (หุกม์) อย่างไรเกี่ยวกับการรับชมการแข่งขันกีฬา อาทิ การแข่งขันฟุตบอลโลก หรือกีฬาประเภทอื่น ๆ ? คำตอบ: การแข่งขันฟุตบอลเพื่อแลกกับเงินหรือรางวัลนั้น ถือเป็นการกระทำที่ต้องห้าม (หะรอม) เนื่องจากการพฤติกรรมดังกล่าวคือการพนัน และเนื่องจากบทบัญญัติศาสนาไม่อนุญาตให้รับค่าตอบแทนจากการเข้าแข่งขันใด ๆ เว้นแต่ในกรณีการแข่งขันนั้นอยู่ในชนิดที่ศาสนบัญญัติได้อนุมัติให้จัดขึ้นเท่านั้น ได้แก่ การแข่งม้า, แข่งอูฐ และแข่งยิงธนู ด้วยเหตุนี้การเข้าร่วมในการแข่งขันดังกล่าวในตอนต้นจึงเป็นสิ่งต้องห้าม นอกจากนั้นการรับชมการแข่งขัน สำหรับผู้ที่ทราบว่าการแข่งขันที่กำลังรับชมนั้นคือการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีค่าตอบแทนเป็นเงื่อนไข (พนัน) ก็ถือเป็นเรื่องต้องห้ามด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เหตุที่นับว่าการเข้าร่วมแข่งขันเป็นเรื่องต้องห้ามด้วยนั้น อันเนื่องมาจากการที่เขานำตัวเข้าไปร่วมในกิจกรรมดังกล่าวก็เท่ากับว่าเขายอมรับในกิจกรรมนั้น ๆ ด้วยนั่นเอง ส่วนในกรณีที่การแข่งขันจัดขึ้นโดยไม่แลกกับค่าตอบแทน และไม่เป็นการรบกวนกับการปฏิบัติศาสนกิจซึ่งอัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ อาทิ การละหมาด อีกทั้งยังปราศจากจากสิ่งต้องห้ามต่าง ๆ อาทิ การเปิดเผยเอาเราะฮ์ การปะปนกันระหว่างชายกับหญิง (อิคติลาฏ) หรือการเล่นเครื่องดนตรีและอื่น ๆ แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดแต่ประการใดในการเข้าร่วมและรับชมการแข่งขันประเภทนี้ -วะบิลลาฮิตเตาฟีก, วะศ็อลลัลลอฮุ อะลา นะบียินา มุหัมมัด วะอาลิฮี […]

Om Omar Muktar

15/06/2561

แสวงหาคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺกันเถอะ: โอ้อัลลอฮ…โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

โอ้อัลลอฮ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย พระองค์ทรงชอบการให้อภัยดังนั้นขอพระองค์ให้โปรดให้อภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า: “ผู้ใดที่ได้ยืนขึ้น (หมายถึงการทำอิบาดะห์ เช่นการละหมาด ) ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยกับความศรัทธา และมีความหวังในผลตอบแทน เขาจะถูกอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา” รายงานโดย อิหม่ามบุคอรี เตรียมพร้อมสำหรับสิบคืนสุดท้ายและวันที่เหลืออยู่กันเถิด และค้นหาค่ำคืนอันประเสริฐนี้ ทำอิบาดะห์ให้สุดความสามารถและมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ พระองค์จะทรงตอบแทนแก่เราอย่างมากมาย การเจาะจงคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ชัยคฺมุฮัมมัดศอลิฮ์ อุซัยมีน รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ถูกถามว่า: “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายหรือไม่ และมันจะเปลี่ยนย้ายไป (หมายถึงค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺจะวนเวียนไปในสิบคืนนี้) หรือไม่ครับ? ชัยคฺอุซัยมีนได้ตอบว่า: ใช่แล้ว ค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺอยู่ในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และ (ทัศนะ) ที่ถูกต้องนั้น ก็คือ มันจะเปลี่ยนย้ายไป (ภายใน10คืนนี้) เหมือนเช่นที่ ท่านอิบนุฮะญัร รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ไว้ในหนังสือ “ฟัตฮุ้ลบารี” และดังเช่นที่ได้มีซุนนะห์บ่งชี้ไว้ถึงสิ่งดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วบางที “คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ” อาจจะอยู่ในค่ำคืนที่ 21 หรือ อยู่ในค่ำคืนที่ 23 อยู่ในค่ำคืนที่ 25 ค่ำคืน 27 ค่ำคืนที่ […]

อักรอม ชาจิตตะ

11/06/2561

[ประเด็นร้อนเดือนเราะมะฎอน] การดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดวันแรกของเดือนใหม่ ตอนที่ 2 (จบ)

[ โปรดอ่านตอนที่แล้ว  บทความนี้มี 2 ตอน โปรดอ่านให้จบ พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและ #เปิดใจให้กว้างแก่ทรรศนะที่เราไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้] ทรรศนะที่ 2: สำหรับแต่ละเมืองก็ให้ชาวเมืองดูจันทร์เสี้ยว (เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) ของตนเอง “๏ บทว่าด้วยการอธิบายว่า สำหรับแต่ละเมืองก็ให้ชาวเมืองดูจันทร์เสี้ยว (เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีด) ของตนเอง และเมื่อใดที่พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยว ข้อกำหนด (หุกม์) การเห็นของพวกเขาจะไปกำหนดสำหรับเมืองอื่นที่อยู่ห่างไกลจากพวกเขาไม่ได้ – รายงานจากกุร็อยบ์ว่า : อุมมุลฟัฎล์ บินติลหาริษ ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะฮ์ที่แคว้นชาม เขากล่าวว่า : ‘ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้วขณะนั้นเดือนเราะมะฎอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้นในคืนวันศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะฮ์ในตอนปลายเดือน ซึ่งอิบนุอับบาสได้ถามฉันแล้วก็คุยกันเรื่องจันทร์เสี้ยว’ เขาถามว่า : ‘พวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวกันเมื่อใด ?’ ฉันตอบว่า : ‘พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์’ เขาถามต่อว่า : ‘ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ?’ ฉันตอบว่า : ‘ใช่ ! และคนอื่น ๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะฮ์ก็ถือศีลอด’ เขากล่าวว่า […]

Om Omar Muktar

10/06/2561

[ประเด็นร้อนเดือนเราะมะฎอน] การดูจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดวันแรกของเดือนใหม่ ตอนที่ 1

[บทความนี้มี 2 ตอน โปรดอ่านให้จบ พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและ #เปิดใจให้กว้างแก่ทรรศนะที่เราไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้] ทรรศนะที่ 1: เมื่อชาวเมืองใดเมืองหนึ่งได้เห็นจันทร์เสี้ยว เมืองอื่น ๆ ทั้งหมดก็จำต้องเห็นพ้องและปฏิบัติตาม อิมามอิบนุลมุนซิร (ฮ.ศ. 241-318; มุจญ์ตะฮิดแห่งมัซฮับอิมามอัชชาฟิอี) “เมื่อมีการยืนยันเห็นจันทร์เสี้ยว ณ เมืองใดเมืองหนึ่ง และไม่มีการยืนยันว่าเห็นจันทร์เสี้ยว ณ เมืองอื่น ๆ บรรดานักวิชาการมีทรรศนะที่แตกต่างกันในเรื่องนี้เป็นสองทรรศนะ ดังนี้ :- (1) ให้แต่ละเมืองใช้เกณฑ์การเห็นจันทร์เสี้ยวของตนเอง (โดยที่ประเทศอื่นไม่จำเป็น (ไม่วาญิบ) ต้องตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของประเทศดังกล่าว) นี่คือทรรศนะของอิกริมะฮ์, อิสหาก (อิบนุรอฮะวัยฮ์), อัลกอสิม และสาลิม (2) แต่ท่านอื่น ๆ กลับกล่าวว่า : เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งหลายว่าประชาชนของเมืองใดเมืองหนึ่งได้เห็นจันทร์เสี้ยว พวกเขาทั้งหมดจำเป็นต้องตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของเมืองนั้น โดยที่พวกเขาต้องถือศีลอดชดใช้ (เกาะฎออ์) อันเนื่องมาจากพวกเขาไม่ได้ถือศีลอดในวันนั้น นี่คือทรรศนะของอิมามอัลลัยษ์ อิบนุสะอฺด์, อิมามอัชชาฟิอี และอิมามอะห์มัด (อิบนุหัมบัล) รวมถึงอัลมะดะนี (หมายถึง อิมามมาลิก อิบนุอะนัส) […]

Om Omar Muktar

10/06/2561

ข้อกำหนด (หุกม์) ในเรื่องการมีภริยาหลายคน (สมรสซ้อน) และวิทยปัญญา (หิกมะฮ์) แห่งศาสนบัญญัติเรื่องนี้

ข้อกำหนด (หุกม์) ในเรื่องการมีภริยาหลายคน (สมรสซ้อน) และวิทยปัญญา (หิกมะฮ์) แห่งศาสนบัญญัติเรื่องนี้ 1. ข้อกำหนดเรื่องการมีภริยาหลายคน : การมีภริยาหลายคนเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาต (มุบาห์) ให้กระทำได้ ตั้งแต่เดิม อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า : “และหากพวกเจ้าเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในบรรดาเด็กกำพร้าได้ ก็จงสมรสกับผู้ที่ดีแก่พวกเจ้า ในหมู่หญิงสองคน หรือสามคน หรือสี่คน” [อันนิสาอ์ : 3] ความหมายของอายะฮ์นี้คือ : หากพวกท่านสมรสกับหญิงที่เป็นกำพร้า แล้วเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในการปฏิบัติกับพวกนางได้ ก็อนุญาต (มุบาห์) ให้พวกท่านสมรสกับหญิงอื่น สองคน สามคน และสี่คน ทว่าการมีภริยาหลายคนอาจส่งเสริม (มันดูบ) หรือน่ารังเกียจ (มักรูฮ์) หรือต้องห้าม (หะรอม) แล้วแต่กรณี และขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ประสงค์จะมีภริยาหลายคน (ก)  หากความต้องการของชายที่จะมีภริยาอีกคนหนึ่ง : เกิดขึ้นเนื่องจากการมีภริยาเพียงคนเดียว ยังไม่อาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการกระทำผิดประเวณีได้ หรือเนื่องจากภริยาคนแรกป่วย หรือเป็นหมัน และเขาต้องการมีบุตร และเขาค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถให้ความยุติธรรมระหว่างภริยาทั้งสองคนได้ การมีภริยาเกินกว่าหนึ่งคนสำหรับเขาจึงตกเป็นการส่งเสริม (มันดูบ) เหตุเพราะจะก่อให้เกิดผลดีที่เป็นไปตามศาสนบัญญัติ และแท้จริงแล้วบรรดาเศาะหาบะฮ์เป็นจำนวนมากก็มีภริยาเกินกว่าหนึ่งคน […]

Om Omar Muktar

09/06/2561
1 2